ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ทำไมเราต้องสำรวจ และ ผลิตเอง ? นำเข้าทั้งหมดเหมือนแต่ก่อนไม่ได้เหรอ !

ทำไมเราต้องสำรวจ และ ผลิตเอง ? นำเข้าทั้งหมดเหมือนแต่ก่อนไม่ได้เหรอ !

8. ทำไมประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งรัดการสำรวจปิโตรเลียมในประเทศ

ทำไมเราต้องสำรวจ

เรานำเข้าปิโตรเลียมจากต่างประเทศเหมือนเดิมไม่ได้หรือ

ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งรัดการสำรวจปิโตรเลียม เนื่องจากในแต่ละปี ประเทศมีการใช้พลังงานเป็นจำนวนมากในการขนส่ง อุตสาหกรรม บริการ และในครัวเรือน และส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ และปัจจุบันราคาน้ำมันในตลาดโลกก็มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ต้องเร่งรัดการสำรวจหาปิโตรเลียมภายในประเทศ ในปีพ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นเท่ากับ 1.85 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน และคิดเป็นมูลค่า 1.9 ล้านล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 17 ชองรายได้ประชาชาติ (GDP) ในจำนวนนี้ต้องมีการนำเข้าพลังงานถึง 1.0 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน คิดเป็นมูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท หรือต้องนำเข้าพลังงานคิดเป็นประมาณร้อยละ 46 ของปริมาณการใช้เชิงพาณิชย์ขั้นต้นทั้งหมด

ทำไมเราต้องสำรวจ

ทั้งนี้ ไทยผลิตปิโตรเลียมได้ราว 44% ของความต้องการใช้พลังงานขั้นต้นในเชิงพาณิชย์ของทั้งประเทศ แบ่งเป็นก๊าซธรรมชาติ 3,599 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นำเข้าจากพม่า 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลว 92,136 บาร์เรลต่อวัน น้ำมันดิบ 150,315 บาร์เรลต่อวันที่เหลือต้องนำเข้าน้ำมันอีกประมาณ 800,000 บาร์เรลต่อวัน

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

โดยในปริมาณสำรองของประเทศที่เหลืออยู่ประมาณ 6,197 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ประกอบด้วย ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว คาดว่าจะพบ 2,185 2,542 1,470 ล้านล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ตามลำดับหากสำรวจแล้วไม่พบปิโตรเลียมเพิ่ม ปีพ.ศ. 2565 ปริมาณการผลิตภายในประเทศจะลดเหลือเพียง 18% ของปริมาณการใช้พลังงานในเชิงพาณิชย์ชั้นต้นในปริมาณ 2.6 ล้านล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะพยายามรักษาระดับการผลิตก๊าซธรรมชาติไว้ให้นานที่สุดที่ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นับจากปีพ.ศ. 2555 นี้ อาจไม่เกิน 5 ปีจากนั้นปริมาณการผลิตปิโตรเลียมจะค่อยๆ ลดลงจาก 861,787 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันในปัจจุบัน จนเหลือ 468,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของความต้องการใช้พลังงานในเชิงพาณิชย์เท่านั้น

จากเหตุผลด้านความต้องการใช้ปิโตรเลียมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่การจัดหาปิโตรเลียมรอบใหม่ภายในประเทศมีไม่เพียงพอและมีแนวโน้มจะลดลง ดังนั้นจึงจำเป็นที่ประเทศต้องเร่งรัดให้มีการสำรวจปิโตรเลียมรอบใหม่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากแปลงสำรวจและดำเนินการผลิตปิโตรเลียมที่มีอยู่ โดยการเปิดสัมปทานรอบใหม่เพื่อให้บริษัทน้ำมันเข้ามาลงทุนสำรวจทำให้มีโอกาสในการค้นพบปิโตรเลียมมีมากขึ้น

ดังนั้น ความเข้าใจที่ว่าประเทศไทยร่ำรวยทรัพยากรปิโตรเลียม จึงเป็นความเข้าใจที่ผิดและนับเป็นอันตราย เพราะนอกจากจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนแล้ว อาจทำให้ไม่รู้คุณค่าของพลังงานและใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย ขาดประสิทธิภาพได้ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาลในแต่ละปี เพื่อนำเข้าพลังงานมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ปิโตรเลียมเป็นทรัพยากรใต้ดิน การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมในอดีตอาจทำง่ายๆ เพียงสำรวจหาร่องรอยของน้ำมันบนผิวดิน ต่อมาเมื่อปริมาณการใช้ปิโตรเลียมเพิ่มมากขึ้น แหล่งที่สำรวจหาได้โดยง่ายมีน้อยลง จึงจำเป็นต้องสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมที่อยู่ลึกหรือห่างไกลออกไปจากแหล่ง ที่มีอยู่เดิมบนบก และขณะเดียวกันก็ได้มีการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมจากทะเลน้ำตื้นไปสู่ทะเลลึก พร้อมๆ กับเทคนิคการสำรวจก็ได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ และมีความซับซ้อนมากขึ้น

ในปีพ.ศ. 2555 มีผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม รวม 61 สัมปทาน จำนวน 76 แปลงสำรวจเป็นแปลงสำรวจบนบก 38 แปลง ในทะเลอ่าวไทย 35 แปลง และทะเลอันดามัน 3 แปลง และยังมีแปลงสำรวจในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย 2 สัญญา จำนวน 3 แปลงสำรวจเราสามารถทราบว่าบริเวณใดใต้ผิวโลกมีแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมสะสมตัวอยู่

โดยใช้วิธีการสำรวจปิโตรเลียม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

1) การสำรวจทางธรณีวิทยา

2) การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ และ

3) การเจาะสำรวจ

ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจทางธรณีวิทยา (Geological Survey)

เป็นการสำรวจเบื้องต้นด้านธรณีวิทยาปิโตรเลียม เพื่อหาลักษณะรูปแบบการวางตัวของชั้นหิน และชนิดของหินในบริเวณที่สำรวจ โดยอาศัยข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่และรายงานทางธรณีวิทยา เพื่อนำมาวิเคราะห์หาองค์ประกอบการกำเนิดเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม ได้แก่ หินที่มีสารอินทรีย์ต้นกำเนิดปิโตรเลียม หินที่มีคุณสมบัติในการกักเก็บปิโตรเลียม และโครงสร้างของชั้นหินที่มีแนวโน้มว่าจะพบโตรเลียม

ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ (Geophysics Survey)

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

เป็นการสำรวจหาข้อมูลรูปแบบการวางตัวของชั้นหินใต้ผิวโลก โดยอาศัยสมบัติทางกายภาพที่แตกต่างกันของชั้นหินการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์มีหลายวิธีและแต่ละวิธีมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันออกไป เช่น การวัดคลื่นไหวสะเทือน (Seismic Survey) และการวัดค่าแรงดึงดูดของโลก (Gravity Survey) เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ทำให้เราทราบขอบเขตของแอ่งสะสมตะกอนทางธรณีวิทยา และลักษณะรูปแบบการวางตัวของชั้นหินใต้ผิวโลก และถ้ามีแนวโน้มที่จะพบปิโตรเลียม บริษัทผู้ได้รับสัมปทานจะทำการเจาะสำรวจหาปิโตรเลียมต่อไป

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

ขั้นตอนที่ 3 การเจาะสำรวจ (Drilling)

เมื่อมีการสำรวจทางธรณีวิทยาและทางธรณีฟิสิกส์ด้วยการวัดคลื่นไหวสะเทือนแล้ว บริษัทผู้รับสัมปทานจะได้ข้อมูลโครงสร้างชั้นหินใต้ผิวดินและจะนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณากำหนดตำแหน่งหลุมเจาะสำรวจ (Exploration Well) การเจาะสำรวจนี้ในเบื้องต้นจะเป็นการเจาะเพื่อพิสูจน์ว่ามีปิโตรเลียมภายในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม หรือไม่

นอกจากนั้นยังได้ตัวอย่างหินและตัวอย่างของไหลที่อยู่ในชั้นหินมาตรวจวิเคราะห์เพื่อหาข้อมูลอื่นๆ เช่น ชนิดและอายุของหิน โครงสร้างและการลำดับของชั้นหิน เป็นต้น และ หากพบปิโตรเลียมภายในแหล่งกักเก็บ ก็จะเก็บข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคุณภาพของปิโตรเลียมและดำเนินการเจาะสำรวจเพิ่มเติมเพื่อหาขอบเขตที่แน่นอนของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม และวัดปริมาณการไหลของปิโตรเลียม

ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จะทำให้ทราบปริมาณสำรองของโตรเลียมภายในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมนั้นๆ เพื่อดำเนินการประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมดังกล่าวและตัดสินใจว่าจะดำเนินการพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมต่อไปหรือไม่

เมื่อเจาะสำรวจพบปิโตรเลียมในหลุมแรกแล้ว จะมีการเจาะสำรวจเพิ่มเติม เพื่อหาข้อมูลขอบเขตของแหล่ง ปริมาณการไหลของปิโตรเลียม ขั้นตอนนี้เรียกว่า การเจาะขั้นประเมินผลเพื่อให้ทราบปริมาณสำรองปิโตรเลียมของแหล่งกักเก็บนั้น บริษัทผู้ประกอบการจะประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจของแหล่ง เพื่อตัดสินใจว่าจะลงทุนพัฒนาแหล่งเพื่อการผลิตหรือไม่ ในขั้นตอนการผลิตจะต้องเจาะหลุมเพื่อการผลิต หรือหลุมพัฒนา (Development Well) ต่อไป

สำหรับทิศทางของหลุมเจาะมีทั้งเป็นแบบหลุมตรง (Straight Well) ซึ่งมักเป็นหลุมเจาะสำรวจขั้นแรก หลุมเอียง (Deviation Well) หรือหลุมเจาะในแนวราบ (Horizontal Well) มักเป็นการเจาะขั้นประเมินผล และการเจาะหลุมผลิตทั้งบนบก (Onshore) และในทะเล (Offshore) ทั้งนี้ขึ้นกับข้อกำหนดทางธรณีวิทยา และวิศวกรรมการเจาะ

เมื่อเจาะถึงความลึกสุดท้ายตามแผน งานขั้นต่อไปคือ การประเมินคุณค่าทางกายภาพของชั้นหินด้วยวิธีการหยั่งธรณีหลุมเจาะ (Well Logging) เพื่อให้รู้ว่ามีปิโตรเลียมสะสมอยู่หรือไม่ ที่ความลึกเท่าไร ปิโตรเลียมที่พบเป็นน้ำมันหรือก๊าซ และบางครั้งก็จะทำการเก็บตัวอย่างของไหลจากชั้นหินในหลุมเจาะ เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีและหาค่าความร้อน (Heating Value) ของปิโตรเลียม

ข้อมูลที่ได้จากการหยั่งธรณีหลุมเจาะ บางครั้งอาจไม่เพียงพอสำหรับการวางแผน ตัดสินใจพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม จึงต้องทำการทดสอบอัตราการไหล (Drill Stem Test; DST) เพื่อให้ได้ข้อมูลทางด้านวิศวกรรม เช่น ความกดดัน อัตราการไหล ความสามารถในการผลิตของแหล่ง และ การประเมินขนาดของแหล่ง

เมื่อการปฏิบัติงานเจาะหลุมดำเนินมาถึงช่วงนี้ นับว่าเกือบสิ้นสุดแล้ว งานในขั้นสุดท้ายของการเจาะหลุม หากไม่พบปิโตรเลียม หรือเป็นหลุมแห้ง ก็จะต้องทำการลงซีเมนต์อุดหลุมและปรับสภาพพื้นที่ให้ใกล้เคียงสภาพเดิมมากที่สุด

กรณีผลสำรวจพบว่าแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมมีปริมาณมากเพียงพอที่จะให้ผลตอบแทนการลงทุนประมาณร้อยละ 10-14 เช่นเดียวกับการลงทุนในสาขาการผลิตอื่นๆ ซึ่งคุ้มค่ากับการลงทุนแล้ว ผู้รับสัมปทาน จะวางแผนผลิตปิโตรเลียม โดยออกแบบการวางหลุมผลิตปิโตรเลียมให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและออกแบบอุปกรณ์การผลิตเพื่อให้การผลิตปิโตรเลียมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยต้องบริหารจัดการให้มีผลกระทบต่อสังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนน้อยที่สุด

ในการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพปิโตรเลียม นักสำรวจจะพิจารณาจากข้อมูลการสำรวจธรณีฟิสิกส์วิธีวัดค่าแรงโน้มถ่วงโลก หรือวิธีวัดค่าความเข้มสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งจะบ่งบอกให้ทราบขอบเขตแอ่งสะสมตะกอนทางธรณีวิทยา โดยจะพิจารณาแอ่งตะกอนที่มีความลึกมากกว่า1,000 เมตรลงไป ซึ่งจะมีค่าอุณหภูมิและความกดดันที่เหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของชั้นหิน ที่คาดว่าจะมีองค์ประกอบของการก่อกำเนิดเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่เหมาะสม ได้แก่ หินต้นกำเนิดปิโตรเลียม หินกักเก็บ หินปิดกั้นและโครงสร้างกักเก็บปิโตรเลียม ซึ่งจะต้องดำเนินการสำรวจหาปิโตรเลียมตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น คือ สำรวจธรณีวิทยา สำรวจ
ธรณีฟิสิกส์วิธีวัดคลื่นไหวสะเทือน และเจาะสำรวจ

ทำไมเราต้องสำรวจ

ศักยภาพปิโตรเลียมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะจูงใจให้เกิดการลงทุนสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น จากผลการสำรวจปิโตรเลียมของประเทศไทยที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แหล่งปิโตรเลียมที่พบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแหล่งปิโตรเลียมที่พบในแอ่งสะสมตะกอนอายุน้อยกว่า 65 ล้านปี (Tertiary Basin) ได้แก่ บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน และกลุ่มแหล่งปิโตรเลียมที่พบในแอ่งสะสมตะกอนมีอายุมากกว่า 65 ล้านปี (Pre-Tertiary Basin) คือ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ทะเลอันดามัน อยู่ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย มีชายฝั่งที่ลาดชันกว่าด้านอ่าวไทยมากพื้นทะเลค่อยลาดชันไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ตรงบริเวณต่อแดนกับน่านน้ำอินโดนีเซีย ทะเลอันดามันในเขตไทย มีน้ำลึกกว่า 1,000 เมตร จึงกำหนดแปลงสำรวจเป็นเขตน้ำตื้นมีน้ำลึกไม่เกิน 200เมตร และเขตน้ำลึกเกิน 200 เมตร นับถึงปัจจุบัน (กรกฎาคม 2555) มีผู้ได้รับสัมปทานหลายครั้งและมีการเจาะสำรวจแล้ว 19 หลุม พบปิโตรเลียม 8 หลุม แต่ไม่มีสมรรถนะเชิงพาณิชย์

ที่มา http://www.dmf.go.th//file/QA_EPThai.pdf

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------