ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ปตท สผ ระบุเสียโอกาส ผลิตน้ำมันดิบกว่า 5,000 บาร์เรลต่อวัน

ปตท สผ ระบุเสียโอกาส ผลิตน้ำมันดิบกว่า 5,000 บาร์เรลต่อวัน ในแหล่งสิริกิติ์ (S1) … นี่ก็เรื่องเก่าครับ ผมได้เคยออกความเห็นไปบ้างแล้วในครั้งที่เรื่องนี้กำลังเป็นข่าว ถ้ายังไม่เคยอ่านกันก็คลิ๊กเข้าไปอ่านกันได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้ ความจริงแล้วก็น่าจะหาทางออกกันไปตั้งแต่คราวนั้น ไม่เห็นต้องให้รมว.คนใหม่มาเมื่อยตุ้มสั่งการกันอีกกระทอกนึง

https://nongferndaddy.com/stop-production-s1/

พักเรื่องการเมืองไว้ก่อน เรามาคุยเรื่องกึ่งๆเทคนิคๆกันบ้างดีกว่า

ปตท สผ ระบุเสียโอกาส

ในเนื้อข่าวมีประโยคนี้อยู่ …

… ทั้งนี้คาดว่าแหล่ง S1 ยังมีปริมาณน้ำมันเหลือใช้ได้เกิน 10 ปี แต่ต้องใช้เทคโนโลยีการขุดเจาะสำรวจที่ทันสมัยมาใช้มากขึ้น เพราะเป็นแหล่งเก่าที่ใช้มากว่า 30 ปีแล้ว และ ปริมาณน้ำมันเหลือน้อยลง การขุดเจาะหลุมใหม่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่จะสามารถขุดเจาะได้ลึกขึ้น ซึ่งต้องลงทุนมากขึ้นด้วย …

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

มันแปลว่าอะไร แหล่งผลิตเก่าๆ มันผลิตยากตรงไหน แล้ววิธีคิดในการผลิตมันควรจะเป็นอย่างไร ต่างจากแหล่งใหม่ใสปิ๊งตรงไหน

แหล่งปิโตรเลียมที่ผลิตมานานแล้ว เราเรียกมันว่า Mature field แปลตามตัวก็หมายถึง แหล่งที่บรรลุนิติภาวะแล้ว 555 ไม่รู้เรื่องเลย แปลยังไง

คือเป็นแหล่งที่เรารู้โครงสร้างธรณี (Geological structure) กันอย่างทะลุปรุโปรง รู้พฤติกรรมของชั้นหินกักเก็บ (reservoir behavior) ต้องเจาะอย่างไร ต้องผลิตอย่างไร จึงจะดีที่สุด รู้ไปหมด

บางทีเราก็เรียกแหล่งพวกนี้ว่า Brown field หรือ แหล่งสีน้ำตาล นั่นแหละครับ ผมเดาเอาเองว่า คงจะเทียบกับสีใบไม้ที่เป็นสีน้ำตาลตอนที่ใบมันแก่ๆใกล้ๆจะร่วง แต่แปลกที่เราไม่เรียกแหล่งผลิตใหม่ๆว่า Green field แต่ก็ช่างเถอะ วงการเรามันก็มีอะไรๆที่อธิบายไม่ได้เยอะแยะ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

กลับมาเรื่องของเรา ปตท สผ ระบุเสียโอกาส …

ปิโตรเลียมในแหล่งที่ mature แล้วก็นะ มักจะใกล้ๆจะหมด ทำนองรีดเลือดเอาจากปู ค่าเจาะหลุมเนี้ยมันไม่ขึ้นกับอายุของแหล่ง หลุมล่ะ 100 บาท ขุดตอนแหล่งผลิตยังใสกิ๊กปิ๊งๆอยู่ หลุมนั้นก็ผลิตออกมาได้วันล่ะ 100 บาเรล (ตัวเลขสมมุติ) ตอนนี้หลุมเดิมๆนั่นแหละ ขุดไปราคาก็เท่าเดิม เผลอๆจะแพงขึ้นด้วย เพราะค่าแรงพวกผมต้องกินต้องใช้ ค่าวัสดุอุปกรณ์ ก็ต้องขึ้นไปตามกาลเวลา

เอ้า สมมุติว่าถ้ายังขุดแบบเดิม ไม่มีใครหรืออะไรขึ้นราคา ก็ยังหลุมล่ะ 100 บาทเหมือนเดิม แต่หลุมมันผลิตออกมาได้แค่วันล่ะ 50 บาเรลนี่ซิ …. ปวดกระแบนเหน็บ เจ็บไข่ดัน

ไม่หเมือนกับอุตสาหกกรมอสังหาฯ เวลาผ่านไปราคาสร้างบ้านขึ้น ราคาขายบ้านก็ขึ้นด้วย แต่นี่อะไร เวลาผ่านไปแหล่งผลิตก็ผลิตได้น้อยลง แต่ราคาขุดหลุมกลับสูงขึ้นๆ อาจจะมีคนแย้งว่า ก็ชดเชยด้วยราคาขายไง แต่พวกเราก็รู้กันดีว่า ราคาน้ำมัน ก๊าซ นั้น ไม่ได้ขึ้นกับต้นทุนการหามาได้เพียงอย่างเดียวนี่ครับ พลังงานฟอสซิลเนี้ย มันเป็นสินค้าการเมืองระดับโลก ขึ้นๆลงๆไม่ได้ดูหรอกครับว่า ต้นทุนมันเท่าไร

สรุปคือ Mature Field ผลิตได้น้อยลง แต่ราคาหลุมมันแพงเอาๆ

เห็นหรือยังครับว่ากุญแจในการบริหารจัดการแหล่งที่บรรลุนิติภาวะ (555 brown field นั่นแหละ) แล้วให้มีกำไรต้องทำอย่างไร เราต้องปรับวิธีคิด วิธีทำงานครับ ต้องขุดยังไงให้หลุมราคาถูก

ไม่ใช่แค่การออกแบบหลุมอย่างเดียว ต้องยกเครื่อง (over haul) กันทั้งองคาพยพ …

… กลยุทธจัดซื้อจัดจ้าง logistic supply chain กฏหมาย ข้อบังคับของบริษัท(ที่เกี่ยวข้องที่รั้งการทำงานให้ล้าช้าด้วยเจตนาดีเพื่อความโปร่งใสและธรรมาภิบาล) ไล่ไปจนถึงการตั้ง “กะปิ” หรือ KPI (Key Performance Indicator) ของเหล่ามดงานอย่างเราๆท่านๆ

วิศวกรขุดเจาะหัวเดียวกระเทียมลีบน่ะ ทำไม่ได้หรอกครับ อย่างเก่งเราก็เลือกวิธีขุด เทคโนโลยี ออกแบบหลุม วางแผน ฯลฯ อะไรไป จะขุดให้เยอะ ขุดให้เร็ว เราทำเองได้ไม่ยาก

แต่ราคาหลุมที่จะถูกได้เนี้ย มันมาจากหลายปัจจัยมากๆ หลับตานึกภาพก็พอออกใช่ไหมครับ หลายๆแผนกมากๆครับ

ไม่ใช่แผนกขุดเจาะหลุมอย่างเดียว มันลากยาวไปทั้งบริษัท ดังนั้น กุญแจดอกสำคัญคือ “หัว” ครับ หัว อันหมายถึงผู้บริหารสูงสุด ต้องเข้าใจหัวใจของการบริหารจัดการ brown field และ ต้องลงมาเล่นเอง ไม่งั้น แต่ล่ะแผนกตีกันตาย เพราะแต่ล่ะแผนกก็หวงอ่างกะปิ (KPI) ของตัวเอง … อ่างข้าใครอย่าเตะ 🙂

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

หลับตามโนนิดนึงว่า ถ้าจะทำให้หลุมถูกๆแบบครบวงจรนั้น ต้องทำอย่างไร

อย่างแรกเลยคือต้นน้ำต้นธาร แผนต้องนิ่ง ที่เรียกว่า planning น่ะ ถ้าแผนไม่นิ่ง เปลี่ยนใจกันตลอด แมวที่ไหน ไม่ว่า วิศวกร จัดซื้อ logistic เทพๆ จบฮาวาร์ด จบเอ็มไอที จบแสตนฟอร์ด มาจาไหน ฯลฯ ก็ทำให้หลุมถูกไม่ได้

จะเอากี่หลุม จะเอาหลุมแบบไหน ขุดตรงไหน พิกัดต้องชัวร์  และ ต้องนิ่ง …

เนื่องจากที่เกริ่นมาแล้วว่า mature field เนี้ย เรารู้ทะลุปรุโปร่งเกี่ยวกับทุกๆอย่างของแหล่ง ดังนั้น ทำแผนให้นิ่งนั้น ไม่ยากหรอกครับ ขออย่างเดียว ใจคนวางแผนต้อง “นิ่ง” อย่าเยอะสิ่ง (ไม่ได้ตีคราดกระทบวัวของใครที่ไหนนะครับ 555)

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

พอแผนนิ่ง ต่อมาคือหน้าตาหลุมก็ต้องนิ่ง ขนาดเดียว ไซด์เดียว จุดประสงค์เดียว รักเดียวใจเดียว ใช้ของเหมือนๆกันทุกหลุม ไม่ลำเอียง อย่าหลายใจ copy & paste ได้เลย

เราไม่ได้จะสร้างนวัตกรรม หรือ ทำงานวิจัย เราต้องการปริมาณ และ เอาแบบถูกๆ เราจะเปลี่ยนสภาพเป็นโรงงานผลิต ผลิตแบบสานพานการผลิต ประเด็นนี้วิศวกรหัวลีบพุงป่องอย่างพวกผมรับมาเต็มๆ จัดให้ จัดได้ ครับ ไม่ยาก ถ้าแผนมันนิ่ง

แผนนิ่ง หน้าตาหลุมนิ่ง ต่อไปก็จัดซื้อจัดจ้าง

… ถ้าจะซื้อของก็ท่องคาถานี้ไว้ครับ “เหมาโหลถูกกว่า” ซื้อเยอะเข้าไว้ เพราะต้นธารคือทั้งแผนทั้งหน้าตาหลุมมันนิ่งแล้ว ซื้อมันเยอะๆ กดราคาผู้รับเหมาด้วยปริมาณ (volume discount) เงื่อนไขการจ่าย (payment term) ก็จัดเต็ม ลากให้ยาวๆ จะได้ supplier credit เยอะๆ (พูดง่ายๆ เอาเงินคนขายของมาใช้ฟรีๆนั่นแหละ ได้ของมาแล้ว อีก 3 เดือนค่อยจ่ายตังค์ อะไรเงี้ย)

… ถ้าจะจ้างผู้รับเหมาก็ท่องคาถานี้ “ยาวดีกว่าสั้น” จ้างทีจ้างยาวๆไปเลย กดราคาเข้าไป แลกกับระยะจ้างงานยาวๆ ราคาจะได้ถูกๆ ในแง่คนทำงานก็ดีด้วย เพราะทำงานกันนานๆคุ้นมือคุ้นปากคุ้นลิ้น ทำอะไรมันก็คล่อง หัดให้ทีเดียวให้เป็นงาน (learning/ experience curve) การทำงานก็จะเร็วขึ้นไรขึ้น ผิดพลาด หรือ อุบัติเหตุจากการทำงานก็จะน้อยลง ประสิทธิภาพการทำงานก็ดีขึ้น

อย่าไปอ้างว่า ทำสัญญายาวๆไม่ดี เผื่อตลาดมันลง จะได้ประมูลใหม่ เผื่อได้ของได้คนราคาถูกกว่า คิดแบบนั้น ผมมองว่าโลภครับ อย่าไปเยอะ อย่าไปโลภครับ

ถ้าเราดูแล้วว่า สัญญาจ้าง 7 – 10 ปี เนี้ย ราคา(ทุนของเรา)ล๊อคแล้วเท่านี้ เราทำแล้วกำไรได้ตามที่บ.ต้องการ ก็เอาเลย อย่าไปคิดเผื่อว่า เฮ้ย เดี๋ยวอีก 2 ปี เกิดราคาถูกอีก ก็พลาดโอกาสดิ ทำสัญญา 2 ปีพอ

จริงครับ คิดแบบนั้นมันก็ถูก แต่มันไม่เหมาะกับการบริหารจัดการ mature field ให้ได้กำไร …

ทุกครั้งที่เปิดประมูล มีต้นทุนแฝงเสมอ ต้นทุนแฝงพวกนี้แหละครับที่ทำให้ต้นทุนจริงมันบานเบอะเกินกว่าวิศวกรขุดเจาะหน้าแห้งๆอย่างพวกผมจะไปควบคุมได้ … (ฟังกันบ้างดิ)

ต่อมาคือฝ่ายกฏหมายฝ่ายธรรมาภิบาล … ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างน่ะ หลายครั้งเขาก็อยากซื้อของดีราคาสมเหตุผล จ้างผู้รับเหมาดีๆราคาสมเหตุผล แต่หลายๆครั้ง มันติดที่กฏกติกามารยาทของบ.ที่ค้ำคออยู่ เข้าใจครับว่ากฏกติกาอะไรเหล่านั้นดี มีไว้เพื่อป้องการการทุจริตและความโปร่งใส แต่ถ้ามันรัดรึงตรึงแน่นไป มันก็หายใจไม่ออก

กฏกติกาเหล่านั้น อาจจะถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานขุดหลุม พัฒนาแหล่งผลิตแบบ “ปกติ” ไม่ได้ใช้มาขุดมาพัฒนา หรือ เก็บเกี่ยว mature field ซึ่ง ราคาหลุมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะดูดทุกหยดของปิโตรเลียมออกมาใช้

ดังนั้น กฏกติกาต่างๆ จะต้องเอื้อ ให้ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง supply chain logistic ฯลฯ ทำงานเพื่อให้ได้ต้นทุนหลุมที่ถูก กฏบางข้ออาจจะต้องยกเว้นกันบ้าง เงื่อนไขบางอยากก็ต้องยืดหยุ่น ผมไม่ได้เจาะจงไปที่เรื่องอะไร บ.ไหนนะครับ ผมแค่พูดในมุมมองกว้างๆ

จะเห็นว่า เรื่องการพัฒนา mature field นี้ จะต้องดูให้ครบวงจร ไม่ใช่เอะอะก็เอา pointer เลเซอร์สีแดงๆ จี้ชี้มาที่กระหม่อมวิศวกรหัวลีบๆนั่งเจี๊ยมเจี๋ยมหลบๆมุมอยู่หลังห้องประชุมว่าเป็นจำเลยหลุมราคาแพงทุกที (พูดแล้วของขึ้น 555)

ดังนั้น ถ้าบ.ไหนจะพัฒนา mature field เนี้ย ต้องทำเป็นวาระแห่งชาติ เอ๊ย วาระแห่งองค์กรเลย หัวใหญ่สุดๆต้องลงมาควบบังเหียนเอง

จะตั้งชื่อว่า MFSOP (Mature Field Standard Operating Procedure) MFM/BFM  (Mature/Brown Field Model) MFP (Mature Field Project) หรือ จะปั้นแต่งเนรมิตชื่ออะไรก็ว่ากันไป แต่ต้องเป็นวาระองค์กร และ หัวขององค์กรต้องเอาด้วย

ข่าวสั้นนิดเดียว ผมฝอยเสียยาวเลย

concept หรือ แนวคิดของเว็บไซด์ผมเนี้ย ไม่ใช่แค่จะเล่าข่าว ก๊อปปี้มาแปะ ออกความเห็น 2 บรรทัดแล้วจบ

ผมต้องการให้แฟนๆเว็บผมได้อะไรมากไปกว่านั้น เรื่องเทคนิค (technical skill / hard skill) ก็เยอะแล้วในเว็บผม พักหลังๆจึงอยากจะแทรกเรื่องมุมมองการบริหารจัดการบ้างว่าอุตสาหกรรมเรามันอะไรอย่างไร

หวังว่าจะได้อะไรติดสมองไปบ้างนะครับ

ขอบคุณที่ติดตามกันมา … 🙂

ฟังผมเบื่อแล้ว ทีนี้ก็ไปอ่านข่าวกันได้

ปตท สผ ระบุเสียโอกาส ผลิตน้ำมันดิบกว่า 5,000 บาร์เรลต่อวัน ในแหล่งสิริกิติ์ (S1)

ที่มา – http://www.energynewscenter.com/index.php/news/detail/1080

ปตท.สผ. ระบุแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ (S1) เสียโอกาสผลิตน้ำมันเพิ่มถึง 5,000 บาร์เรลต่อวัน เพราะติดปัญหากฎหมาย ส.ป.ก. และกรมป่าไม้ พร้อมยื่นขอต่ออายุสัมปทานแหล่งสิริกิติ์อีก 10 ปีตามเงื่อนไขที่ระบุในกฎหมาย ก่อนจะสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2564

ในขณะที่รัฐมนตรีพลังงาน “ศิริ จิระพงษ์พันธ์ ” สั่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เร่งสำรวจปัญหากรณีผู้รับสัมปทานเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมไม่ได้ เพราะติดกฎหมาย ส.ป.ก.และกรมป่าไม้ เพื่อสรุปประเด็นนำเสนอต่อรัฐบาลบูรณาการแก้ไขปัญหาต่อไป

เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2560 นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและคณะ เดินทางเยี่ยมชมแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ หรือ S1 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดได้แก่พิษณุโลกกำแพงเพชร และ สุโขทัยว่า โดยมีผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด ให้การต้อนรับ

นายศิริ กล่าวว่า ได้สั่งการให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เร่งสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นกับการผลิตปิโตรเลียมของแหล่งสัมปทานบนบกในแต่ละแห่ง เนื่องจากพบว่าปัจจุบันแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมบนบกส่วนใหญ่ ไม่สามารถเข้าไปขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมเพิ่มได้ เพราะติดปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และ กฎระเบียบของกรมป่าไม้ ทำให้ไม่สามารถเดินหน้านำปิโตรเลียมใต้ดินมาใช้ได้เต็มศักยภาพ โดยจะรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นนำเสนอหน่วยงานภาครัฐเพื่อร่วมกันบูรณาการแก้ไขต่อไป

สำหรับแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ (S1) ปัจจุบันได้รับรายงานว่า ประสบปัญหาการขอใบอนุญาตเข้าไปขุดเจาะหลุมสำรวจปิโตรเลียมในพื้นที่ แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ได้รับสัมปทานอยู่แล้วก็ตาม เนื่องจากพื้นที่สัมปทานตั้งอยู่ในเขต ส.ป.ก. จึงต้องขออนุญาตจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ได้ก่อน ซึ่งความซ้ำซ้อนในการขอใบอนุญาตจากหน่วยงานรัฐ

ส่งผลให้แหล่ง S1 เสียโอกาสในการผลิตปิโตรเลียมถึง 3,000 – 5,000 บาร์เรลต่อวัน ดังนั้นแหล่ง S1 จึงเป็นหนึ่งในแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมบนบกที่จะต้องจัดเก็บข้อมูลว่าติดขัดข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับกระทรวงใดบ้างเพื่อดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว

อย่างไรก็ตามยืนยันว่า

แหล่ง S1 ไม่ได้ขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้ ปตท.เพียงรายเดียว ปัจจุบันขายให้บางจากด้วย และหากผู้ประกอบการใดต้องการขอซื้อโดยให้ราคาสูง ปตท.สผ.ก็ต้องขายให้ เพราะภาครัฐจะได้ภาษีและค่าภาคหลวงสูงขึ้นไปด้วย แต่ยังย้ำว่าไม่อนุญาตให้ซื้อเพื่อไปส่งออก เพราะต้องการให้ใช้ในประเทศให้เต็มประสิทธิภาพก่อน

ด้าน นายพงศธร ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ สำรวจและผลิตปิโตรเลียม บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.กล่าวว่า หากแหล่ง S1 ไม่ติดปัญหาใบอนุญาตจาก ส.ป.ก. และกรมป่าไม้ และ เข้าพื้นที่สำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมได้ คาดว่าจะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันให้ประเทศได้อีก 5,000 บาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบันผลิตได้ 2.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน และจะทำให้ภาครัฐได้ค่าภาคหลวงรวมถึงภาษีเพิ่มขึ้นด้วย

สำหรับแหล่ง S1 จะหมดอายุสัมปทานในปี 2564 ซึ่ง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือ ปตท.สผ. ผู้รับสัมปทาน ได้ยื่นขอต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมอีก 10 ปี ต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไปแล้ว เพื่อจะรักษาระดับการผลิตน้ำมันให้ได้ 2.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน เป็นการช่วยทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบให้กับประเทศได้ในทางหนึ่ง

แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ตามกฎหมายปิโตรเลียม ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมจะสามารถต่ออายุสัมปทานได้อีก 1 ครั้ง เป็นเวลา 10 ปี หลังจากอายุสัมปทานเดิมหมดลง ซึ่งแหล่งS1 สามารถใช้สิทธิ์ขอต่ออายุสัมปทานได้

โดยขณะนี้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอยู่ระหว่างการพิจารณาแผนพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวของปตท.สผ. ทั้งในเรื่องปริมาณสำรอง แผนการผลิต และผลประโยชน์ตอบแทนที่จะมอบให้กับภาครัฐซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสัญญาเดิม ภายใต้ระบบสัญญาสัมปทานแบบ Thailand 1 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งหากแผนงานที่ ปตท.สผ.เสนอมาดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ กรมฯจะต้องเข้าเจรจาต่อรองเพื่อให้ประเทศได้ผลประโยชน์ที่ดีสุด

ทั้งนี้คาดว่าแหล่ง S1 ยังมีปริมาณน้ำมันเหลือใช้ได้เกิน 10 ปี แต่ต้องใช้เทคโนโลยีการขุดเจาะสำรวจที่ทันสมัยมาใช้มากขึ้น เพราะเป็นแหล่งเก่าที่ใช้มากว่า 30 ปีแล้ว และ ปริมาณน้ำมันเหลือน้อยลง การขุดเจาะหลุมใหม่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่จะสามารถขุดเจาะได้ลึกขึ้น ซึ่งต้องลงทุนมากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตามเมื่อโครงการ S1 หมดอายุสัมปทานลงอีก หลังจากใช้สิทธิ์ต่ออายุ 10 ปีไปแล้ว ภาครัฐจะต้องนำกลับมาพิจารณาว่าจะดำเนินการเช่นไรต่อไป ซึ่งคล้ายกับกรณีแหล่งปิโตรเลียม เอราวัณและบงกชที่ต้องนำมาเปิดประมูลใหม่ในขณะนี้

ข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ระบุแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ ( S1) เป็นแหล่งน้ำมันบนบกขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ดำเนินการโดยบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด หรือ ปตท.สผ. โดยมีขนาดพื้นที่ 1,326 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดกำแพงเพชร พิษณุโลก และสุโขทัย

แหล่งน้ำมันสิริกิติ์เริ่มการผลิตเป็นครั้งแรกในเดือน ธ.ค. 2525 ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่มีการผลิตน้ำมันเพื่อใช้ในการพาณิชย์ ปัจจุบันแหล่งดังกล่าวครบรอบการผลิต 35 ปี

ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 24,000 – 26,000 บาร์เรลต่อวัน (ณ เดือนพ.ย. 2560) มีสถานีผลิตหลักจำนวน 1 แห่ง ได้แก่สถานีผลิตลานกระบือ มีสถานีผลิตย่อย 5 แห่ง มีโรงแยกก๊าซแอลพีจี 1 แห่ง และมีคลังน้ำมันดิบ “บึงพระ” จำนวน 1 แห่ง

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------