ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Well Difficulty Index EP2 – Pitfall & more examples

Well Difficulty Index EP2 – Pitfall & more examples … ตอนนี้จะเป็นภาคต่อจาก Well Difficulty Index นะครับ ถ้าเพื่อนๆเพิ่มมาอ่านตอนนี้ อยากให้กลับไปอ่านตอนที่แล้วก่อน จะได้เข้าใจยิ่งขึ้นว่าเรากำลังคุยอะไรกัน

มาต่อๆ …

Well Difficulty Index EP2

อีกตัวอย่างหนึ่งของดัชนีพยากรณ์คือ S&P หรือ Moody index ที่ทำดัชนีความน่าลงทุนของประเทศต่างๆ โดยเชื่อมโยงปัจจัยต่างๆที่น่าจะมีผลต่อปริมาณการลงทุนจริงๆในอดีต สร้าง และ ปรับแต่ง ออกมาเป็น model (ตัวแบบ) ทางคณิตศาสตร์

เวลาจะใช้งานก็ ใช้ปัจจัยต่างๆเหล่านั้นในอนาคต เช่น อัตราดอกเบี้ย ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ อัตราการว่างงาน GDP ฯลฯ เอาใส่ model ที่จัดเตรียมไว้ ก็จะผลิตดัชนีพยากรณ์ออกมาเป็น A B C หรือ เป็นตัวเลขอะไร ก็ว่าไป

ทำนองเดียวกับการจัดความน่าเชื่อถือในการให้สินเชื่อ หรือการอนุมัติบัตรเครดิต หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า credit rating ที่เอาข้อมูลต่างๆของผู้กู้ เช่น อายุ เพศ เงินเดือน อายุงาน ฯลฯ ใส่เข้าไปในตัวแบบที่ธนาคารต่างๆคำนวนไว้แล้ว (จากข้อมูลการเบี้ยวหนี้ในอดีต) ผลที่ได้คือ คะแนนความน่าเชื่อถือว่า หน้าตาอย่างผมเนี้ย ควรให้กู้ไหม ถ้าควรให้กู้ ควรให้กู้ได้สักกี่สิบบาท 555

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

อีกตัวอย่างหนึ่ง ใกล้ตัวมาอีกนิด คืด การประกันภัย ก็มีดัชนีเหมือนกัน แต่เขาเลี่ยงๆไม่เรียกว่าดัชนี แต่เขาจัดเป็นกลุ่มๆแทน ไม่ว่าจะประกันรถยนต์ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอัคคีภัย สารพัดจะประกันกัน แต่ไม่ว่าจะประกันอะไร ผลออกมาก็คือ ดัชนี หรือ กลุ่มความเสียงนั่นเองว่า กลุ่มนี้ คะแนนดัชนีเท่านี้ จะรับประกันไหม ถ้ารับ รับที่ทุนประกันเท่าไร ฯลฯ

ครั้งที่แล้วรู้สึกว่าจะยกตัวอย่างดัชนีพยากรณ์น้อยไปหน่อย เลยมาเพิ่มเติมให้

เรื่องต่อมาที่ผมจะชวนคุยคือ Pitfall หรือ ที่แปลเป็นไทยว่า กับดัก หรือ หลุมพราง ในการเอาไปใช้งาน

สายแข็งอย่างเพิ่งเบื่อ ที่ยังไม่เข้าเรื่องเสียที อยากจะยกตัวอย่าง BMI (Body Mass Index ดัชนีมวลร่างกาย) อีกสักหน เพื่อให้เห็นกับดักที่ว่า

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

BMI เป็นดัชนีที่ผมตั้งชื่อว่า ดัชนีเทคนิค คือ ทำขึ้นมาไม่ได้เพื่อตอบโจทย์ใคร แค่เปรียบเทียบว่า ผม กับ ณเดชน์ ใครมีอาการ “อ้วน” มากกว่ากัน

วันหนึ่ง หมอใหญ่เรียกประชุมหมอเล็กหมอน้อย ดำริว่า อยากรู้ว่าคนในพื้นที่รพ.เราเนี้ย อ้วนหรือเปล่า อ้วนมากอ้วนน้อยอย่างไร หมอเล็กก็รับอาสาไปหาดัชนีวัดความอ้วนมานำเสนอ สมมติว่าหมอเล็กได้ดัชนี BMI ตัวนี้มานำเสนอหมอใหญ่

หมอใหญ่ – แล้ว BMI เนี้ยมันบอกอะไรได้อีกบ้าง

หมอเล็ก – ก็บอกว่าใครมีภาวะอ้วนกว่าใครครับ

หมอใหญ่ – คนอ้วนมักจะตัวหนัก คนตัวหนัก มักจะข้อเข่าเสื่อม งั้น หมู่บ้านที่คนมี BMI ของหมอเล็ก เยอะๆ ก็น่าจะข้อเข่าเสื่อมกันเยอะ ผมสรุปแบบนี้ได้ไหม

หมอเล็ก – ไม่ได้ครับ เพราะ ปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม ไม่ใช่ น้ำหนักอย่างเดียว อาจจะเป็นเพราะ กรรมพันธุ์ โรคต่างๆ หรือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนหมู่บ้านนั้นก็ได้

หมอใหญ่ – งั้น BMI มันตอบอะไรได้ล่ะ

หมอเล็ก – อย่าที่ผมเรียนไปแล้วว่า บอกได้แค่ว่า ใครอ้วนกว่าใคร นอกนั้น บอกอะไรไม่ได้เลย BMI ไม่ใช่ดัชนีที่บ่งถึงโรคอะไรเลย เพราะ ความอ้วนเป็นสาเหตุเดียวของโรคหรือความเจ็บป่วยทั้งหลาย ต้องไปศึกษาต่ออีกทีว่า ถ้าจะเอา BMI ไปอธิบายอุบัติการณ์ของไขข้อเสื่อม ก็ต้องไปวิจัยต่อเป็นดับชีอีกแบบที่บอกถึงภาวะไขข้อเสื่อม ซึ่งอาจจะมีปัจจัยอื่นร่วมอีก ซึ่งถึงตอนนั้นก็คงไม่ได้ว่าดัชนีความอ้วน (หรือ BMI) ได้อีกต่อไปครับ คงต้องไปตั้งชื่อว่า ดัชนีชีวัดอุบัติการณ์ไขข้อเสื่อม

หมอใหญ่ – อืม … งั้น ผมก็เอา BMI ไปใช้งานบริหารสุภาพคนในชุมชนไม่ได้เลยซิ ผมจะไปตอบท่านสาธารณสุขจังหวัด (หมอใหญ่กว่า) ได้ไง

หมอเล็ก – ใช้ได้ซิครับ แต่ท่านต้องดูปัจจัยอื่นๆด้วย อย่างที่ผมเรียนไปแล้วว่า BMI เป็นปัจจัยเดียวของอาการไขข้อเสื่อม

หมอใหญ่ – งั้น คุณไปปรับแต่ง BMI ให้มันตอบโจทย์อาการไขข้อเสื่อมได้ไหม

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

หมอเล็ก – ได้ครับ แต่อย่างที่เรียนท่านไปแล้วนั่นแหละว่า งั้น ดัชนีใหม่นี้ ก็เรียกว่า BMI หรือ ดัชนีความอ้วนไม่ได้แล้วนะครับ เพราะโดยนิยามแล้วมันไม่ใช่แล้ว

ผมก็ไม่รู้ว่าบทสนทนาที่ผมไปเผือกได้ยินมาจะจบอย่างไร แต่มันก็คล้ายๆกับ ดัชนีความยากของหลุมเรานี่แหละครับ

คนมักจะโยงความยากกับเวลาในการทำหลุมให้เสร็จ (เจาะ และ complete) ทั้งๆที่ ความยากของหลุมเป็นแค่ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อระยะเวลาในการทำหลุมให้เสร็จ (คนทำงานก่อสร้างต้องเห็นด้วยกับผมแน่ๆ)

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมายที่ไม่กี่ยวกับความยากของหลุมทางเทคนิค อยู่นอกเหนือการบริหารจัดการของวิศวกรขุดเจาะ แต่ก็มีผลกับระยะเวลาในการทำหลุมให้เสร็จ เช่น

  1. โลจิสติกส์ห่วยๆหรือขั้นเทพ
  2. นโยบายความปลอดภัย ขั้นตอนงานบางอย่างก็ทำให้เร็วไม่ได้ เพราะ มันไม่ปลอดภัย (ตามคัมภีร์ของแต่ล่ะบ. ก็ว่ากันไป)
  3. ลำดับในการขุดหลุมที่เอื้อให้ทำงานได้เร็วหรือถ่วงความเร็วในการทำงาน (ไร้ประสิทธิภาพในแง่การทำงาน แต่ ลำดับการเจาะแบบนั้นอาจจะไปตอบโจทย์อื่นๆ)
  4. จำนวนหลุมในหนึ่งชุดที่ทำการขุด (batch) ทำอะไรอย่างเดียวกันติดต่อกันเป็นชุดๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพเนื่องจากขนาด (economy of scale and synergy) มากกว่าที่ ทำที่ล่ะอย่างๆเปลี่ยนไปทุกครั้ง (แบบที่คนเรียน process engineer เรียกว่า job shop นั่น)
  5. ระบบการจ่ายค่าตอบแทนผู้รับเหมาในช่วงนั้นๆ เช่น บางสัญญาให้ค่าตอบแทนแบบทำเร็วจ่ายเยอะ (incentive) บางสัญญาก็ทำไม่ได้แบบนั้น (เพราะอะไรก็แล้วแต่)
  6. ได้ผู้รับเหมาห่วยๆ ไม่มีประสบการณ์มาทำงานให้ หลุมง่ายๆก็เจาะกันแบบชาติหน้าจะเสร็จไหมเนี้ย คุณอาจจะบอกว่า วิศวกรขุดเจาะ บริหารได้ซิ คุณเป็นคนจัดประมูล ตั้งกฏเกณฑ์การตัดสิน และ เป็นผู้กำหนดผลประมูล เหอๆ ไม่รู้อะไรเสียแล้ว 555 ใครอยู่ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจะรู้อุปสรรคข้อนี้ดี บางทีก็ไม่ได้อย่างที่คนทำงานต้องการหรอกครับ
  7. และ อื่นๆอีกมากมาย

ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันในหมู่คนใช้งานดัชนีความยากของหลุม ต้องเข้าใจว่าดัชนีที่ทำออกมานั้น สื่อ และ ไม่สื่ออะไร ถ้าดัชนีเทคนิค ก็ต้องเข้าใจว่า ไม่เกี่ยวกับเวลา ในการทำงานนะ

แต่ถ้าจะหาความสัมพันธ์ว่าอะไรเป็นปัจจัยทำให้หลุมแพง หลุมเจาะนาน ฯลฯ ก็ต้องไปว่ากันอีกเรื่อง แต่อย่ามาเรียกดัชนีความยากทางเทคนิค เพราะมันจะไม่ใช่อีกต่อไป

เรื่องแบบนี้ “เบสิก” สำคัญมากครับ ไม่งั้นเถียงกันไม่เลิก

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------