ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Petroleum investment concept แนวคิดการลงทุนสำรวจและผลิต

Petroleum investment concept แนวคิดการลงทุนสำรวจและผลิต – วันนี้ว่างๆ จะมาชวนคุยกันเรื่องแนวคิดการลงทุน (หรือเชิญชวนให้มาลงทุน) สำรวจ และ ผลิตปิโตรเลียม

ผมจะฉายภาพใหญ่ๆให้เข้าใจในหลักการแบบกว้างๆ เพื่อว่าเวลาพวกเราอ่านข่าวต่างๆเกี่ยวกับการลงทุน ประมูลพื้นที่ปิโตรเลียม จะได้เข้าใจ ไม่ดราม่ากันง่ายๆ โดยไม่รู้ ไม่เข้าใจ พื้นฐานที่มาที่ไป

โดยที่จะคุยกันเรื่องใหญ่ๆ ประมาณนี้ครับ

ความเสี่ยง อัตราส่วนผลประโยชน์

รูปแบบของผลประโยชน์

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

สิทธิ์ความเป็นเจ้าของทรัพยากร

ออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้จบมาทางด้านนี้โดยตรง ที่เอามาเล่าสู่กันฟังนี่ผมเก็บตกระหว่างบรรทัด จากการประชุมต่างๆที่ผมได้เข้าไปเป็นส่วนร่วมส่วนหนึ่ง ในการประมูล ซื้อๆ ขายๆ พื้นที่ปิโตรเลียม

พูดง่ายๆคือ “ลักจำ” เอามาเม้าส์มอยให้ฟังว่าพวก นักเศรษฐศาสตร์ ผู้บริหาร เขามองภาพ มองปัญหา กันประมาณไหน

Petroleum investment concept
Run set @ oil field

Petroleum investment concept

แนวคิดการลงทุนสำรวจและผลิต

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ความเสี่ยง อัตราส่วนผลประโยชน์

เรื่องแรกๆที่มักจะเอามาวางบนโต๊ะเวลาประชุมกันคือ ความเสี่ยง กับ ผลประโยชน์ที่จะได้

เรื่อง ความเสี่ยงนั้น และ การประเมินผลประโยชน์ ไม่ค่อยมีประเด็นเท่าไรนัก เพราะว่าในอุตสาหกรรมเรานั้น ถึงแม้ว่าความเสี่ยงจะซับซ้อนซ่อนเงื่อนเอาเรื่อง แต่เราก็มีตัวแบบ (model) มีวิธีคิดที่ค่อนข้างมาตราฐาน และ เป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล

แต่ที่มักถกกันหน้าดำคร่ำเครียด คือ อัตราส่วนผลประโยชน์ ที่จะเข้าไป(หรือให้) ประมูล หรือ จะเข้าไปซื้อขาย ต่างหาก

เช่น จะเข้าประมูลด้วยเงื่อนไข 70/30 หรือ 60/40 หมายถึง เจ้าของพื้นที่ (รัฐ) ได้ 70 หรือ 60 เราผู้ประมูลได้ 30 หรือ 40

(ซึ่งในการกลับกัน ถ้าเราเปลี่ยนหมวก เป็นรัฐ หรือ เราเป็นผู้ขายผู้ซื้อพื้นที่มือสองต่อ เราก็ต้องคิดกลับด้านเช่นกัน ผมพยายามจะบอกว่า ให้มองสองฝั่งเสมอ อกเขาอกเรา)

ในอุดมคติ ถ้าความเสี่ยงต่ำมาก หรือ ไม่มีความเสี่ยงเลย คือ รู้อยู่แล้วว่าตรงนี้มีปิโตรเลียมแน่ๆ และ รู้ว่ามีเท่าไร จิ้มลงไปก็เจอเท่านั้นเท่านี้ แบบนี้ ไม่ต้องคิดแบ่งสัดส่วนให้เมื่อยตุ้ม จ้างบ.มาขุดเลย ไม่ต้องมาร่วมทุนแบ่งกันเสี่ยงแบ่งกันก็ได้

เหมือนสร้างอพาร์เม้นท์หน้า ม.รามฯ ยังไงๆก็มีลูกค้า ไม่ต้องร่วมทุน จริงป่ะ จ้างผู้รับเหมามาสร้างเลย จะจ้างเหมาค่าของค่าแรง หรือ จะจ้างเหมาเฉพาะค่าแรง ค่าของเราออกเอง ก็ว่าไป

แต่ถ้าความเสี่ยงมากๆ ก็ต้อง แบ่งกันเสี่ยงแบ่งกันได้ ไปตามอัตราส่วน ซึ่งจะตกลงประมูลกันได้ (หรือ ซื้อขาย) ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายมองความเสี่ยงใกล้เคียงกัน

พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ออกประมูล (หรือผู้ขาย) พยายามทำของถูกให้ดูแพงนั่นแหละ 555

เทคนิคหนึ่งก็คือการ เหมาแข่งคละประมูล (หรือ ขาย) ที่เรียกว่า ขายพ่วง แบบ ขายเบียร์พ่วงเหล้า ที่เจ้าสัวน้ำเอาใช้ในสมัยหนึ่งที่ทำเบียร์ขายช่วงแรกๆ

Land block bidding 2021 แหล่งปิโตรเลียมบนบก แปลงสำรวจ L1/64

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

อีกเทคนิคหนึ่ง ที่ทำกันคือ ทำให้ดูยุ่งๆ ยากๆเข้าไว้ ทำให้เปรียบเทียบกับพื้นที่คู่แข่งยาก

เช่น ให้ข้อมูลทางเทคนิคที่คลุมเครือ จำกัด แต่ก็คลุมเครือมากก็ไม่ได้อีก เพราะผู้ประมูล หรือ ผู้ซื้อ ก็ต้องใส่ค่าเผื่อเอาไว้ในตัวแบบทางเศรษศาสตร์ (economic model) มากเหมือนกัน (ทำให้เสนอราคาต่ำ)

… คือ มันต้องพอดีๆ สมน้ำสมเนื้อ

ทำให้ผมเห็นว่า การประเมินเพื่อซื้อขายพื้นที่ปิโตรเลียม เป็นทั้งศาสตร์ และ ศิลป์

… สัมบูรณ์ สัมพัทธ์

อีกประเด็น ที่ต้องถกกัน คือ ผลประโยชน์สุทธิที่ได้นั้น เท่าไร และ เมื่อเทียบกับ เอาทรัพยากร (เงิน คน ฯลฯ) เดียวกัน ไปทุ่มประมูล ทุ่มซื้อ (หรือ ทำต่อ ไม่ขาย) พื้นที่อื่น จะคุ้มกว่าไหม

บางกรณีที่ต้องการผลตอบแทนล้วนๆ และ กำลังหนุนไม่จำกัด อาจจะไม่ต้องพิจารณามิติที่สัมพัทธ์ (opportunity cost)

แต่ถ้ากำลังหนุนจำกัด ต้องเลือก เช่น ถ้าเอา ก. ก็ต้องไม่เอา ข. ก็ต้องคิดอีกแบบหนึ่ง

รูปแบบผลประโยชน์

แบ่งแบบง่ายๆเลย คือ เป็นตัวเงิน และ ไม่ตัวเงิน

แบบที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น ที่ตั้งของฐานสนับสนุนการปฏิบัติการ ท่าเรือ จุดจอดฮ. สิทธิเลือกการใช้ท่อส่ง โรงแยก ฯลฯ

สิทธิประโยชน์แลกเปลี่ยนต่างๆ – ในการทำงาน การลงทุน แต่ล่ะฝ่ายที่เข้าร่วม มักต้องบริการห่วงโซ่อุปทานของตัวเอง

การได้สิทธิ์เลือกใช้ ห่วงโซ่อุปทานที่ตัวเองได้เปรียบ ต้นทุนต่ำ โดยมีผู้ร่วมทุนรายอื่นออกเงินอีกส่วน ก็เหมือนเราได้ใช้ฟรีๆ

ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าลงทุน 50/50 เราเลือกใช้ท่าเรือของเราที่เรามีอยู่แล้ว (เราจ่ายค่าลงทุน ถอนทุนคืนหมดแล้วจากโครงการอื่น) เราใช้เกือบฟรี (คือถูกม๊วกก) แต่ผู้ร่วมทุนเราต้องออกครึ่งนึง แบบนี้เราก็สบาย จริงไหม ถ้าเราได้สิทธิเลือกท่าเรือ เราก็ได้ประโยชน์ตรงนี้ ยังไม่นับเรื่องการจ้างงานท้องถิ่น CSR บริษัทเรา และ ธุรกิจต่อเนื่องของบ.ในเครือ(ถ้ามี)

หลายๆโครงการ เราต้องเอาผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงินมากมายเหล่านี้เข้าไปใส่ในขบวนการตัดสินใจด้วย

นอกจากนี้ยังมีประเด็นพ่วงเรื่องกิจการอื่นของรัฐ เช่น สายการบิน ความร่วมมือทางทหาร โรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมหนัก อื่นๆ ซึ่งจะผลกระทบต่อตัวแบบการตัดสินใจ (decision model)

เลี่ยงไม่ได้หรอกครับ บ.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ต่อให้ไม่ใช่ของรัฐ ก็ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของการเมืองการปกครองของรัฐนั้นๆ เพราะปิโตรเลียม ไม่ใช่หมูปิ้ง ปิโตรเลียมเป็นสินค้ายุทธภัณฑ์ สินค้าความมั่นคง

ตัวอย่างเช่น รัฐ ก. อาจจะให้แต้มต่อ บ.สำรวจและผลิตปิโตรฯจากรัฐ ข. ในประประมูลพื้นที่แหล่งงามๆของรัฐ ก. เพื่อแลกกับสิทธิบินผ่านน่านฟ้ารัฐ ข. เป็นต้น

คันปาก ขออีกตัวอย่าง อิอิ … บ.เอกชน เอ ของ รัฐ ก. ขายพื้นที่ปิโตรเลียมแห่งหนึ่ง (ที่ไหนไม่บอก) โดยการประมูล

ผลการประมูล … บ. เอกชน บี ของ รัฐ ก. ประมูลแพ้ บ. เอกชนกึ่งรัฐ ซี ของ รัฐ ข. (ปล. รัฐ ก. กับ รัฐ ข. กำลังแข่งกันเป็นเจ้าโลก)

แต่เพราะพื้นที่ปิโตรเลียมนั้น เป็นทรัพยากรยุทธศาตร์ของรัฐ ก. สภาผู้แทนฯรัฐ ก. ไม่อนุมัติให้ บ.เอกชน เอ ขายให้ บ.เอกชนกึ่งรัฐ ซี (รัฐ ข.) ผู้ชนะ

จบแบบไม่เป็นทางการ คือ เอาภาษีของรัฐ ก. มาจ่ายส่วนต่างแล้ว บวกนิดหน่อย เพื่อให้ บ.เอกชน บี ของรัฐ ก. ชนะการประมูล

ห้ามเดาว่า เอ บี ซี ก. ข. คือ ใคร 🙂

สิทธิ์ความเป็นเจ้าของทรัพยากร

สำหรับคนอื่นผมไม่รู้ แต่สำหรับผมเรื่องนี้ ไม่ได้มีความสำคัญเท่าไร ถ้าทุกฝ่ายเคารพกฏกติกา (rule of law)

คืองี้ครับ …

โดยคำจำกัดความแล้ว รูปแบบสัมปะทานจะบอกว่าใครเป็นเจ้าของทรัพยากร ทำให้ดูเหมือนว่าผู้ออกประมูล (รัฐฯ) เสียความเป็นเจ้าของให้ผู้ที่ประมูลได้ ถ้าใช้การประมูลในรูปแบบนั้นๆ

ผมเคยเห็นมาแล้ว ที่ผู้ประมูลได้เป็นเจ้าของ แต่ไม่สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างอิสระ ในทางปฏิบัติก็เหมือนไม่ได้เป็นเจ้าของใช่ไหมล่ะ

นั่นเป็นเพราะในสัญญาเขียนข้อจำกัดจำกัดสิทธิ์ผู้ที่ประมูลได้เอาไว้ค่อนข้างรัดกุม

ดังนั้น “ความเป็นเจ้าของทรัพยากร” ก็เป็นเพียงตัวหนังสือ และ ดราม่าทางสังคม

นอกจากนี้ สัมปะทาน ก็คือสัญญาประเภทหนึ่ง ผลประโยชน์ คือ ข้อความในสัญญา ไม่ใช่ ประเภทสัญญา

การจะบอกว่าสัมปะทานแบบ ก. ผู้รับสัมปะทานได้ผลประโยชน์ ได้เปรียบ มากกว่า สัมปะทานแบบ ข. นั้น เป็นการสรุปที่โง่มากๆครับ

ผมสามารถเขียนผลประโยชน์อย่างไรก็ได้ ให้สัมปะทานแบบไหนเอื้อให้ฝ่ายไหนก็ได้ครับ

ไม่มีข้อกำหนดอะไรเลยว่า สัมปะทานแบบไหนจะดีกว่าแบบไหน ต่อให้ทรัพยากรของสัมประทาน จะมาก หรือ น้อยอย่างไร ก็ตาม

มันก็แค่เขียนตัวเลขส่วนแบ่ง เงื่อนไข เพดาน ข้อจำกัด บลาๆ ลงไปในสัญญาก็เท่านั้นเองครับ

สรุป ..

เราประมูล ซื้อขาย อยู่บนฐาน ความเสี่ยง ผลประโยชน์รวม ผลประโยชน์สุทธิที่ได้จากอัตราส่วนการแบ่งผลประโยชน์นั้นๆ

ผลประโยชน์มีหลายรูปแบบ จำเป็นต้องเอามาพิจารณาให้ครบถ้วน

ไม่มีระบบสัมปทานแบบไหนดีกว่าแบบไหน ขึ้นอยู่กับไส้ใน(สัญญา)ที่เขียนเอาไว้ในสัมปะทาน ดังนั้น ตราบเท่าที่ทุกฝ่ายเคารพกฏหมาย ชื่อ และ รูปแบบ สัมปะทาน ไม่ได้มีความสำคัญอะไรนัก

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------