ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Waste management การกำจัดกากของเสียอันตรายจากการเจาะหลุมฯ

Waste management การกำจัดกากของเสียอันตรายจากการเจาะหลุมฯ – การขุดหลุมปิโตรเลียมก็เป็นงานวิศวกรรมที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมที่ต้องมีการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องมีการประเมินผลกระทบ และ ประชาพิจาารณ์ อย่างที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้น

ในตอนนี้ จะมาพูดถึงเรื่องเฉพาะเจาะจงลงไป นั่นคือ กฏติกาการกำจัดของเสียที่เกิดจากกระบวกการขุดเจาะหลุมปิโตรเลียม

กากของเสียอันตรายหลักๆเลยที่เกิดจากการขุดเจาะ นั่นคือ เศษหิน (cutting) ที่ปนเปื้อนน้ำโคลน เราทำให้พื้นโลกเป็นรู เนื้อหิน ปริมาตรเดียวกับ หลุมโบ๋ๆนั่นแหละครับ คืด กากคือเศษหินที่เราต้องหาทำกำจัดมัน

วิธีที่ยอมรับและถือปฏิบัติอยู่ตอนนี้คือ เอาไปเข้าโรงผลิตซีเมนต์

ในการเปลี่ยนหินปูนเป็นซีเมนต์ที่เราเอามาใช่ก่อสร้างเนี้ย ต้องผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูงมากๆ ซึ่งของเสียจากหลายๆอุตสาหกรรม (ไม่เฉพาะอุตฯเรา) จะถูกส่งมารับจ้างบำบัด คือ เผาทิ้งที่โรงทำซีเมนต์ ไม่ใช่ให้มาเผาฟรีๆนะครับ ต้องจ่ายตังค์ให้โรงงานซีเมนต์ เพราะเขาต้องเสียค่าเชื้อเพลิงเพิ่ม

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

แต่ถ้าหากของเสียปนเปื้อนสารเชื้อเพลิงมาบางส่วน ก็อาจจะได้รับลดหย่อนค่าจ้างเผากำจัด หรือ แม้แต่ได้เงินคืน เพราะเชื้อเพลิงที่ปนเปื้อนมาสามารถให้ความร้อนช่วยในการเผา ทำให้โรงซีเมนต์ประหยัดเชื้อเพลิง ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ เศษหินที่ปนเปื้อนน้ำโคลนที่ทำมาจากน้ำมัน (oil base mud)

ส่วนเปลวไฟที่เกิดจากแท่นผลิตฯเผาปิโตรเลียมส่วนเกินจากการทดสอบ หรือ อะไรก็แล้วแต่ ที่เราเห็นในรูปสวยๆนั้น ไม่เกี่ยวกับแท่นขุดเจาะของเราครับ

ผมก็ทราบๆจากพี่น้องบนแท่นผลิตว่าเขาก็มีมาตราการกำกับดูแลเฉพาะเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าอยากเผาให้สว่างๆยามค่ำคืนเป็น background ถ่ายรูปลงเฟสบุ๊คก็เผากันสวยๆ ก็ไม่อย่างนั้น

Waste management
แท่นผลิตกลาง

ส่วนบนแท่นขุดเจาะของเราก็มีโอกาสที่จพต้องเผาปิโตรเลียมทิ้งเช่นกันในกรณีการทดสอบหลุม

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

การเผาปิโตรเลียมที่แท่นขุดเจาะ ขณะทำการทดสอบหลุม

เอ๊ะ การทดสอบหลุมคืออะไร ทำไปทำไม นี่ครับ ยั่วให้อยากแล้วต้องมีเฉลย 🙂

การทดสอบหลุม ตอนที่ 1 เราทดสอบหลุมไปทำไม Introduction to well testing part 1


การทดสอบหลุม ตอนที่ 2 เราทดสอบหลุมไปทำไม Introduction to well testing part 2


การทดสอบหลุม ตอนที่ 3 เราทดสอบหลุมไปทำไม Introduction to well testing part 3


การทดสอบหลุม ตอนที่ 4 เราทดสอบหลุมไปทำไม Introduction to well testing part 4

เอาล่ะ ไปอ่านเรื่องราวเป็นการเป็นงาน คำตอบจากกรมเชื้อเพลิงฯ เกี่ยวกับเรื่องนี้กันครับ

Waste management

การกำจัดกากของเสียอันตรายจากการเจาะหลุมฯ

22. การกำจัดกากของเสียอันตรายจากการเจาะหลุมสำรวจปิโตรเลียม

ตัวอย่างเช่น เศษหินเศษดิน และ กากน้ำโคลนฯ รัฐจะมีวิธีการกำจัดอย่างไร ที่จะสร้างความเชื่อมั่นของชุมชนรอบพื้นที่เจาะหลุมว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

1. กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีแนวนโยบายและการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดในการป้องกันปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการ ดังนี้

1) นโยบายของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

1.1) โครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมใดๆ ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบแล้วจึงจะดำเนินการได้

1.2) โครงการผลิตปิโตรเลียมที่อยู่ในเขต 12 ไมล์ทะเล (1 ไมล์ทะเล = 1.85 กิโลเมตร) นับจากชายฝั่ง จะต้องไม่ปล่อยเศษหินจากการเจาะ และน้ำจากกระบวนการผลิตลงทะเลโดยตรง

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

1.3) ให้โครงการผลิตปิโตรเลียมในทะเลทั้งหมดอัดกลับน้ำจากกระบวนการผลิตลงชั้นกักเก็บ

1.4) ส่งเสริมการลดปริมาณก๊าซเผาทิ้งจากโครงการผลิตปิโตรเลียม โดยนำมาใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการ ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตการเกษตรเพื่อทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม และใช้ผลิตก๊าซ LNG

1.5) ให้มีการติดตามเฝ้าระวังผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิตและบริษัทผู้รับสัมปทานต้องส่งรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งที่ผ่านมาผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

1.6) กิจกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ต้องดำเนินการโดยมีมาตรการและแผนงานในทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยสูงสุดตามกฎหมายปิโตรเลียม และ
มาตรฐานสากล ในการเจาะหลุมปิโตรเลียม

กฎกระทรวงกำหนดให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการพลุ่งของปิโตรเลียม หรือ BOP (Blowout Preventer) ซึ่งมีวาล์วนิรภัยถึง 3 ชั้น และ ในหลุมผลิตจะต้องติดตั้งวาล์วนิรภัยภายในทุกหลุม เพื่อป้องกันและควบคุมความดันและปิดหลุมโดยอัตโนมัติหากมีเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของบริษัทผู้ดำเนินงานอยู่ประจำ และ มีการตรวจสอบและกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

1.7) บริษัทผู้ดำเนินงานจะต้องมีแผนรองรับเพื่อแก้ไข และเผชิญเหตุต่างๆ และ มีการทบทวนซักซ้อมแผนอย่างสม่ำเสมอทุกปี โดยมีเครื่องมืออุปกรณ์เผชิญเหตุรั่วไหลของน้ำมันในทะเลไว้ที่แท่นเจาะ หรือแท่นผลิต

2) การกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม

2.1) กำกับดูแลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ให้เป็นไปตามมาตรการที่ระบุไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมที่ได้รับการเห็นชอบและมาตรฐานสากล ได้แก่

  • 2.1.1) การจัดการเศษหินจากการเจาะหลุมสำรวจและผลิต
  • 2.1.2) การจัดการน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต
  • 2.1.3) การจัดการของเสียอันตราย
  • 2.1.4) การรับมือต่อภาวะฉุกเฉิน
  • 2.1.5) รายงานผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

2.2) บริษัทผู้รับสัมปทานต้องส่งรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งที่ผ่านมาผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

2.3) โครงการตรวจเฝ้าระวังปริมาณสารปรอทในอ่าวไทย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนปัจจุบัน โดยว่าจ้างภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาปริมาณปรอทในเนื้อเยื่อปลาหน้าดินบริเวณแท่นผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ผลการศึกษาพบว่ามีค่าเฉลี่ยไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด คือ ไม่เกิน 0.5 ไมโครกรัมต่อกรัม

2.4) ร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จัดทำข้อกำหนดเรื่อง “การทดสอบความเป็นพิษโดยรวมของน้ำที่ได้จากการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย” เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลกระทบเฉียบพลันต่อสัตว์น้ำในอ่าวไทยที่เกิดจากน้ำจากกระบวนการผลิตปิโตรเลียม

2.5) จัดทำฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการปิโตรเลียม เพื่อใช้ในการติดตามตรวจสอบและประเมินสภาพสิ่งแวดล้อมและใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษา และ เผยแพร่แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส

(ความเห็นส่วนตัวผมนะครับ ธุรกิจของพวกเราเรียกว่าเป็นธุรกิจผู้ต้องหาของสังคมก็ว่าได้ สมัยหนึ่งที่สื่อต่างๆยังไม่แพร่หลายอย่างทุกวันนี้ ความเป็นสีเทาๆก็มีอยู่เป็นหย่อมๆในอุตสากรรมของเรา แต่วันนี้นะเหรอครับ บนแท่นฯยังมีเน็ทมีเฟสบุ๊ค จะเหลือเหรอครับ ถ้าทำอะไรไม่ดี ไม่ถูกต้อง แอบถ่ายใต้เตียงดาราที่มีข่าวกันโครมๆรายวันยังยากกว่ามาตรวจสอบการทำงานของพวกเราเลยครับ … 🙂 )

ที่มา http://www.dmf.go.th/

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------