ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

เชลออยล์ หอกข้างแคร่ โอเปก กุมขมับแก้ไม่ตก – ข่าว

เชลออยล์ หอกข้างแคร่ โอเปก กุมขมับแก้ไม่ตก … ข่าวนี้ไม่มีอะไรใหม่ครับ สรุปให้ฟังสั้นๆ และ จะขยายความบางประเด็นให้ชัดขึ้นจากในข่าวนิดหน่อยนะครับ

อย่างแรกเลย อยากจะให้เข้าใจหลักการเศรษฐศาสตร์ข้อหนึ่งว่าด้วยการแข่งขัน พูดง่ายๆลงไปอีก คือว่า ของอะไรถูกกว่า ผู้บริโภคก็หันไปซื้อของนั้นนั่นแหละ 555

เหมือนเราไปช๊อปปิ้งน่ะ จะซื้อหมูสักกิโลฯนึง ตลาดไหน เขียงไหน ซุปเปอร์ฯไหน ขายถูก (นับรวมค่าโสหุ้ยทั้งหมดแล้ว) เราก็จะซื้อที่นั่น …

เชลออยล์ หอกข้างแคร่

น้ำมันก็ไม่ต่างกันครับ … ที่ไหนถูกกว่า คนก็เฮกันไปซื้อที่นั่น

ใครมีต้นทุนถูกกว่า ก็สามารถตั้งราคาได้ต่ำกว่า ใครต้นทุนสูงกว่า ก็ไม่สามารถสู้ราคาคนต้นทุนต่ำกว่าได้ … มันโหดร้าย แต่มันก็เป็นกฏทางธุรกิจที่เราๆท่านๆรู้กันดี

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

หลักการเศรษฐศาสตร์อีกข้อหนึ่งคือ สินค้าอะไรก็ตามที่มีปริมาณความต้องการขายมากกว่าปริมาณความต้องการซื้อ ราคาสินค้านั้นจะลดลง พูดง่ายๆก็แย่งกันขายว่างั้นเถอะ

ในทางกลับกัน สินค้าอะไรก็ตามที่มีปริมาณความต้องการขายน้อยกว่าปริมาณความต้องการซื้อ ราคาสินค้านั้นจะสูงขึ้น พูดง่ายๆก็แย่งกันซื้อนั่นแหละ (เหมือนน้ำดื่มขึ้นราคาตอนน้ำท่วม หรือ ตามสถานที่ท่องเที่ยวช่วงเทศกาลนั่นแหละ)

เอาล่ะ ตอนนี้เรามาดูความจริง 2 อย่างของขาใหญ่ในอุตสาหกรรมเรา

ความจริงข้อที่ 1 คือ กลุ่มโอเปก มีต้นทุนการผลิต(ต่อบาเรล) ต่ำกว่า Shale Oil อเมริกา ความจริงข้อนี้ รู้กันทั่วไป รู้เขารู้เราชัดเจน รู้กันว่าต้นทุนใครเท่าไร ราคาขายในตลาดเท่าไร Shale Oil อเมริกา ถึงจะกล้าเอามาขาย (เพราะไม่ขาดทุน)

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ความจริงข้อที่ 2 ไม่มีใครรู้ว่าจริงๆแล้วปริมาณสำรองของกลุ่มโอเปกกับ shale oil ของอเมริกา ของใครมีเท่าไร อาจจะมีรายงานปริมาณสำรองตามสำนักต่างๆ แต่ก็ขึ้นกับว่ารายงานนั้น ใครจ้างให้ทำ 555

คราวนี้ก็เรื่องง่ายๆ ถ้าผมเป็นโอเปค ผมก็จะลดปริมาณการผลิตลงให้ต่ำกว่าปริมาณที่ทั้งโลกต้องการใช้เพื่อให้ราคาในตลาดมันสูงขึ้น เพราะผมต้องการเงินจากการขายน้ำมันเข้าประเทศเพิ่มขึ้น

แต่พอราคาในตลาดมันสูงขึ้นถึงระดับหนึ่งที่ shale oil ของอเมริกาผลิตออกมาขายแล้วไม่ขาดทุน shale oil ของอเมริกา ก็ผลิตออกมาขายบ้าง ราคาในตลาดก็จะไม่เพิ่มขึ้น แถมยังลดลงอีก ผมก็ต้องกัดฟันขายราคาต่ำ(กว่าที่ต้องการ)

ถ้าผมจะเอาคืน ผมก็ต้องกัดฟันผลิตออกมาเยอะๆให้ราคาในตลาดลดลงจนต่ำกว่าจุดคุ้มทุนของ shale oil ของอเมริกา เพื่อให้ shale oil ของอเมริกา หยุดผลิต แต่ผมก็จะได้รายได้ต่ำ (เพราะกัดฟันขายของถูก)

หรือหวังว่า พอราคาต่ำ  ผู้ประกอบการ shale oil ของอเมริกา จะหมดสายป่านหมดทุน จนบ.เจ๊ง แต่ข้อนี้เป็นไปได้ยาก เพราะระบบการเงิน กฏหมาย และ นโยบาลรัฐบาลของเขา เอื้อให้บ. shale oil SME ใหญ่ กลาง เล็ก ฟื้นเร็ว หมายถึง อาจจะเจ๊งไปไรไปในระยะสั้นๆ หรือ พักหนี้ให้ แต่พอราคาขึ้น ก็เอื้อให้มีทุนมาอัดฉีด ผลิตกลับคืนได้ในเร็ววัน

แล้วผมจะกัดฟันขายถูกไปได้นานสักแค่ไหน จนหมดปริมาณสำรองของผมที่มีอยู่เหรอ ?

หรือกลับกัน ผมจะลดการผลิตให้ราคาสูง ให้ shale oil ของอเมริกา โหมผลิตเข้ามาขายจน ปริมาณสำรอง shale oil ของอเมริกา เกลี้ยงนะเหรอ แล้วปริมาณสำรอง shale oil ของอเมริกา มีเท่าไรล่ะ ก็ไม่มีใครรู้แน่ๆอีก … เฮ้อ  (ยาวๆ) …

มันก็เป็นปัญหางูกินหางกันไปแบบนี้แหละ 555

คราวนี้ถ้าผมสวมหมวก shale oil ของอเมริกา บ้างล่ะ ผมก็จะทำตัวเป็นพระเจ้าแปร คือ แปรผันไปเรื่อย ทำสงครามกองโจร ราคาในตลาดสูงคุ้มทุนเมื่อไรผมก็ผลิตขาย ราคาต่ำก็เลิกผลิตไปทำอย่างอื่น ในขณะเดียวกันก็พัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อลดต้นทุนให้ถูกลงๆเรื่อยๆ

เอาล่ะครับ พอเห็นหรือยังว่างานนี้คงชักคะเย่อกันไปอีกนาน

คราวนี้มาถึงประเด็นที่จะขยายข่าวอีกนิด ประโยคข้างล่างนี้ผมก๊อปมาจากในข่าว

“กลางปี 2014 เป็นต้นไป ราคากลับทรุดลงไปอีก ไปแตะจุดต่ำสุด 29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อต้นปี 2016 ซึ่งคราวนี้เกิดจากสหรัฐอเมริกา ลูกค้ารายใหญ่ของโอเปก ค้นพบเทคโนโลยีใหม่ในการขุดเจาะน้ำมัน อันทำให้สามารถเจาะน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (shale oil) มาใช้ได้เป็นครั้งแรก”

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

จะเอามาขยายว่าไม่ใช่อเมริกาค้นพบเทคโนโลยีนี้มาเมื่อกลางปี 2014 เทคโนโลยีนี้มีมาและ ทำกันมานานแล้ว แต่ต้นทุนการทำมันสูง และ ก่อนหน้านั้นที่ราคาน้ำมันยังไม่เท่าไร อเมริกาก็ไม่ผลิตออกมาขาย เพราะจะขาดทุน

เมื่อหลังวิกฤติการเงินอเมริกา ราคาน้ำมันขึ้นไปถึง 100 เหรียญต่อบาเรล คุ้มทุนที่จะผลิตออกมาขาย พอขายได้ คราวนี้เลยเกิดปฏิกริยาลูกโซ่ คือ เอาเงินที่ขายได้มาต่อยอดพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้ต้นทุนต่ำลงอย่างรวดเร็วในช่วงปีเศษๆ คราวนี้เลยเป็นหอกข้างแคร่โอเปคตั้งแต่นั้นมา

ต่อมาอีกประเด็นหนึ่งที่ข่าวกล่าวถึง

โอเปกระบุว่า ปกติแล้วเชลออยล์จะให้ปริมาณน้ำมันมากในระยะแรก แต่หลังจากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

การผลิตน้ำมันออกจากชั้นหินดินดาน (shale oil) นั้น เราไม่ได้ผลิตออกมาจาก แหล่งหินกักเก็บ (reservoir) แบบโอเปกทำกันปกติ (conventional) แต่เป็นการไปผลิตเอาออกมาจากแหล่งหินต้นกำเนิด (source rock) ซึ่งมีความต่างกันอย่างมากในเรื่องวิธีการและเทคนิค อ่านเพิ่มเติม 2 บทความนี้แล้วจะเข้าใจดีขึ้นครับ

Conventional reservoir vs. Shale Oil reservoir

ดร.มหิดลแนะขุดอ่าวไทย ชี้ขุมน้ำมัน-ก๊าซมหาศาล (ขออธิบายเพิ่มเติม)

ถ้าอ่านแล้วจะเข้าใจปรุโปร่งเลยว่า การผลิตน้ำมันออกจากชั้นหินดินดาน (shale oil) นั้นเราไปสร้างแหล่งกักเก็บเทียมขึ้นในแหล่งกำเนิด (โดยการสร้างรอยร้าว) ไปเอาเศษๆน้ำมันที่แหล่งกำเนิดผลิตได้ (แต่ยังไม่ไหลไปแหล่งกักเก็บ) ยังคงค้างๆอยู่ในตัวแหล่งกำเนิดเอง เราไปเอาส่วนนี้ออกมา

ดังนั้นอายุการผลิตจึงไม่นาน จะโหมไหลอยู่ในช่วงแรกๆราวๆ 1 –  2 ปี ก็แผ่วหรือหยุดไหล ต้องไปกระตุ้น ไปสร้างรอยร้าวใหม่ในแหล่งกำเนิดอีกรอบ อย่างนี้เรื่อยๆไป จนกว่าน้ำมันจะหมดจากแหล่งกำเนิด

จบล่ะที่อยากจะขยายข่าวเป็นความรู้ให้ทราบกัน

ไปอ่านข่าวกันเลยดีกว่า

เชลออยล์ หอกข้างแคร่ โอเปก กุมขมับแก้ไม่ตก

ที่มา https://www.prachachat.net/world-news/news-81883

(2 ธันวาคม พ.ศ. 2560)

ราคาน้ำมันที่อยู่ในขาลงยาวนานเกือบ 2 ปี ทำให้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน 14 ประเทศ (โอเปก) ที่มีซาอุดีอาระเบียเป็นพี่ใหญ่ และเคยเป็นผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในตลาดน้ำมัน ประสบปัญหาอย่างหนักจากการที่รายได้ลดลงฮวบฮาบจนกระทบต่อฐานะการคลัง ปรับตัวแทบไม่ทัน จากที่เคยเป็นเสือนอนกินสบาย ๆ

โอเปกเคยผ่านความรุ่งเรืองสุดขีดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 จนถึงกลางปี ค.ศ. 2008 ซึ่งราคาน้ำมันเคยทะยานขึ้นไปแตะ 147 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากจีนและอินเดียมีความต้องการมากเพราะเศรษฐกิจเติบโตสูง

แต่เมื่อเกิดวิกฤตการเงินครั้งร้ายแรงในสหรัฐเมื่อปลายปี 2008 ราคาน้ำมันได้ดิ่งลงเหลือ 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนจะดีดกลับมาสูงสุดที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังช่วงวิกฤตการเงิน

แต่กลางปี 2014 เป็นต้นไป ราคากลับทรุดลงไปอีก ไปแตะจุดต่ำสุด 29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อต้นปี 2016 ซึ่งคราวนี้เกิดจากสหรัฐอเมริกา ลูกค้ารายใหญ่ของโอเปก ค้นพบเทคโนโลยีใหม่ในการขุดเจาะน้ำมัน อันทำให้สามารถเจาะน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (shale oil) มาใช้ได้เป็นครั้งแรก พลิกสถานะจากผู้ซื้อมาเป็นผู้ผลิตเอง เท่านั้นไม่พอ ยังยกระดับไปเป็นผู้ส่งออกอีกด้วย ทำให้มีปริมาณน้ำมันออกสู่ตลาดมากขึ้น

โอเปกจึงแก้ปัญหาด้วยการปรับลดการผลิต ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว และขยายระยะเวลาการปรับลดออกไปเป็นระยะ เพื่อหวังดึงราคาขึ้นไป ซึ่งก็ได้ผลระดับหนึ่ง เพราะปัจจุบันราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวมาอยู่แถว ๆ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

กลุ่มโอเปกยอมรับว่า ในอีกหลายปีข้างหน้า น้ำมันเชลออยล์ของสหรัฐจะเป็นผู้ครอบงำตลาด โดยคาดว่าสหรัฐจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวันไปจนถึงปี 2022 คิดเป็น 75% ของปริมาณที่ผลิตโดยกลุ่มประเทศนอกโอเปก หรือเทียบเท่า1 ใน 3 ของผลผลิตน้ำมันทั่วโลก

แต่โอเปกเชื่อว่าน้ำมันเชลออยล์ ทั้งจากสหรัฐ แคนาดา และรัสเซีย จะถึงจุดสูงสุดในปี 2025 แต่หลังจากนั้นจะแผ่วลง และก็เป็นโอกาสของโอเปกที่จะเพิ่มปริมาณการผลิต ทั้งนี้ สาเหตุที่โอเปกคาดว่าเชลออยล์จะแผ่วลง เพราะผู้ประกอบการได้เร่งขุดเจาะในแหล่งน้ำมันชั้นเยี่ยมระดับหัวกะทิในระยะแรกด้วยต้นทุนถูกไปหมดแล้ว

โอเปกระบุว่า ปกติแล้วเชลออยล์จะให้ปริมาณน้ำมันมากในระยะแรก แต่หลังจากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเป็นเช่นนี้การขุดครั้งต่อไปจะได้น้ำมันน้อยลงและต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสให้โอเปกเพิ่มกำลังการผลิตไปสู่ระดับ 41.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากที่ชะงักอยู่ในระดับ 33 ล้านบาร์เรลมานาน

ทางด้านนักวิเคราะห์อย่าง ไมค์ วิตต์เนอร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยตลาดน้ำมันของโซซิเอเต เจเนอราล ในนิวยอร์ก เห็นว่า ความพยายามของโอเปกในการลดปริมาณส่วนเกินในตลาดลงเพื่อดันราคาขึ้น ถือว่าได้ผลและเป็นทิศทางที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตามโอเปกก็จะเผชิญกับสถานการณ์ที่ย้อนแย้ง แก้ไม่ตก เพราะถ้าหากโอเปกยิ่งประสบความสำเร็จในการดันราคาขึ้น ก็จะยิ่งจูงใจให้บริษัทเอกชนสหรัฐและคู่แข่งอื่น ๆ ของโอเปกทำการขุดเจาะเชลออยล์

คาดว่าการผลิตเชลออยล์ของสหรัฐในปีหน้าจะมีปริมาณมากพอที่จะชดเชยปริมาณที่โอเปกลดลงไปได้ ทำให้ภาวะอุปทานล้นเกินยังคงอยู่ในระดับเดิม เท่ากับว่าการลดของโอเปกไม่มีผลในการดึงน้ำมันออกจากตลาด

“แทนที่จะสามารถประกาศชัยชนะในปีหน้าและกลับไปเพิ่มกำลังการผลิต โอเปกอาจพบว่าตัวเองติดอยู่ในกับดักที่ทำให้ต้องดิ้นรนอย่างไม่สิ้นสุด ตอนนี้โอเปกอยู่ในกับดักนั้นแล้ว ผมยังมองไม่เห็นว่าพวกเขาจะหาทางออกได้อย่างไร” วิตต์เนอร์ระบุ

ส่วน แอนดี้ ฮอลล์ นักค้าน้ำมันดิบผู้มากประสบการณ์ ซึ่งได้รับเชิญจากเจ้าหน้าที่โอเปกให้ไปช่วยสรุปและประเมินแนวโน้มของเชลออยล์บอกว่า เชลออยล์คาดหมายได้ยาก ด้วยเหตุนี้ เขาจึงตัดสินใจปิดกองทุนเฮดจ์ฟันด์ไปแล้วในปีนี้ แต่ตามการประเมินของเขาเชื่อว่า ปริมาณเชลออยล์ปีหน้าจะแปรปรวนมาก ระหว่าง 5 แสนบาร์เรล ไปจนถึง 1.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------