ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Reservoir Saturation Tool … ผ้าขี้ริ้วห่อทอง … บังเอิญได้ใช้กับเขาหนหนึ่ง

Reservoir Saturation Tool – เรื่องนี้เท้าความไปสมัยผมเป็น Wireline Field Engineer ของบ. service บ.หนึ่ง ตอนนั้นผมก็เพิ่งสำเร็จจบจากการอบรมวิศวกร Wireline ของบ.นี้ ที่ตอนนั้นผมไปอบรมที่อียิปต์ 10 เดือน ก็ได้สถานะใหม่ติดตัวกลับมาว่า Post School Trainee แปลว่า ก็ยังเป็นวิศวกรฝึกงานอยู่นั่นแหละ แต่ตอนนี้สามารถใช้งานเครื่องมือพื้นฐานทุกประเภทได้แล้ว

ขั้นต่อจากนี้ มีเวลาให้ 2 – 3 เดือน เพื่อจะ Breakout เป็น Field Engineer สลัดคำว่า Trainee (ฝึกงาน) ออกเสียที หลังจากใช้คำนี้มานานร่วมปี

Breakout คืออะไร ก็คือการลงไปทำงานจริงๆครบวงจรตามที่ฝึกฝนมา แล้วผ่านการประเมินในขั้นสุดท้าย โดยมีวิศวกรอาวุโสคนหนึ่งรับหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงประกบ และ ประเมิน ใครได้พี่เลี้ยงดี ก็ดีไป ใครได้พี่เลี้ยงแบบ #&^%$$*^%@ ก็นะ ถือว่าได้ฉีดวัคซีนเพิ่มความแข็งแกร่งให้ชีวิต 🙂

สมัยนั้นวิศวกรสนามบ.นี้มีค่าคอมมิชั่น พวกเราได้ 1% จาก price list (ราคาการให้บริการมาตราฐานก่อนที่ผจก.พื้นที่ต่างๆจะไปลดราคาให้ลูกค้า) ของงานที่เราทำ ถ้ามี post school trainee มาประกบ ก็เป็นเหมือนกฏที่ไม่ได้เขียนไว้ว่าต้องแบ่งค่าคอมฯให้วิศวกรฝึกงานเหล่านี้ แต่จะแบ่งในสัดส่วนไหน ก็ไม่มีกำหนดไว้ชัดเจน แล้วแต่คู่ใครคู่มันว่างั้น

ผมก็ชวนคุยไปเรื่อย เนื้อหามันที่จะเขียนวันนี้มันมีนิดเดียว ผมก็ลากเข้าป่าเข้าพง ให้ความรุ้ ฆ่าเวลาไปพลางๆ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

อันว่าผมก็กลับมาเป็น post school trainee อยู่ที่ฐานปฏิบัติการบกอันยากจนและห่างไกลของบ.ในชมพูทวีป จังหวัดที่ชื่อ Baruda ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Vadodara

Reservoir Saturation Tool

จังหวัดนี้อยู่ในแคว้นคุชราฏ อยู่ไปทางทิศเหนือของเมืองท่ามุมไบ (แต่ก่อนเรียก บอมเบย์) ราวๆ 400 กม. ก็ราวๆ กรุงเทพไปสุโขทัย สมัยนั้นบินด้วยเครื่องบินใบพัดก็ราวๆ ชม.นึงก็ถึง

อะ ให้ดูภาพมุมสูงอีก เอากว้างๆ โอเคป่ะ นึกออกนะว่าอยู่ตรงไหนของแผนที่โลก

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

Reservoir Saturation Tool

สมัยนั้นบริเวณนั้น ขึ้นชื่อว่าเป็น oil field ที่กันดารมากๆ ทั้งการเดินทาง และ การกินการอยู่ที่ โบราณ ล้าหลัง ใช้เทคโนโลยีพื้นๆ ของเก่าๆ โละจากที่อื่น ก็เอามาใช้ที่นี่ ทั้งบ.น้ำมัน และ บ.services ส่วนด้านบุคลากรก็อารมณ์ว่า เอามาปล่อยเกาะ ใครทำผิด ลงโทษทางวินัย ไม่มีที่ย้ายไป ก็จะมาลงที่นี่ เรียกว่าผมเจอแจ็คพอตเข้ารางวัลใหญ่เลย

แต่อยากจะบอกให้ว่า นี่แหละเป็นคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ ความลำบาก ทำงานในสภาวะขาดแคลนกองหนุนนี่แหละที่ให้วิชาและประสบการณ์ที่ไม่มีสอนในโรงเรียน (wireline school) ที่อียิปต์หรือที่ไหนๆ

ฉายภาพกว้างๆพอเห็นสภาพแล้วเนอะ

วิศวกรอาวุโสที่ประกบผมก็เป็นวิศวกรเชื้อสายอินเดีย แต่สัญชาติอังกฤษเพราะไปโตที่นั่น มีเมียเป็นคนอังกฤษ เวลาใครถามก็บอกว่าเป็นคนอังกฤษไม่ใช่อินเดีย แต่หน้านี่ไม่ได้ให้ว่าเป็นคนยุโรปสักนิด แขกอินเดียดีๆนี่เอง แต่ก็เป็นคนสุภาพ นิสัยดี ทำงานด้วยสบายใจ มีอะไรก็สอน ไม่โบ้ย เสียอย่างเดีย ไม่แบ่งค่าคอมฯให้ผมเลย

แต่ก็นะ ได้อย่างเสียอย่าง ผมกลับคิดว่า เงินทองไปหาเอาทีหลัง เอาทำงานสบายใจๆ สอนงานดีๆ ให้ผ่านเกรดดีๆ ประเมินในใบสรุปผลงานดีๆ ดีกว่าทำงานลำบากใจ ไม่สอน โดนโบ้ย แต่ได้เงินไม่กี่พันเหรียญ ไม่คุ้มหรอก คิดแบบนี้ก็สบายใจ เข้าทำนองได้อย่างเสียอย่าง

วันหนึ่งบ.น้ำมันอินเดียบ.หนึ่งเป็นบ.เล็กๆ ที่ตามประวัติแล้วเรียกใช้บริการแต่อะไรที่ถูกๆ ไม่เน้นเทคโนโลยีล้ำสมัย อะไรที่แบบว่าตกรุ่นแต่ก็ยังใช้ได้ ขอลดราคาแล้วก็เรียกใช้ อะไรทำนองนั้น เรียกว่า low end client อ่ะ

Reservoir Saturation Tool

จู่ๆบ.นี้ก็โทรฯมาเรียกใช้เครื่องชิ้นหนึ่งที่เรียกว่า RST (Reservoir Saturation Tool) เป็นเครื่องมือวัดว่าในชั้นหินมีไฮโดรคาร์บอนอยู่เท่าไร ราคาแพงระยับ อารมณ์ตอนรับสายว่า หูฝาดไปป่ะ วิศวกรที่โทรฯมาสั่งน่ะ รู้ป่ะว่ากำลังสั่งอะไรราคาเท่าไร แต่ก็ตรวจสอบจบแน่ชัดว่า อือ เข้าใจตรงกัน เขาจะเอา RST จริงๆ

คืองี้ครับ ในสมัยนั้นการหาว่าในชั้นหินมีไฮโดรคารบอนเท่าไร เราหากันทางอ้อม วิธีมาตราฐานก็คือ

  1. วัดค่าความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะของชั้นหิน (Rt)
  2. วัดความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะของน้ำในชั้นหิน (Rw)
  3. วัดค่าความพรุนของชั้นหิน (porosity – phi)

แล้วคำนวนหา Water Saturation (Sw) โดยใช้สมการของอาร์ชี่ในรูปข้างล่าง

Reservoir Saturation Tool

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ได้ Sw แล้ว ก้เอาไปลบออกจาก 1 ก็แปลว่ามีไฮโดรคารบอนอยู่เท่านั้น เช่น Sw 0.8 ก็แปลว่า มีไฮโดรคารบอน (Sh) 0.2 ของความพรุน (porosity) ถ้าอยากรู้ว่ามีปริมาณเท่าไรของเนื้อชั้นหินก็เอาไปคูณกับความพรุนอีกที สมมติความพรุนเท่ากับ 10% ก็จะมีไฮโดรคาร์บอน 0.2 x 0.1 = 0.02 หรือ 2% ของปริมาตราชั้นหิน

นี่คือวิธีมาตราฐานปกติๆราคาไม่แพงสำหรับยุคนั้นสมัยนั้น และ แน่นอนเครื่องมือวัดหลักที่ว่า 2 อย่างนั้น (ความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะและความพรุน) ก็จะมีรุ่นที่ทันสมัย ล้าสมัย ตกรุ่น แต่ยังใช้ได้ ให้บริการ ก็เหมือยบ.ให้เช่ารถน่ะครับ มีรุ่นเก่า เพิ่งตกรุ่นไป และ รุ่นใหม่ ที่ให้เช่าในราคาต่างๆกัน

วิธีดังกล่าวข้างต้นนั้นมีข้อด้อยอย่างหนึ่งก็คือ ต้องใช้ในหลุมเปิด (open hole) เท่านั้น

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

หลุมเปิด (open hole) หมายความว่า หลุมที่ขุดนั้นยังไม่ได้ใส่ท่อกรุลงไป เพราะว่า เครื่องมือวัดความต้านทานไฟฟ้าในสมัยนั้นใช้สองหลักการ

1. ปล่อยกระแสไฟฟ้าจากเครื่องมือที่หย่อนอยู่ในหลุมเข้าไปในชั้นหินโดยตรง และ

2. ปล่อยกระแสแม่เหล็กจากเครื่องมือที่หย่อนอยู่ในหลุมเข้าไปในชั้นหิน เพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำในชั้นหิน (หลักการหม้อแปลงไฟฟ้าหรือมอเตอร์เหนี่ยวนำนั่นแหละครับ)

ทั้งสองหลักฟิสิกส์นี้มันแพ้ทางเหล็กครับ เพราะเหล็กมันนำไฟฟ้าดีกว่าชั้นหินเยอะ

ถ้าใช้เครื่องมือแบบแรก กระแสไฟฟ้าที่ถูกส่งออกมาจะเครื่องมือก็จะวิ่งจู๊ดเข้าไปที่ท่อกรุที่เป็นเหล็ก(เหล็กนำกระแสได้ดีกว่าชั้นหินนี่นา)แล้วไปโผล่ที่ปากหลุม … จบข่าว

ถ้าใช้เครื่องมือแบบที่สอง พอปล่อยคลื่นแม่เหล็กออกมาจากเครื่องมือ แทนที่จะเกิดกระแสเหนี่ยวนำในชั้นหิน ก็เกิดกระแสเหนี่ยวนำในท่อกรุซะงั้น เพราะท่อกรุมีความต้านทานตำกว่าชั้นหินเยอะ … จบข่าวอีก

หลุมเก่า – หลุมใหม่

ทำไงล่ะทีนี้ ถ้าเกิดเป็นหลุมเก่า ใส่ท่อกรุไปแล้วผลิตไปแล้วสักพัก เกิดน้ำมันไม่ไหล คำถามคือ มันไม่ไหลเพราะมันหมดจากชั้นหิน หรือ ไม่ไหลเพราะรูที่ยิงระเบิดท่อกรุไว้มันตัน หรือ ฯลฯ (ซับซ้อน ไว้อธิบายทีหลัง) จะเอาครื่องมือแบบมาตราฐานๆลงไปวัดก็ไม่ได้อย่างที่อธิบายไปแล้ว

บ.service ทุกบ.เห็นช่องว่างทางการตลาดนี้มานานมากแล้ว บ.ที่ผมสังกัดนับได้ว่าเป็นตักกะศิลาด้านนี้ ก็ได้ค้นคว้าวิจัยผลิตเครื่องมือชนิดหนึ่งขึ้นมาเพื่อวัด Hydrocarbon Saturation (Sh) โดยตรงเลย ไม่ต้องมาคำนวนโดยใช้สมการของอาร์ชี่ ดังนั้นจะมีท่อกรุในหลุมหรือไม่ ไม่แคร์จ้า 🙂

หลักการค่อนข้างซับซ้อน แต่ถ้าพูดให้ง่ายที่สุดคือ เครื่องมือจะยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าไปในชั้นหิน เป็นชุดๆ คล้ายๆกับรัวปืนกลเป็นชุดๆนะครับ แล้ววัดการตอบสนองของนิวตรอนที่สะท้อนกลับมา นำมาคำนวนว่า ในชั้นหินมีอะไร รุ่นปัจจุบันพัฒนาไปจากรู่นที่ผมกล่าวถึงมาก ถ้าสนใจทราบมากกว่านี้ก็ตามลิงค์นี้ไปก็แล้วกันครับ RSTPro

รุ่นที่ผมใช้ที่ Vadodara นั้นเรียกว่ารุ่นเบสิกๆเลย ที่ฐานฯเรายังไม่มี ต้องโทรฯไปเอามาจากมุมไบ ซึ่งก็มีอยู่เครื่องเดียว แน่นอนว่า งานนี้ผมไม่ได้เป็นคนทำ เป็นลูกมือตรวจสอบโน้นนี่นั่น ส่วนใหญ่ก็เปิดคู่มือ เพราะไม่ใช่เครื่องมือมาตราฐานที่ฝึกกันมา ส่วนวิศวกรอาวุโสที่ประกบผมก็บอกว่าเขาก็เคยทำมาหนเดียวกับวิศวกรที่เป็นงานอีกคน และ นี่ก็จะเป็นหนที่สองของเขา แต่เป็นหนแรกของเขาที่ทำเอง

เอาว่าบ่ายวันหนึ่งผมกับวิศวกรอาวุโสก็ได้ออกงานกัน ขับปิ๊กอัพปุเลงๆกันเข้าไปในป่าในดง กับรถบรรทุกใหญ่อ้วนๆ (Loggng Truck) พร้อมผู้ช่วยอินเดีย (operators) 4 คน และ เครื่องมือ

3 – 4 ชม. ก็ไปถึงแท่น (สมัยนั้นไม่มีจีพีเอสสนามก็กางแผนที่กันไป ถามคนท้องถิ่นไปไรไป)

แม่เจ้า !!! … เป็นแท่นที่อนาถาที่สุดที่เห็นมาครับ ฐานของแท่น (Substructure) ทำด้วยเหล็กเก่าๆสนิมเขราะ พื้นแท่น (Rig floor) และ ปั้นจั่น (Derrick) ทำด้วยไม้ สูงแต่ 10 เมตรหน่อยๆ สูงพอให้ได้พิงก้านเจาะ ระบบกำลังเป็นเครื่องยนต์ดีเซล ระบบส่งกำลังเป็น เกียร์ โซ่ และ สายพาน

ส่วนปั๊มน้ำโคลนนี่ผมกะๆดูจากขนาดปั๊ม ก็ไม่น่าใหญ่ไปกว่าปั๊มกทม.ที่ตั้งอยู่บนล้อรถ ที่เอาไว้ลากไปปั๊มน้ำลงคลองตอนน้ำท่วมถนนเท่าไร

ผมเดินไปบน rig floor กัน 3 – 4 คน ยังสงสัยว่ามันจะหักพังลงไปไหม หุหุ แน่นอนว่าสมัยนั้นไม่มีกล้องให้เอาไปถ่ายกันบนแท่น แต่ผมก็พยายามกูเกิลหาภาพที่ใกล้เคียงพอได้ราวๆนี้ครับ สังเตุพื้น กับ เสาปั้นจั่นนะครับว่าเป็นไม้ อารมณ์ราวๆนี้อ่ะครับ

Reservoir Saturation Tool

เอาว่างานนั้นปาเข้าไปทั้งคืน หลุมไม่ลึกหรอกครับ แต่ความเร็วในการสาวสายเคเบิ้ลขึ้น (logging speed) มาช้ามาก เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ซับซ้อนสาวเคเบิ้ลขึ้นมาเร็วๆพรวดๆแบบเครื่องมืออื่นในสมัยนั้นไม่ได้

สมัยนั้นความเร็วมาตราฐานในการเคลื่อนที่ของเครื่องมือผ่านชั้นหิน (ก็คือความเร็วที่เราดึงสายเคเบิ้ลขึ้นมานั่นแหละ ที่เรียกว่า logging speed) คือ 1800 ฟุต ต่อ ชม. (กลมๆก็ 550 ม. ต่อชม.) ถ้าเป็นเครื่องมือที่ใช้กัมมันภาพรังสีในการวัดหรือวัดกัมมันภาพรังสี ความเร็วที่ว่าจะใช้ครึ่งนึงของความเร็วมาตราฐาน คือ 900 ฟุต ต่อ ชม. (275 ม. ต่อ ชม)

ด้วยเทคโนโลยีตอนนั้น RST ใช้ความเร็วในการสาวเคเบิ้ล 600 ฟุต ต่อ ชม. (180 ม. ต่อ ชม.) นึกไม่ออกใช่ไหมว่าช้าขนาดไหน เอาว่า มดไต่บนสายเคเบิ้ลสวนทิศทางการเคลื่อนที่ของสายเคเบิ้ลได้ ไม่โดนม้วนไหลไปตามสายเคเบิ้ลลงไปเก็บในที่ม้วนเก็บสายเคเบิ้ล (cable drum) พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ มดยังเดินได้เร็วกว่าการเคลื่อนที่ของเครื่องมือผ่านชั้นหิน !

ผลการหยั่งธรณีหลุมนั้นพบว่า มีน้ำมันเหลืออื้อซ่าเลย เยอะมากด้วย เกือบทั้งช่วงความยาวหลุมที่วัดเลย

ทำให้ผมรู้สึกว่าบ.น้ำมันเล็กๆจนๆที่จะใช้อะไรผู้รับเหมาอย่างเราที ต่อแล้วต่ออีก เรียกใช้แต่เครื่องมือเครื่องวัดที่ตกรุ่นลดราคา ก็อย่าไปดูถูกเขาว่าเล็กว่าจน หรือ ขี้เหนียวไม่เข้าเรื่อง ในบางครั้งบ.เขามีของดีอยู่มาก เพียงแต่เขาไม่รู้ว่ามี เพราะมันอยู่ใต้ดิน เทคโนโลยียังไปไม่ถึง ถ้าเขาใจกว้าง เปิดใจกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ยอมจ่ายแพงอีกนิด อาจจะได้พบขุมทรัพย์ใหม่ๆที่เขาไม่คิดว่าเขามี

ในทางกลับกัน หลายๆปีที่ผ่านมา ผมก็ได้รู้จักกับคนทำงานในบ.น้ำมันใหญ่ๆหลายคนที่ไม่เปิดใจกับเทคโนโลยีหรือวิธีใหม่ๆ โดยมองอย่างอคตินิดๆ(ซึ่งอาจจะจริงในบางกรณี)ว่าบ.service หาอะไรใหม่ๆมาหลอกให้ใช้ โดยไม่จำเป็นอีก หลอกขายเอาตังค์ พอทัศนคติติดลบตั้งแต่เริ่มต้น การพิจารณาว่าจะนำมาใช้ให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับการทำงานก็ถูกบิดเบือนไป

(ถ้าอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ wireline logging คลิ๊กนี่เลยครับ ซีรี่ Great grandfather basic log analysis ของคุณ Sea Monkey )

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------