ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Wireline Field Technician เขาทำอะไร แยกเป็นกี่ประเภท

Wireline Field Technician มารู้จักเขากัน เขาทำอะไร แยกเป็นกี่ประเภท ฯลฯ – ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจคำว่า wireline กันก่อน คำนี้ในงานสนาม มีหลายความหมายกับหลายๆงาน ก็เคยมีเขียนไว้ในบล๊อกพอสมควรแล้ว จะไม่ย้อนอธิบายยาว แต่จะสรุปสั้นๆคร่าวๆว่า งาน wireline แบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ

Wireline Field Technician

Wireline สำหรับงาน completion หรือ well service

  1. งาน wireline ที่ใช้กับงาน completion งาน well service (ซ่อมแซม ต่อเติม ปรับปรุง แก้ปัญหา บำรุงรักษาหลุม) และงาน fishing (กู้เก็บของที่ตกอยู่ก้นหลุม) แบ่งย่อยออกไปอีกเป็น ​3 กลุ่มย่อยๆตามลักษณะของเส้นลวดหรือสายเคเบิ้ลที่ใช้
    1. slick line มีลักษณะภายนอกเป็นเส้นลวด ดูเผินๆเหมือนลวดราวตากผ้า มีหลายขนาดและวัสดุ ขึ้นกับงานที่ใช้
    2. bladed line  ประกอบด้วยลวดสลิงเล็กๆหลายๆเส้นมาพันกันเป็นเกลียว นึกถึงสลิงที่ใช้ยกของตามงานก่อนสร้าง ประมาณนั้น มีหลายขนาด แบบ และ วัสดุ ตามการใช้งาน
    3. e-line ย่อมาจาก electric line  ซึ่งก็คือ bladed line ที่มีสายไฟฟ้าอยู่ข้างใน จำนวนสายไฟฟ้าและ ขนาด วัสดุ ฉนวน ก็ แตกต่างกันไปตามการใช้งาน e-line นี่นึกภาพตามยากหน่อย เพราะไม่ค่อยได้เห็นในชีวิตประจำวันหรือตามไซด์งานก่อสร้างข้างทาง

Wireline สำหรับงาน หยั่งธรณี และ ระเบิดหลุม

  1. งาน wireline ที่ใช้ในการหยั่งธรณี (formation evaluation) ที่เรียกกันว่า wireline well logging และ การระเบิดหลุม (wireline perforation) โดยทั่วไปแล้วขนาดของ wireline จะใหญ่กว่า มีสายไฟฟ้าอยู่ข้างในจำนวนหลายเส้น มีตั้งแต่ 1 เส้น ไปถึง 7 เส้น ขนาดก็มีตั้งแต่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.22 ถึง 0.52 นิ้ว ที่จำนวนสายไฟฟ้าเยอะกว่า และ ขนาดใหญ่กว่า ก็เพราะต้องรับน้ำหนักเครื่องมือที่ใช้ในการหยั่งธรณีที่หนักมากกว่า และ มีการส่งและรับสัญญานไฟฟ้าจากเครื่องมือที่ซับซ้อนกว่า

ที่ปูพื้นมาเยอะ ก็เพื่อจะบอกสั้นๆว่า ในที่นี้ผมจะกล่าวถึง FT (field technician) ที่ทำงาน wireline ในประเภทที่ 2 เท่านั้น

เหตุผลง่ายๆคือ ผมเป็นอดีต wireline field engineer คลุกคลีกับ Wireline field technician ในแบบที่ 2 มากกว่า แบบแรกนี่ผมมีประสบการณ์น้อยกว่ามาก เกรงว่าถ้าเล่าไปก็อาจจะคลาดเคลื่อนได้

ถ้ามีเพื่อนๆพี่ๆน้องๆที่ทำงาน Wireline field technician ในประเภทแรกแวะมาอ่านเจอบทความนี้ อยากจะให้ช่วยเขียนเล่ามาหลังไมค์ด้วยก็จะดี ยินดีที่จะเป็นพื้นที่กลางสื่อสารเป็นวิทยาทานแก่พวกเราในวงกว้าง

เข้าเรื่องเสียที

งาน wireline แบบที่สองนี้ เป็นงานที่อยู่ในหมวดของ บ.service ซึ่งในเมืองไทยมีเจ้าใหญ่ให้บริการในงานส่วนนี้ 4 บ. ซึ่งคือ อ้ายใหญ่ Schlumberger ผู้บุกเบิก และ เป็นตำนานของงานด้านนี้ นอกจากนี้ยังมี Halliburton, Baker และ Weatherford

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

แต่ในอเมริกามีบ.ขนาดกลางและเล็กมากมายที่ให้บริการด้านนี้ โดยเฉพาะที่ให้บริการในแหล่งบกที่มีแท่นเจาะเป็นพันๆแท่น บ.เหล่านี้มีรถบรรทุกคันนึง เอาอุปกรณ์เครื่องมือใส่หลังรถไป ก็ให้บริการได้แล้ว

แน่นอนว่าเป็นการหยั่งธรณีแบบพื้นๆทั่วไป หลุมไม่ลึกมาก ไม่เอียงมาก ไม่ซับซ้อนมาก ซึ่งก็ตอบโจทย์ของแหล่งบกในอเมริกาได้เป็นอย่างดีด้วยราคาที่น่าสนใจ เรามักเรียกชื่อบ.เล็กๆเหล่านี้ว่า pop and mom company ก็อารมณ์ธุรกิจในครอบครัวประมาณนั้น

กลับมาดูงาน wireline logging เมืองไทยกันบ้าง

บ,service เหล่านี้ก็จะรับสมัครวิศวกรสนาม (field engineer FE)  และ ช่างเทคนิคสนาม (field technician) เพื่อเอาเครื่องไม้เครื่องมือเหล่านี้ไปให้บริการกับลูกค้าซึ่งก็คือ บ.น้ำมัน​ (oil company) บนแท่นเจาะฯ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

FT ส่วนใหญ่ที่บ.เหล่านี้รับมาทำงานจะมีวุฒิปวส.สาขาที่เกี่ยวข้องกับช่าง เช่น เครื่องกล ไฟฟ้า เครื่องมือวัด ก่อสร้าง (และสาขาย่อยๆของสาขาหลักเหล่านี้) ปิโตรเลียมฯ ส่วนสาขา สำรวจ คอมพิวเตอร์ อุตสาหการ และ อื่นๆ ก็เห็นมีบ้างประปราย

หน้าที่หลักๆของ FT ก็มีประมาณๆนี้ครับ

  1. เตรียมและตรวจสอบเครื่องไม้เครื่องมือทั้งหมดที่ต้องใช้ในการออกไปทำงานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ทั้งชุดที่ต้องใช้จริงและชุดสำรอง
  2. ดูแลจัดการเรื่องการขนส่ง ทั้งไป และ กลับ จากหน้างาน
  3. ตรวจสอบอีกรอบเมื่ออุปกร์เครื่องมือไปถึงหน้างาน เพราะอะไร เพราะระหว่างการขนส่ง ไม่ว่าจะแหล่งบก หรือ นอกชายฝั่ง ย่อมมีการผิดพลาด กระทบกระเทือน สลับชิ้น สลับเครื่องมือ ฯลฯ
  4. แก้ไข ซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องมือขั้นพื้นฐาน
  5. ต่อประกอบเครื่องมือ ติดตั้งอุปกรณ์ ที่ต้องใช้งาน ที่หน้างาน และ ถอด ทำความสะอาด ซ่อมบำรุงพื้นฐาน (เช่น ล้าง หยอดน้ำมัน หุ้มอุปกรณ์ป้องกัน ฯลฯ) ที่หน้างาน
  6. เมื่อกลับมาที่ฐานปฏิบัติการ (Operation base) ก็ต้องรื้อของ อุปกรณ์ ต่างๆ ออกมาทำความสะอาด ซ่อมบำรุงพื้นฐาน ทำรายงาน รายการต่าง ส่งซ่อมตามแผนกต่างๆถ้าซ่อมเองไม่ได้ (mechanic, electric, hydraulic, machine shop นอกบ. etc) และ ติดตามจนกว่าจะซ่อมเสร็จ
  7. เข้าร่วมโปรแกรมเพื่อพัฒนาตัวเองทั้งด้านเทคนิค ความปลอดภัย และ ทักษะการทำงานอื่นๆ (soft skill) ตามโปรแกรมของบ.

หน้าที่หลักๆก็ประมาณนี้ครับ

Wireline Field Technician 2

ด้านการฝึกอบรม เมื่อได้เข้ามาแล้ว โดยมากก็มีเหมือนๆกันทุกค่ายคือ ทำงานใน workshop กับ FT รุ่นพี่ๆ ควบคู่ไปกับอบรมเรียนรู้ในห้องอบรม ซึ่งก็มักที่จะอยู่ใน workshop นั่นแหละครับ แน่นอนว่าทุกกระบวนการก็ต้องมีการตรวจวัดผลเป็นขั้นๆและคัดออก

การทำงานก็ขึ้นกับระบบของแต่ล่ะบ. บางบ.ใช้ระบบ cell ใน cell หนึ่งๆ มี FE FTs เครื่องมือ 1 ชุด (ชุดสำรองมักเป็นของกลาง) ลูกค้า 1 แท่นรับผิดชอบกันไป ของใครของมัน

บางบ.ก็เป็นระบบเก้าอี้ดนตรี คือ แชร์ๆกันไป ทุกอย่างเป็นของกลาง บางบ.ก็ใช้ระบบลูกผสมคือ บางอย่างก็ของใครของมัน บางอย่างก็เก้าอี้ดนตรี ทั้งสองระบบมีทั้งข้อดีข้อด้วย ขึ้นกับหลายหลายปัญจัย เช่น ชนิดประเภทของการให้บริการ จำนวนลูกค้า เป็นต้น

ตารางการทำงานก็ขึ้นกับกิจกรรมต่างๆของแท่นลูกค้า หรือ ระบบงานของบ. แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่เป็นระบบ 14/14 21/21 หรือ 28/28 (ทำหยุดเท่ากัน หรือ ทำมากกว่าหยุดแล้วแต่บ.) แบบพนักงานแท่น

โดยมากจะทำงานแบบพนักงานช่างใน workshop แต่จะมีรายได้ส่วนเพิ่มเมื่อต้องออกไปทำงาน จะเหมา จะนับวัน นับชม. อะไรอย่างไรก็ขึ้นกับระบบของบ.

Wireline Field Technician 3

ถ้าถามถึงความก้าวหน้า ในด้านงานสนาม ก็สามารถไต่เต้าขึ้นไปตามขั้นตอนไปจนถึงเป็นหัวหน้าชุด ที่เราเรียกว่า crew chief (บางบ.อาจจะใช้ชื่อต่างกันออกไป แต่ก็มีความหมายเดียวกันคือหัวหน้าชุด) ซึ่งก็สามารถมีทักษะเฉพาะตัวไปอีกว่า ชำนาญเครื่องมือ (logging tool) ชิ้นไหน บางบ.ก็อาจจะมีนโยบายให้ยืมตัวไปทำงานต่างประเทศ ถ้าเป็นทักษะเฉพาะของเครื่องมือยากๆ

ถ้าเบื่องานสนาม หรือ มีเหตุต้องให้กลับเข้ามาทำงานในฐานปฏิบัติการ​ หรือ workshop เช่น บาดเจ็บ หรือ เหตุผลทางครอบครัว ก็สามารถฝึกต่อไปเป็น ผู้ฝึกอบรม FT เป็นคนดูแลด้านความปลอดภัย (safety officer/ supervisor) ช่างซ่อม mechanic electric hydraulic computer แล้วแต่ความสามารถที่มี หรือ เป็น work shop manager ก็ได้ มาทำด้าน logistic ดูแลการขนส่ง โกดังของ store มากมาย แล้วแต่โอกาสในบ.นั้นๆที่เปิดให้

แต่ … แต่ … มีแต่นะครับ ต้องมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่อยู่ในระดับใช้ได้นะ โดยมากมักไม่มีปัญหา เพราะ FT ระดับ crew chief มักจะผ่านข้อนี้ เพราะไม่งั้นขึ้นเป็น crew chief ไม่ได้ บางบ.ถึงกับกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนหนึ่งของการได้เลื่อนขึ้นเป็น crew chief กันเลยทีเดียว ส่วนจะจัดการวัดระดับภายในบ.หรือใช้มาตราฐานภายนอก เช่น โทอิค ก็แล้วแต่บ.นั้นๆจะวางกฏกติกา

อีกอย่างหนึ่งคือวุฒิปริญญาตรี ตอนเข้ามา อาจจะใช้วุฒิปวส.แต่ FT ที่จะเข้ามาเป็น ผจก.ด้านต่างๆเช่น store workshop warehouse logistic safety supervisor trainer ฯลฯ มักจะต้องอัพเกรดตัวเองด้วยทุนตัวเองและเวลาของตัวเองเพื่อให้ได้ป.ตรี ซึ่งสมัยนี้ ไม่ยากครับ เรียนทางไกล หรือ เสาร์อาทิตย์ เรียนภาคค่ำ มหาวิทยาลัยเปิด ฯลฯ

แล้วจะอัพเกรดไปเป็น FE ได้ไหม

… เป็นคำถามที่ตอบยากครับ

ในสมัยก่อน แทบจะไม่ได้ แต่สิบปีหลังมานี้ มีบางบ.เปิดโอกาสตรงนี้ให้ FT ที่มีความสามารถและได้วุฒิตามที่บ.กำหนดสามารถเป็น Field Specialist (FS) ในงานที่ไม่ซับซ้อนได้ เช่น งานระเบิดหลุม (well perforation) แล้ว FE กับ FS ต่างกันอย่างไร …

คร่าวๆก็คือตัวงาน FE จะกว้างกว่า ทำได้หลาย service ทำงานได้กับเครื่องมือที่หลากหลายกว่า แต่อาจจะไม่ชำนาญจริงๆมากๆเท่า FS เพราะ FS ทำได้อยู่ไม่กี่อย่าง แต่ชำนาญมากๆ ซึ่งก็เป็นการแบ่งที่คร่าวๆ ไม่เป็นสากล เพราะผมก็เคยเห็น FE ที่ทั้งปีทั้งชาติก็ทำอยู่ไม่กี่อย่าง  555

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

แต่อีกประเด็นหนึ่งที่มักจะชัดเจนกว่าในการแยก FS กับ  FE คือ แนวทางการทำงาน FS เป็นตำแหน่งงานที่โตไปในสนามเท่ากัน คือ ยังไงๆก็อยู่หน้างาน ส่วน FE ส่วนมากเมื่อถึงเวลาหนึ่งมักจะโดนย้ายเข้ามาทำงานในสำนักงานตามขั้นตอนการพัฒนาบุคคลากรของแต่ล่ะบ. เช่น เป็นผู้ประสานงานทางเทคนิคกับลูกค้า เป็นแผนกสนับสนุนเทคนิค เขยิบขึ้นเป็น ผจก.ไปไรไป ไม่ได้จะเป็น FE อยู่ไปทั้งปีทั้งชาติ

คิดว่าชวนคุยครบทุกแง่มุมแล้วนะครับ ถ้าหลงลืมแง่มุมไหนก็สะกิดกันมาได้ …

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

3 comments

  1. ขอสอบถามหน่อยครับ
    งานwireline ใช้ความรู้ด้านไหนบ้างครับ พอดีผมมีโอกาศได้ฝึกงานในส่วนของ wireline ที่slb ครับ (ผมเรียนวิศวะเครื่องกล)

    1. ใช้ 3 อย่างหลักเลยครับ 1 เครื่องกล (ไฮดรอลิกส์ ปั๊ม มอเตอร์ ความร้อน) 2 ไฟฟ้า (ควบคุม กำลัง หม้อแปลง อิเลคทรอนิค เครื่องมือวัน) 3 ธรณีปิโตรเลียมพื้นฐาน ครับ แต่ผมคิดว่า ฝึกงานคงไม่ให้ทำอะไรมากหรอกครับ แบกๆหามๆ ไปไรไป เป็นลูกมือทำโน้นทำนี่มากกว่าครับ ทะยอยๆเขียนมาเล่าประสบการให้ฟังบ้างนะครับว่าได้ทำอะไรบ้าง เขียนมาเป็นตอนๆก็ได้ครับ ไม่ต้องรอฝึกงานเสร็จ แบ่งปันประสบการณ์กันนะครับ

      1. ขอบคุณมากครับ ไว้เด่วจะมาเล่านะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------