ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Thai Shale Gas ก๊าซจากชั้นหินดินดานในประเทศไทย & Hydraulic Fracturing

Thai Shale Gas ก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดานในประเทศไทย และ Hydraulic Fracturing … ตอนนี้พวกเราทุกคนก็คงได้ยินเรื่อง ก๊าซธรรมชาติ หรือ น้ำมัน จากชั้นหินดินดาน ที่เรียกว่า Shale oil shale gas ติดหูติดตากันมาบ้างจากสื่อต่างๆมากมาย วันนี้จะขอนำเสนอผลงานการศึกษาของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (DMF) เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งทำไว้ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2555 แต่ก็ถือว่าข้อมูลและข้อสรุปต่างๆยังใช้ได้อยู่ จึงขอนำมาให้พวกเราได้อ่านได้เข้าใจกัน

ที่มา : รายงานดูงาน Shale Gas – ฉบับสมบรูณ์

Shale gas เป็น แหล่ง unconventional ประเภทหนึ่ง ใครยังไม่เข้าใจหรือพลาดบทความเก่าไป ก็ตามลิงค์ไปได้นะครับ

Conventional reservoir vs. Shale Oil reservoir ต่างกันอย่างไร แบบรวบรัดๆ

https://nongferndaddy.com/conventional-reservoir/

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ผมคัดมานำเสนอเฉพาะที่เกี่ยวเนื่อง มีศัพท์แสงทางธรณีวิทยาเยอะพอสมควร ตรงไหนไม่เข้าใจก็อ่านข้ามๆไปก็ได้ครับ และ ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมจริงๆก็หลังไมค์มาครับ ยินดีที่จะไขความกระจ่างให้

Thai Shale Gas

ก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดานในประเทศไทย และ Hydraulic Fracturing

แหล่งปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน (Shale Gas)

การพัฒนาก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งมีการค้นพบ แต่เป็นแหล่งก๊าซเชื้อเพลิงที่ได้มีการพัฒนาใช้มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 ปี ในยุคก่อนก๊าซธรรมชาติจะเฟื่องฟู และ จะกลับมาเป็นแหล่งเชื้อเพลิงทดแทนได้อีกครั้งหนึ่งเมื่อแหล่งก๊าซธรรมชาติซึ่งนับวันมีแต่จะลดปริมาณลง

ดังนั้นรัฐบาลจะต้องมีภาระหน้าที่ในการกระตุ้นให้มีการสำรวจหาแหล่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติม โดยการเปลี่ยนปริมาณสำรองแบบที่ยังมิได้มีการพิสูจน์และอาจจะนำขึ้นมาพัฒนาใช้ได้ (Unproved Reserves) ให้เป็นแหล่งที่พิสูจน์แล้ว (Proved Reserves) ให้ได้มากที่สุด

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ปริมาณสำรองที่ยังไม่ได้พิสูจน์ยังแบ่งออกได้เป็นอีกสองประเภท คือ ปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่น่าจะพบ (Probable Reserves) และปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่อาจจะพบ (Possible Reserves) อย่างไรก็ตามการสำรวจหาแหล่งกักเก็บก๊าซธรรมชาติแบบปกติในปัจจุบัน (Conventional Reservoirs) นั้น นับวันมีแต่จะหายากขึ้น

ดังนั้น แหล่งก๊าซธรรมชาติในแบบที่มีความยากในการสำรวจและผลิตโดยเทคโนโลยีในปัจจุบัน(Unconventional Reservoirs) จึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยควรที่จะเริ่มมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งสำรองของประเทศต่อไปได้ในอนาคต

แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมแบบไม่ปกติ (Unconventional Reservoirs) นั้นโดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงแหล่งกักเก็บที่ไม่สามารถผลิตได้อันเนื่องมาจากอัตราการไหลที่ไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์หรือผลิตได้ในปริมาณที่น้อยและไม่คุ้มค่าเชิงพาณิชย์โดยปราศจากการกระตุ้นหรือใช้เทคโนโลยีพิเศษ เช่น การใช้น้ำร้อนอัด(Steam Injection) เป็นต้น

แหล่งกักเก็บแบบไม่ปกตินั้นโดยทั่วไปจะหมายถึงแหล่งเหล่านี้ คือ Tight gas sands, Coal bed methane, Gas hydrate deposits, Heavy oil, Tar sands, Gas shales, แหล่งกักเก็บที่มีความดันและอุณหภูมิสูงกว่าปกติ (Reservoirs with high pressure and high temperature)

การศึกษาโครงการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน (Shale Gas) ในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรปิโตรเลียมเกิดอยู่ค่อนข้างจำกัดและมีขนาดของแหล่งตั้งแต่เล็ก ถึงปานกลาง อีกทั้งมีปริมาณสำรองไม่มากนักเมื่อเทียบประเทศในภูมิภาคเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการแบ่งเบา ภาระการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศและเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติควรมีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ขาดแคลนพลังงาน โดยศึกษาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน (Shale gas) ในประเทศไทยขึ้นมาใช้

ในเบื้องต้นพื้นที่ที่น่าสนใจมีอยู่ 2 แอ่ง (รูปที่ 6-1) ได้แก่ แอ่งสกลนคร จังหวัดสกลนคร และแอ่งพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โดยแอ่งสกลนครเป็นหินดินดานอายุไทรแอสสิค ในเขตบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนแอ่งพิษณุโลกเป็นหินดินดานอายุเทอร์เชียรี ในเขตภาคกลาง

thai shale gas

ผลจากการศึกษาข้อมูลวัดคลื่นไหวสะเทือนและหลุมเจาะ หลุมภูพระ-1 และหลุมสกล-1 ในแอ่งสกลนคร (รูปที่ 6-2) พบชั้นหินดินดานความหนามากกว่า 1,500 เมตร

thai shale gas

มีความหนาต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,700 ตารางกิโลเมตร (รูปที่ 6-3)

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

ชั้นหินดินดานมีปริมาณสารอินทรีย์อยู่ในช่วงร้อยละ 0.2–5.76 มีคีโรเจนแบบ Type I และ Type III มีค่า Vitrinite Reflectance (Ro) ร้อยละ 0.9–2.52 และมีค่าความสมบูรณ์ทางความร้อน (Thermal Maturity) เป็นหินต้นกำเนิดอยู่ในเกณฑ์ที่ให้ก๊าซธรรมชาติ

สำหรับแอ่งพิษณุโลก (รูปที่ 6-4) ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า หินดินดานในแอ่งพิษณุโลก อยู่ในหมวด หินชุมแสง (Chum Saeng Formation)

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

มีความหนาตั้งแต่ 50 เมตร ถึง 400 เมตร (รูปที่ 6-5) โดยมีความหนามาก ไปทางทิศตะวันตกและชั้นบางไปทางทิศตะวันออก

thai shale gas

ซึ่งหินชุดชุมแสงเป็นหินต้นกำเนิดปิโตรเลียมของแหล่งผลิต สิริกิตติ์ใน มีอายุเทอร์เชียรี ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร พิษณุโลก และ สุโขทัย

พื้นที่ทั้ง 2 พื้นที่กำลังอยู่ใน ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนานำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ประโยชน์ในอนาคต (รูปที่ 6-6)

thai shale gas

ความเห็นและข้อเสนอแนะ
ข้อดี

1) ในเบื้องต้นจากข้อมูลจากสภาพธรณีวิทยาที่เอื้ออำนวย Shale Gas จะเป็นพลังงานทางเลือก มิติใหม่ของประเทศไทยที่น่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงในการที่จะค้นพบแหล่งปริมาณสำรองขนาดใหญ่ใช้ได้อีกหลายสิบปี และสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้ในปริมาณมากโดยมีต้นทุนในการลงทุนต่ำกว่าการพัฒนาพลังงานฟอสซิลที่กำลังจะหมดไปในอนาคต และพลังงานทางเลือกอื่นๆ

2) ประเทศไทยมีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมากว่า 40 ปี แล้ว โดยบริษัทผู้รับสัมปทานฯและเจ้าหน้าที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะสามารถใช้ประสบการณ์ที่จะดำเนินการในเรื่องนี้มาพัฒนาปรับใช้กับการสำรวจและผลิต Shale Gas ได้โดยไม่ยาก ประกอบกับขณะนี้มีข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในระดับที่มากพอในการเริ่มต้นศึกษาความเป็นได้ของโครงการ

3) การพัฒนา Shale Gas ในประเทศไทยสามารถนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียมฯและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้บังคับได้ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในทำนองเดียวกับระบบของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้กฎหมาย Oil and Gas มาปรับใช้กับ Shale Gas

ข้อเสีย

1) ปัญหาการยอมรับของสังคมไทย แม้ว่าในอนาคตข้างหน้าประเทศไทยอาจจะมีความเป็นได้สูงที่จะพบแหล่งปริมาณสำรอง Shale Gas ในเชิงพาณิชย์ที่มีต้นทุนในการลงทุนต่ำ แต่เมื่อพิจารณาต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของการสำรวจและผลิต Shale Gas โดยใช้เทคโนโลยี Hydraulic Fracturing ตามที่สหรัฐอเมริกาและหลายๆ ประเทศกำลังตื่นตัวเร่งพัฒนาอยู่นี้ อาจจะถูกต่อต้านอย่างมากจากสังคมไทยประชาชนในท้องถิ่น กลุ่มอนุรักษ์ และนักวิชาการสิ่งแวดล้อมในประเทศได้เช่นกัน ตามกระแสของกลุ่มอนุรักษ์และกลุ่มนักวิชาการสิ่งแวดล้อมในหลายๆ ประเทศ

2) ปัญหาอุปสรรคจากข้อกฎหมาย เชื่อได้ว่าในอนาคตหากจะมีการพัฒนาโครงการShale Gas ในประเทศไทยก็คงจะต้องถูกกำหนดให้เป็นโครงการที่ต้องทำรายงาน EIA และอาจจะถูกกำหนดให้ทำการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ HIA ด้วย และ ต้องได้รับความเห็นชอบตามที่กฎหมายกำหนด และ อาจจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเภทโครงการที่อาจจะมีผลกระทบรุนแรงตามนัยของมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 อีกด้วย ซึ่งจะประสบปัญหาอุปสรรคอย่างมากต่อการให้ความเห็นชอบต่อรายงานฯโดยเฉพาะองค์การอิสระ และ คชก.

3) การไม่ยอมรับของสังคมไทยต่อระบบการดำเนินการสำรวจและผลิต Shale Gasของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการให้สิทธิเอกชนเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของทรัพยากรที่อยู่ใต้พื้นดินของตนและมีสิทธิที่จะทำการสำรวจและผลิตได้เองหรือให้บริษัทน้ำมันเช่าพื้นที่ดำเนินการแทนโดยไม่ต้องทำรายงาน EIA และระบบการจ่ายค่าภาคหลวงให้กับเอกชนเจ้าของที่ดินนั้นไม่น่าจะได้รับการยอมรับให้นำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้ในทุกกรณี

ข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาดูงานเห็นว่างานที่จะต้องมีการดำเนินงานต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสำรวจและผลิต Shale Gas ในประเทศไทย ควรดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1) เร่งให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในการศึกษาความเป็นไปได้และนำสู่การสำรวจและผลิต Shale Gas ในประเทศไทย เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ของประเทศ

2) ควรเตรียมความพร้อมในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความพร้อมของบุคคลากรทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ และ ประสบการณ์จากการส่งไปศึกษาดูงานในประเทศที่มีการพัฒนา Shale Gas รายใหญ่ๆ อาทิ สาธารณรัฐประชาชนจีน รัสเซีย โปแลนด์ ฯลฯ

3) ควรเตรียมการในเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ สผ. จังหวัด/พื้นที่เป้าหมาย ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย และสาธารณะชนทั่วไป

Recta sapere

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------