ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Drill Pipe Connection Thread ว่าด้วยเกลียวก้านเจาะ

Drill Pipe Connection Thread ว่าด้วยเกลียวก้านเจาะก้านเจาะ (Drill Pipe) ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ

Drill Pipe Connection Thread
  1. ตัวก้านเจาะ (Body) ยาวๆผอมๆตรงกลางน่ะครับ
  2. ข้อต่อ (Tool Joint) ห้วท้ายที่ป่องๆ ด้านตัวผู้ เรียกว่า pin ด้านตัวเมีย เรียกว่า box

Drill Pipe ท่อขุด ท่อเหล็กธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ไม่ธรรมดาตรงไหน

วันนี้เราจะมาคุยเรื่องเกลียวที่ Tool Joint (JT) กันครับ

หลักการต่อท่อ (Drill Pipe Connection Thread)

ก่อนไปลงรายละเอียดของสเป็กเกลียว และ การใช้งาน เรามาคุยกันถึงหลักการต่อท่อในอุดมคติก่อน

การต่อท่อในฝันของวิศวกร

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

  1. ขนาดต้องได้ OD ID ต้องเท่ากันแป๊ะกับตัว body ถ้าย่อตัวเป็นมดเดินไต่เข้าไปในท่อ จะไม่รู้ถึงความแตกต่าง ไต่ออกมาเดินที่ผิวนอกท่อก็ไม่รู้เหมือนกัน
  2. วัสดุต้องเหมือนกันเปี๊ยบกับตัว body นั่นคือ การกัดกร่อนเชิงกล (erosion) เคมี (corrosion) การขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิ (Thermal Expansion) และ อื่นๆ เท่ากัน
  3. คุณภาพเชิงกลต้องเท่ากัน คุณภาพเชิงกล คือ ความสามารถในการรับแรงบิด และ แรงดึง เท่ากับ body

ชีวิตจริงเราต่างจากอุดมคติ นั่นคือหน้าที่วิศวกรอย่างเราๆที่จะออกแบบการต่อท่อที่ได้อย่างเสียอย่าง แล้วเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน

กฏที่ต้องจำ

การเอาก้านเจาะมาต่อกับ BHA (Bottom Hole Assembly) ยาวเป็นไส้กรอกเพื่อเป็น Drill String นั้น ข้อต่อที่อยู่บนสุด จะรับแรงดึง (น้ำหนัก) และ รับแรงบิด (Torque) มากที่สุด

BHA links … รวม links เกี่ยวกับ BHA (Bottom Hole Assembly)

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ดังนั้นถ้าจำเป้นต้องผสมสเป็คข้อต่อกัน ให้เอาสเป็กที่แข็งแรงที่สุดเอาไว้บนสุด

ส่วนต่างๆของเกลียว

ดูๆจำๆไว้ว่าตรงไหนเรียกอะไร ต่อไปพูดถึงจะได้นึกออก

Drill Pipe Connection Thread

Connection Type

เอาล่ะ มาถึงตรงนี้แล้วก็พร้อมจะไปคุยเรื่องประเภทของเกลียวกันล่ะ

เกลียว (connection) ของก้านเจาะ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบมาตราฐาน API กับ แบบไม่มาตราฐาน API (non API connection) ผมเรียกว่าแบบตามใจผู้ผลิตล่ะกัน

แบบมาตราฐาน API

  • (REG) Regular
  • (IF) Internal Flush
  • (FH) Full Hole
  • (NC) Numeric Connection
Regular (REG)

ผมขี้เกียจตัดเป็น 3 รูป ช่วยดูรูปซ้ายนะครับ อีก 2 รูป ช่างมันไปก่อน

Drill Pipe Connection Thread

ชื่อมันชวนเข้าใจผิดเอามากๆ ตอนผมทำงานใหม่ๆ ผมก็เข้าใจผิด เพราะ regular มันแปลว่า ปกติ ผมก็นึกว่า มันใช้กันบ่อย และ เยอะแบบ ทั่วๆไป แต่ความจริงมันใช้แค่ต่อกับหัวเจาะ

งั้นดูรูปบนซ้าย ให้มโนว่า สีม่วงนั่นเป็นเกลียวหัวเจาะล่ะกัน

เกลียวหัวเจาะเป็นตัวผู้ (pin) ดังนั้น ส่วนของก้านเจาะ(หรืออะไรที่จะมาต่ออยู่ข้างบนหัวเจาะ) ก็ต้องเป็น ตัวเมีย (box) ซึ่งเจ้า box นี่แหละ ที่จะต้องเป็นแบบ REG … อืม ทำไมเหรอ

เพราะเกลียวแบบ REG เป็นเกลียวที่ทำให้เกิดความเครียด (stress) ที่เกลียว (Flank, Crest) น้อยที่สุด จึงลดความเสี่ยงที่เกลียวจะล้า (Fatigue) แล้วหัวเจาะหลุด

Drill Pipe Connection Thread

ข้อเสียของเกลียว REG นี่คือ box มันต้องอ้วนกว่าแบบอื่น แต่รูใน box มันก็เล็กกว่าแบบอื่น แต่สำหรับหัวเจาะแล้ว ไม่แคร์ ไม่ใช่ข้อจำกัดอะไร

เรามักไม่เอา REG ไปใช้ที่อื่น หรือ ใช้เป็นข้อต่อปกติ เพราะถ้า box อ้วน พื้นที่ให้น้ำโคลนไหลย้อนกลับก็น้อย (Drill pipe vs. hole annulas พื้นที่วงแหวนระหว่างก้านเจาะกับผนังหลุมน้อย) ก็เกิดมีปัญหาเอาเศษหินไปปากหลุม รูใน box เล็ก ถ้าเอาไปต่อเยอะๆหลายๆก้าน ก็ไม่ไหว เพิ่มความต้านทานการไหลของน้ำโคลน ต้องใช้ความดันสูงกว่าจะขับน้ำโคลนให้ผ่าน

เหนื่อยไหมครับ จุดอับสัญญาณ Wi-Fi ในบ้าน หรือ ที่ทำงาน ตัวขยายสัญญาณ Wi-Fi คือ คำตอบ

Tplink Wi-Fi Range Extender AC1750 RE450 มือสอง สภาพภายนอก 90% ทดสอบแล้ว ใช้งานได้ทุกโหมด

https://raka.is/r/POPwl

เนื่องจากเราไม่ค่อยใช้ก้านเจาะเกลียว REG นี้เท่าไร นอกจาก box ที่ใช้ต่อกับหัวเจาะ ดังนั้น โดยมาก เกลียวนี้ก็จะใช้กับ xo (cross over) สั้นๆที่แปลงเกลียวของ BHA อะไรก็ตาม (เช่น DC Drill Collar) ที่อยู่บนหัวเจาะให้มาเป็น REG box เพื่อให้ต่อกับหัวเจาะได้

Internal Flush (IF)

คราวนี้ ย้ายมาดูรูปกลาง

ข้อดีเห็นจะๆ คือ ID เท่ากันตลอด น้ำโคลนไหลลื่นปรืดๆ ประหนึ่งแรงเสียดทานเท่ากับแรงเสียดทานในตัวก้านเจาะ (body)

ข้อเสีย คือ เนื้อเหล็กมันบาง ดูสีแดง + สีม่วง ซิ มันบางกว่าคนอื่นเลย Crest ก็มักจะเป็นแบบ 3 เหลี่ยม (มีมุม และ เนื้อเกลียวน้อย แลกกับพื้นที่ที่ต้องให้น้อย) ยิ่งทำให้อ่อน และ มีความเครียดสูง (stress)

เนื่องจากสมัยนี้ หลุมเราลึก เอียง เคี้ยวคด มากกว่าแต่ก่อน แต่ปั๊มน้ำโคลนเราใหญ่ขึ้นแข็งแรงขึ้น ดังนั้นข้อดีเรื่องน้ำโคลนไหลลื่นปรื้ดๆก็ไม่ใช่ข้อดีอีกต่อไป ก็ปั๊มเราใหญ่อ่ะ แต่เกลียวอ่อนนี่ซิ ไม่ไหวๆ รับไม่ได้ เราจึงไม่ค่อยเห็น IF นี้เท่าไรแล้ว

Full Hole (FH)

เขยิบไปดูรูปขวาสุด

แบบนี้ป๊อบสุดครับ Tool Joint ID เล็กกว่าตัวก้านหน่อย แต่ก็ไม่เล็กมากเหมือน REG ทำให้ใช้กันแพร่หลาย

Numeric Connection (NC)

ทั้งหมดที่ว่ามานั้นใช้สำหรับก้านเจาะที่ทนแรงดึงได้ต่ำกว่า 75000 psi เอ๊ะ แรงดึงทำไมมีหน่วยเป็นความดัน ทำไมไม่เป็น กิโลกรัม ปอนด์ หรือ ตัน

มันเปลี่ยนไปตามขนาดเนื้อเหล็กพื้นที่หน้าตัดไงครับ ในกรณีที่ตารางสเป็คบอกแรงดึงมาเป็นปอนด์ เรารู้ OD ID ก้านเจาะ เราก็รู้พื้นที่วงแหวน เอาไปหารแรงดึงตามสเป็กก้านเจาะ เราก็ได้ psi แต่ส่วนมาก ตารางสเป็คจะบอกมาแรงดึงเป็น psi ให้อยู่แล้ว คือ หารมาให้เราแล้วว่างั้นเถอะ

เอาว่า ถ้าก้านเจาะ high-strength drill pipes เกลียวจะเป็นแบบ NC ที่ออกแบบมาโดย API เพื่อใช้โดยเฉพาะ อ้อ connection เป็นแบบ FH น่ะ รูตรงข้อต่อ TJ เล็กหน่อย

ถ้าไปเปิดตารางสเป็คดู จะพบสเป็ด เช่น NC46 NC50 ตัวเลขหลัง NC มันมีความหมายของมัน แต่สำหรับผู้ใช้งานแล้ว ไม่ต้องไปสนใจหรอก รู้แต่ว่า ถ้าเหมือนกัน ก็เอามาต่อกันได้ รู้แค่นี้พอ

แบบไม่มาตราฐาน API (ตามใจผู้ผลิต)

นี่เยอะและ ของใครของมันล่ะทีนี้ จะเห็นสัญลักษณ์มั่วไปหมด เอาว่า นอกเหนือจาก REG IF FH NC นอกนั้นเป็นตระกูลนี้ อยากรู้คุณสมบัติก็ต้องเปิดตารางสเป็คของเจ้านั้นๆเอาเอง

จริงๆแล้วเรื่องเกลียวนี้มีสเป็คและความพิศดารพันลึกของมันอยู่อีกมาก ไม่ได้มีแค่ที่ผมย่อมาให้แบบสุดๆ แต่เอาว่าในมุมของผู้ใช้งาน เลือกใช้งาน เท่านี้ก็เลือกใช้เป็นในเบื้องต้นแล้วครับ

Application – สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ว่าจะให้เกลียวไหน

นอกจากขนาด OD ID และ อื่นๆแล้ว สิ่งที่สำคัญที่ต้องรู้ (อ่านจากสเป็กเอา) คือ

  • MIN MUT
  • MAX MUT
  • MAX TENSILE

MUT คือ Make Up Torque คือ ขัดให้แน่นต้องใช้แรงบิดน้อยสุดเท่าไร และ ต้องไม่เกินเท่าไร

TENSILE คือ แรงดึง ทนแรงดึงได้เท่าไร

แรงบิดสูงสุดของเกลียวระหว่างใช้งานที่ความลึกใดๆจะต้องน้อยกว่า max MUT ของเกลียวนั้น ไม่งั้นตอนถอนก้านจะคลายไม่ออก ซวยล่ะทีนี้ ไม่ต้องห่วงว่าเกลียวจะขาด เพราะ MUT จะมากกว่า max torque ของ body ก้านเจาะ อยู่แล้ว นั่นคือ ก่อนบิดจนเกลียวขาด ก้านเจาะจะขาดเอาเสียก่อน

แรงบิดสูงสุดของเกลียวระหว่างใช้งานที่ความลึกใดๆ เราใช้ software คำนวนได้ ส่วน max MUT เราก็เปิดตารางเอา

แรงดึงสูงสุดของเกลียวระหว่างใช้งานที่ความลึกใดๆจะต้องน้อยกว่า max TENSILE ของเกลียวนั้น max TENSILE ของเกลียว ส่วนมากจะมากกว่า max TENSILE ของก้านเจาะก็จริง แต่ไม่ได้มากกว่ามากนัก ก็ดูให้ดีๆล่ะกัน

แรงดึงสูงสุดของเกลียวระหว่างใช้งานที่ความลึกใดๆ เราใช้ software คำนวนได้ ส่วน max MUT เราก็เปิดตารางเอา

อีตอนขุดปกตินี่ไม่เท่าไรหรอกครับ วิศวกรเด็กๆก็คำนวนได้ แต่ที่ท้าทายก็ต้องคิดเผื่ออีตอนก้านติด ต้องกระชากกันด้วย jar หรือ ขุดหลุมที่คดเอียง dog leg (ดัชนีความคดงอของหลุม) หรือ หลุมนอน หลุมประมาณนี้แหละ ที่ต้องคำนวนดีๆ ใส่ safety factor ไปเยอะๆ ถือคติ เกินดีกว่าขาด 555

Interchangeability

หลักง่ายๆ อย่าเดา ได้ไม่คุ้มเสีย

ถ้า API นะ เหมือนกันต่อกันได้ ไม่เหมือนกัน อย่าเอามาต่อกัน

ถ้า non-API ส่งอีเมล์ถามผู้ผลิตลูกเดียว

ส่งท้าย

… เหนื่อยเลยโพสต์นี้ ดีครับ ผมขัดสนิมไปในตัว ยอมรับตรงๆ ลืมไปหมดแล้ว ไม่ได้ใช้มาสิบกว่าปีแล้วครับ ตอนนี้ก็ให้แต่วิศวกรเด็กๆน้องๆทำกันไป ผมก็คอยตรวจดูคร่าวๆ เอาเรื่องใหญ่ๆเท่านั้นแหละ


ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------