ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Field Decommissioning Challenge รื้อถอนแหล่งผลิต ความท้าทาย

Field Decommissioning Challenge รื้อถอนแหล่งผลิต ความท้าทาย – งานวิศวกรรมของพวกเรานะ ยุ่งๆอยู่แค่ 3 เรื่อง สร้าง ซ่อม กับ รื้อถอน … จริงป่ะ

ส่วนใหญ่กว่า 95% ของเว็บไซด์ผมจะพูดถึงแต่ สร้างกับ ซ่อม มีพักหลังๆเท่านั้นที่มาคุยเรื่อง รื้อถอน (decommissioning)

วันนี้จะมาชวนคุยลงลึกอีกนิดเรื่องรื้อถอนว่ามีความท้าทายอะไรบ้าง

Field Decommissioning Challenge

รื้อถอนแหล่งผลิต ความท้าทาย

บทความตอนนี้ผมจะแตะ 3 เรื่องนี้ แบบเบาๆ พอให้เห็นภาพ ใครทราบเรื่องไหนแล้ว ก็ข้ามๆไป คลิ๊กที่เรื่องที่อยากทราบได้เลย

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

วงจรชีวิตธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

กว่าเราจะผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาจากใต้ดินได้ ไม่ใช่ว่าจู่ๆจะขุดตรงไหนเมื่อไรก็ได้ เราเรียกว่า “วงจรธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม” ซึ่งมีขั้นตอนของมันอยู่ แต่ล่ะขั้นตอนก็ใช้เวลาแตกต่างกัน

ผมสรุปมาให้คร่าวๆก็แล้วกัน มี 5 ขั้นตอน

  • Exploration (1-5 y)
  • Appraisal (4-10 y)
  • Development (4-10 y)
  • Production (20-50 y)
  • Decommission (2-10)
Field Decommissioning Challenge
Petroleum field life cycle

ตอนที่เรา สำรวจ และ ประเมิน แหล่งฯนั้น ไม่ค่อยมีสิ่งก่อสร้างอะไรเท่าไร มีก็หลุมไม่กี่หลุม ตรงนั้น ตรงนี้ ถ้าเราไม่ฝังกลบทันทีหลังสำรวจและประเมินเสร็จ เราก็ดัดแปลงมาเป็นหลุมผลิต

สิ่งก่อสร้างเยอะแยะที่เกิดขึ้นในวงจรนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่ 3 ที่เราเรียกว่าช่วงพัฒนาแหล่งฯ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ในกรณีแหล่งนอกชายฝั่ง สิ่งก่อสร้างพวกนี้ผมแบ่งของผมเองเป็น 3 ประเภท

  • เหนือน้ำ
  • ใต้น้ำ
  • ใต้ดิน

พวกที่อยู่เหนือน้ำก็ เช่น แท่นหลุมผลิต (wellhead platform) แท่นผลิตกลาง (Central production platform) เป็นต้น

พวกใต้น้ำก็เช่น ท่อส่งก๊าซ ส่งน้ำมัน ชุดวาว์ล (ทางแยกท่อนั่นแหละ) ที่วางนอนเกลื่อนอยู่ก้นทะเล

พวกใต้ติด ก็ง่ายๆเลย หลุมที่พวกผมและเราๆช่วยกันขุดๆไว้นี่แหละ 🙂

วันนี้จะมาชวนคุยเรื่องความท้าทายในการรื้อถอน พวกใต้น้ำ กับ พวกใต้ดิน

การรื้อท่อใต้ทะเล (sea line)

เชื่อหรือไม่ว่าเอาแค่แหล่งบงกชกับอาทิตย์ของพี่ใหญ่เรา (เอาเท่าที่ผมครูพักลักจำมา) ก็ 1000+ กม. แล้วนะ ยังไม่นับของเจ้าอื่น อย่างเชฟรอน มูบาดาลา อีกล่ะ ผมว่า เผลอๆอาจจะราวๆ เกือบ 3000 กม. ได้ละมัง

ผมก็เคยไปแอบนั่งหลับๆตื่นๆหลังห้องประชุมบ้างไรบ้าง พอได้เอามาเล่าต่อ (จำอวด = จำมาอวด 555) ได้ประมาณว่า

เรามี 2 วิธี ในการรื้อถอนท่อใต้ทะเลพวกนี้

  • Full recovery มีเท่าไร ก็ขนขึ้นมาบนบกให้หมด แยกเป็นชิ้นๆ กำจัดไปตามมาตราฐาน มอก.
  • Leave in place ตรวจดูว่าสภาพโอเคไหม ปนเปื้อนไหม ถ้าโอเค ก็ทำความสะอาดแล้วทิ้งไว้งั้นแหละ เป็นบ้านประการังไปไรไป

ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า แบบหลังราคาถูกกว่าเยอะ ผมแอบจดมาจากห้องประชุมว่า แบบแรกนี้ กม.ล่ะเป็นล้านเหรียญเลยครับ … ไม่ไหวๆ

ดังนั้นบ.น้ำมันเกือบทุกบ.พยายามอย่างมากที่จะมาทำวิธีที่สอง

วิธีที่สองเนี้ย ก็ใช้ว่าจะราบรื่นสะดือจุ่นนะครับ ต้องไปพลิกแนวปฏิบัติเรื่องความปลอดภัยของภาครัฐอีก ในเรื่องสารเคมีปนเปื้อนตกค้าง ว่ายอมอะไรได้เท่าไร โดยเฉพาะสารปรอทที่มักจะติดมากับปิโตรเลียมโดยธรรมชาติ และจะซึมอยู่ในเนื้อเหล็ก

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

แนวทางปฏิบัติปัจจุบันสากลที่ทำๆกันคือ ส่งนักดำน้ำ หรือ หุ่นยนต์ลงไปเก็บตัวอย่างท่อจากจุดที่มาตราฐานกำหนด แล้วส่งต่อไปที่ห้องปฏิบัติการบนฝั่ง (เหมือนตรวจ RT-PCR Covid 19 นี่แหละ)

ข้อดีคือ ผลชัวร์ เป็นที่ยอมรับ แต่ข้อเสียคือ เสียเวลานาน แถมสิ่งปนเปื้อน(ถ้ามี)ก็อาจจะรั่วไหลออกสู่ธรรมชาติในขณะเก็บ และ เคลื่อนย้ายตัวอย่าง

ความท้าทาย ก็ไม่ต่างจากชุดตรวจโควิดหรอกครับ คือ เราต้องพัฒนาชุดตรวจเร็ว ตรวจได้หน้างาน แบบ ATK ไงครับ 🙂

ใครคิดได้ เอาไปขาย บ.น้ำมันเลยครับ รวยเละ พูดเลย 555

การฝังกลบหลุมปิโตรเลียม

เอาล่ะ มาถึงเรื่องที่ผมถนัด เรื่องหลุมๆ 555 การฝังกลบหลุมปิโตรเลียม

ผมเคยเล่าเอาไว้คร่าวๆแบบเน้นๆหลักการๆไว้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้

การฝังกลบและสละหลุม (Well Plug and Abandon – P&A) เราทำกันอย่างไร

และได้เล่าละเอียดมากขึ้นไปอีก เป็นตอนๆ มี 5 ตอน ตามลิงค์ข้างล่างนี้ไปเริ่มต้นความรู้เล็กๆน้อยๆกันได้เลยครับ

Plug and Abandon EP1 การฝังกลบและสละหลุมปิโตรเลียม ตอนที่ 1

คร่าวๆคือ เราเอาซีเมนต์ลงไปถมตามจุดที่ต้องการ แล้วตัดท่อกรุ เอาท่อกรุ ท่อผลิต ขึ้นมาทั้งยวง (เท่าที่เอาขึ้นมาได้)

แน่นอนว่าแบบปัจจุบันนี้มันแพง ใช้เวลาพอสมควร (1-2 วัน ต่อหลุม) แต่ก็ปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของสากล ใครๆเขาก็ทำกันว่างั้น

แน่นอนว่า ความท้าทายคือ ทำไงให้ เร็วขึ้น และ ถูกลง

แนวคิดแนบท่อใต้ทะเลก็ไม่เลวนะ ว่าไหมพวกเรา ทิ้งมันไว้แหละ แต่จะทำไงไม่ให้ปิโตรเลียมไม่ไหลไปมาระหว่างชั้นหิน (cross flow) และ ไม่ไหลขึ้นมาที่พื้นทะเลนี่ซิ

อาจจะต้องพึ่ง ไอรอนแมน เอาแสงอะไรนะที่ออกจากฝ่ามือน่ะ เผามันทั้งหลุมเลย คล้ายๆวิธีห้ามเลือดแบบโบราณ ที่เราเห็นในหนังไง ไม่รู้ล่ะเลือดไหลจากตรงไหน เอาเหล็กร้อนๆเผาไฟแดงๆจี้ปากแผลเลย จบๆไป

ฝากพวกเราด้วยล่ะกัน ใครมีไอเดียดีๆ เอาไปขายได้นะครับ มีบ.น้ำมันรับพิจารณาแน่นวล (แต่อย่าขโมยไอรอนแมนผมไปนะ อิอิ)

สรุป

ไม่ว่างงานวิศวกรรมอะไร จะสร้าง จะซ่อม จะรื้อ เราต้องหมั่นคิด หมั่นพัฒนาให้ตอบโจทย์ธุรกิจด้วย จึงจะไปกันอย่างยั่งยืน มีคนซื้อ ว่างั้น (ก็เราไม่ได้ทำงานวิจัยในห้องทดลองนี่เนอะ เราทำงาน ก็ต้องมีคนจ่าย ทำอะไรก็ต้องนึกถึงเรื่องราวรอบๆตัวเราด้วย)

โจทย์ทางธุรกิจก็ไม่มีอะไรมากไปกว่า ถูกลง เร็วขึ้น โดยที่ ความปลอดภัยต่อ ชีวิต สิ่งแวดล้อม และ ชื่อเสียงของผู้มีส่วนได้เสีย ต้องเหมือนเดิม 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------