ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

How many wells 22,500 MB can drill ? ราคาหลุมเจาะปิโตรเลียม

How many wells 22,500 MB can drill ? ราคาหลุมเจาะปิโตรเลียม – ขอเกาะกระแสหน่อยครับ วันนี้โลกสื่อสังคมคุยกันเยอะว่า เงินขนาดนี้ (22,500 ล้านบาท)เอาไปทำอะไรได้บ้าง และ จะทำได้เท่าไร (ถ้าไม่เอาไปซื้ออะไรที่ราคาประมาณนี้ 555 🙂 )

ผมเลยอยากจะเปรียบเทียบเงิน 2 หมื่น 2 พัน 5 ร้อย ล้านบาท กับค่าขุดเจาะหลุมเสียหน่อย

แต่ถ้าจะเอาตัวเลขมาหารๆคูณๆแล้วตอบไปเลย มันก็นะ ไม่ทำให้พวกเราเจริญปัญญากันเท่าไร ก็จะแค่ดราม่าดราแมวไปวันๆ ชวนมาหาความรู้กันดีกว่าว่า ค่าขุดเจาะหลุมปิโตรเลียมเรานี่ มีอะไรบ้าง แบ่งเป็นหมวดหมู่ได้อย่าไงไร แล้วค่อยตอบตอนท้ายๆว่า 2.25 หมื่นล้านบาทขุดได้กี่หลุม

How many wells 22,500 MB can drill ?

Well cost structure โครงสร้างราคาหลุมเจาะปิโตรเลียม

เราแบ่งใหญ่ๆได้ตามนี้ครับ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

  • Tangible – คือ ค่าของอะไรที่จับต้องได้ เป็นชิ้นๆ เอามาใช้แล้วเป็นส่วนหนึ่งของหลุมไปเลย เช่น ท่อกรุ ท่อผลิต ชุดปากหลุม (wellhead) liner, Whipstock, packer, bridge plug เป็นต้น
  • Intangible – ก็เป็นอะไรที่จับต้องไม่ได้ ส่วนมากเป็นของที่ใช้แล้วหมดไป ค่าเช่าของใช้แล้วเอากลับมาใช้ใหม่ได้ในหลุมถัดๆไป ค่าบริการ ค่าจ้างคน ฯลฯ เราก็แบ่งเป็นหมวดย่อยๆได้ตามนี้
    • Consumable – นี่คือกลุ่มที่ใช้แล้วหมดไป หรือ ใช้แล้วเอากลับมาใช้ใหม่ได้อีก เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำกินน้ำใช้ หัวขุดเจาะ น้ำโคลน ซีเมนต์ และ สารเคมีต่างๆ เป็นต้น
    • Rig – ใหญ่ๆก็ค่าเช่าแท่นเจาะ และ อื่นๆที่มากับค่าเช่าแท่นที่ไม่ได้เหมาจ่ายรวมไปกับค่าเช่าแท่นเจาะ เช่น ค่ากินค่าอยู่ของคนงานส่วนเพิ่มที่ไม่ใช่คนของแท่นเจาะ (เช่น คนของบ.น้ำมัน คนของบ.services ที่ บ.น้ำมันจ้างมาทำงาน) ค่าโน้นนี่นั่นที่เกี่ยวกับแท่นเจาะ
    • Drilling services – ค่าเช่าคน เช่าของ ที่มาทำงานให้บ.น้ำมัน ในส่วนการขุดเจาะ เช่น ค่า DD (directional driller) ค่าวิศวกรน้ำโคลน ค่าวิศวกรซีเมนต์ ค่าเช่าอุปกรณ์ MWD เครื่องปั่นเหวี่ยงแยกเศษหินออกจากน้ำโคลน (centrifuge) เครื่องปั๊มซีเมนต์ ฯลฯ พูดง่ายๆก็ค่าจ้าง service company ที่เกี่ยวข้องการการขุดเจาะนั้นแหละ
    • Geological services – ค่าเช่าคน เช่าของ ที่มาทำงานให้บ.น้ำมัน ในส่วนของธรณีวิทยา เช่น wireline logging LWD (logging while drilling) ค่าเช่าคน และ อุปกรณ์ต่างๆของ mud logger ค่าตัวของนักธรณี ค่าอุปกรณ์เก็บตัวอย่างหิน และ ของไหล ค่าวิเคราะห์ตัวอย่างหิน หรือ ของไหล ที่เก็บขึ้นมาจากหลุม เป็นต้น
    • Testing – ค่าทดสอบหลุม ส่วนมากจะมีบรรทัดนี้เมื่อขุดเจาะหลุมสำรวจ หรือ หลุมประเมิน แต่ก็มีค่ายิงระเบิดหลุม (perforation) กับ ค่า cased hole logging (พวก CBL/VDL CBT ประเมินคุณภาพซีเมนต์ท่อกรุ) ที่แอบมาอยู่หมวดนี้
  • Common allocation cost – บรรทัดนี้ คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการเจาะหลุมหลายๆหลุมที่ต้องหารเฉลี่ยๆกันไป เช่น ค่าเคลื่อนย้ายแท่นเจาะ จากแท่นหลุมผลิตหนึ่งไปอีกแท่นหลุมผลิตหนึ่ง (in filed rig move) ค่าเคลื่อนย้ายแท่นเจาะเข้ามา และ ออกไปจาก โครงการขุด (rig mobilization and demobilization) ค่าสำรวจหน้าางานก่อนเจาะ (site survey) ค่าเบี้ยประกัน ค่าจิปาะถะทางธุรการ (G&A – General expense and Administration) เป็นต้น
  • Allocation cost – ค่าต๋งส่วนกลางที่หารเฉลี่ย เข้าไปในหลุม เช่น ค่าบริการเรือ ฮ. ค่าตัวพนังงานบ. ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโกดังเก็บของ ค่าหัวค่าตัวผู้บริหาร ค่า overhead ต่างๆจากสำนักงานใหญ่ และ อื่นๆ …. บลาๆ

ข้อสังเกตุ

ค่าใช้จ่ายบางอย่างก็ตรงไปตรงมา ใช้ไปเท่าไร เช่ามาเท่าไรก็จ่ายไปตามนั้น เช่น ใช้หัวเจาะ ใช้น้ำโคลน น้ำมันเชื้อเพลิง จ้าง directional driller เป็นต้น แต่บางค่าใช้จ่ายก็สีเทาๆ หารเฉลี่ยๆลงหลุมไปโดยไม่มีที่มาที่ไปชัดเจน เช่น allocation cost ฝ่ายบัญชีจะให้ตัวเลขมาเลยว่าต้องบอกไปนะ หลุมล่ะเท่าไรก็ว่าไป อาจจะหารดื้อๆตามจำนวนหลุม หรือ อาจจะหารตามเวลาที่ขุด (ขุดนานก็โดนมากหน่อย) หรือ ตามความลึก จะหารตามอะไรก็ว่าไป แล้วแต่ว่าเป็นค่าอะไร มากน้อยขึ้นกับอะไร

ด้วยเหตุจากข้อข้างบนนี้ ทำให้เวลาจะประเมินผลงานการควบคุมต้นทุนค่าหลุมเจาะของวิศวกรหลุมเจาะ มักจะเอา allocation cost ออกไป เพราะว่าวิศวกรหลุมเจาะ ไม่สามารถควบคุม allocation cost ได้

ค่าใช้จ่ายบางอย่างก็สลับหมวดกันได้ เช่น บางบ.ไม่เอาค่ายิงระเบิดหลุมครั้งแรก (initial perforation) มาใส่ในค่าหลุมตอนสร้างหลุม แต่เอาไปบวกไว้กับค่าทำงานของแท่นหลุมผลิตในภายหลัง

บางบ.ก็ไม่เอาค่าเคลื่อนย้ายหลุม (ทั้ง rig move และ mob/demob) มาหารเฉลี่ยรวมในราคาค่าหลุม แต่เอาไปรวมทีหลังกับมูลค่าโครงการ จึงทำให้ราคาค่าหลุมถูกกว่า อีกบ.ที่เอาค่าพวกนี้มารวมไว้แล้วในราคาหลุม

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ดังนั้น เวลาจะเทียบหมวดย่อยๆ หรือ ภาพรวมของราคาหลุมระหว่างบ.ต้องดูให้ดีๆว่าอะไรรวม อะไรไม่รวม ถ้าจพบลั๊ฟจะข่มกันก็ดูดีๆว่าเทียบกันได้หรือเปล่า ไม่งั้นโดนคนที่รู้จริงสวนกลับมาแล้วจะหน้าแตกหมอไม่รับเย็บ

ค่าใช้จ่ายบางอย่างก็เหมาจ่าย บ้างก็รายวัน บ้างก็จ่ายตามบริมาณที่ใช้จริง ไม่ว่าจะต่อปริมาตรที่ใช้ หรือ ต่อระยะทางและความลึกที่ขุด วิศวกรหลุมเจาะ เวลาจะคิดค่าหลุมจะต้องแม่นยำ และ ละเอียดนิดนึงในการลงค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่โดยมากพอทำไปสักหลุมสองหลุมก็จะคุ้นชินและจำได้เอง

ส่วนที่วิศวกรหลุมเจาะเก็บราคาต่างๆ ณ.เวลาที่ดำเนินการขุดเจาะ (และ หลังไปอีกสักเดือนสองเดือน) เราเรียกว่า field estimated cost หมายถึงราคารที่คาดว่าจะเป็นตามนี้ แต่ราคาทางบัญชี ก็ไปว่ากันอีกทียาวๆไป เพราะอาจจะรวมโน้นนี่ เช่น ค่าปรับ ส่วนลด ค่าปรับแต่ง (adjustment) ทางบัญชี อะไรแบบนี้ ก็จะได้เป็น final well cost

โดยมากก็ไม่หนีกันเท่าไร ระหว่าง field estimated กับ final ก็ +/- 10% ราวๆนั้น

22,500 ล้านบาท ขุดได้กี่หลุม

เราจะตอบคำถามนี้ได้ เราก็ต้องมีราคาค่าหลุมปิโตรเลียมกันก่อน หลุมมันก็มีหลายประเภท (หลุมสำรวจ หลุมประเมิน หลุมผลิต) และ หลายพื้นที่ (บนบก กับ ในอ่าวไทยเรา)

ผมก็พยายามที่จะหาข้อมูลสาธารณะที่พอเชื่อถือได้มาให้ว่าราคาหลุมบ้านเราประเภทต่างๆบนบกในทะเลเป็นอย่างไร ก็ได้มาตามนี้ครับ

https://m.facebook.com/notes/chayutpong-nunthanawanich/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B9%91/618526634847741/

ผู้เขียน ท่านเขียนไว้เมื่อปี 2013 ดูจากประวัติท่านผู้เขียนในเฟสบุ๊คแล้ว ท่านเคยทำงานอยู่ที่ DMF (กรมเชื้อเพลิงฯ) ก็น่าจะเชื่อถือได้ ท่านเขียนเอาไว้ว่า …

ค่าใช้จ่ายในการเจาะหลุมสำรวจจะมีราคาแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ในภาคอีสานจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 200-450 ล้านบาทต่อหลุม สถิติที่ทำไว้สูงสุดประมาณ 1,300 ล้านบาท เนื่องจากเป็นหินแข็งเจาะยากใช้เวลา 3-4 เดือน บางหลุมใช้เวลาเป็นปี ในภาคกลางเจาะง่ายกว่าทำให้มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าอยู่ที่ประมาณ 60-90 ล้านบาทต่อหลุม ในบริเวณอ่าวไทยเนื่องจากราคาค่าเช่าแท่นเจาะค่อนข้างสูง ทำให้การเจาะในอ่าวไทยมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 120-240 ล้านบาทต่อหลุม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่าย ความลึก ของแต่ละหลุม รวมถึงกิจกรรมเสริมอื่นๆ เช่น การเก็บตัวอย่างหิน การทดสอบหลุม ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ทำให้ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายต่างกันไป และสำหรับในทะเลอันดามันซึ่งเป็นเขตน้ำลึก ต้องใช้เงินลงทุนสูงมากเป็นเงินหลายพันล้านบาทต่อหลุม

ในกรณีสำรวจพบปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ (มีหลายแปลงเจาะพบแต่ไม่สามารถพัฒนาได้) จะเข้าสู่ขั้นตอนการพัฒนาแหล่งเพื่อผลิตปิโตรเลียม ขั้นตอนนี้โดยทั่วไปจะใช้เงินลงทุนสูงกว่าขั้นตอนการสำรวจ โดยปริมาณเงินลงทุนจะขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ค้นพบ บกบนหรือในทะเล เป็นแหล่งก๊าซหรือแหล่งน้ำมันดิบ แหล่งเล็กหรือแหล่งใหญ่ ศักยภาพปิโตรเลียมเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนด จำนวนหลุมผลิต ฐานหลุมผลิต แท่นหลุมผลิต ที่จะต้องใช้ในการผลิตปิโตรเลียม รวมถึงความยุ่งยากซับซ้อนของสถานีผลิตหรือแท่นผลิตกลาง ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าพบแหล่งน้ำมันขนาดเล็กบนบก กรณีนี้จะใช้เงินลงทุนน้อยที่สุดเพราะสามารถใช้หลุมสำรวจที่ขุดพบน้ำมันนั้นเป็นหลุมผลิตได้เลย สถานีผลิตจะไม่ซับซ้อนและใช้จำนวนหลุมผลิตไม่มาก หรือถ้าพบแหล่งก๊าซในอ่าวไทย กรณีนี้ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก เฉพาะแท่นผลิตกลางที่ประกอบด้วยอุปกรณ์การผลิตหลัก มีราคาประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท ค่าวางท่อขนส่ง 50-70 ล้านบาทต่อกิโลเมตร แท่นหลุมผลิตประมาณ 700-1,200 ล้านบาทต่อแท่น และค่าเจาะหลุมผลิตอีกประมาณ 50-100 ล้านบาทต่อหลุม

หลุมผลิตราวๆ 50 – 100 ล้านบาท ต่อ 1 หลุม งั้นผมเอาค่ากลางมาล่ะกัน 75 ล้านบาท ในปี 2013 มาปีนี้ผมว่าน่าจะแพงขึ้นตามราคาค่าของค่าจ้าง บลาๆอีกสัก 10% งั้น ผมให้ 75 x 1.10 = 82.5 ล้านบาท

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

22500 / 82.5 = 272.7 หลุม ปัดไปถ้วนๆจำง่ายๆ 275 หลุม ก็แล้วกัน

ไหนลองดูว่าถ้าเป็นแท่นหลุมผลิต (Wellhead platform) ดูบ้าง เหมือนเดิม 700 – 1200 เอาค่ากลางมา คูณ 10% ก็ (700+1200)*1.1/2 = 1045 ล้านบาท

22500/1045 = 21.5 แท่น ปักไปกลมๆ ก็ 22 แท่นครับ

… จบข่าว 🙂

Oil rig jobs งานบนแท่นขุดน้ำมัน อธิบายตำแหน่งงานบนแท่นขุดเจาะ (Oil Rig)

How many wells

keyword: How many wells

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------