ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

RP ratio Reserve Production ปริมาณสำรองต่อการผลิต คืออะไร

RP ratio Reserve Production ปริมาณสำรองต่อการผลิต คืออะไร – พวกเราคงได้ยินกันมาบ้างทางสื่อต่างๆว่าตอนนี้ประเทศไทยมี RP ratio เท่านั้นเท่านี้ แปลว่า โอ้ยยยย อีกกี่ปีๆปริมาณสำรองเราจะหมดอ่าวฯ

วันนี้จะพามาทำความเข้าใจเจ้า RP ratio กันอย่างถ่องแท้ มันคืออะไร คำนวนมาอย่างไร มีอะไรที่ต้องระวังในการเอาตัวเลขนี้ไปใช้ ฯลฯ ใครจะได้ไม่มาว่าเราได้ว่า อยู่ในวงการเสียเปล่า ให้สื่อ ให้คนโน้นคนนี้ จูงจมูก …

RP ratio

Reserve Production ปริมาณสำรองต่อการผลิต คืออะไร

อัตราส่วนปริมาณสำรองต่อกำลังการผลิต มาว่ากันทีล่ะตัว …

R คือ reserve หรือ ปริมาณสำรองที่มี

แวะไปดูนิยามหน่อยว่า ปริมาณสำรองเนี้ย เอาเข้าจริงๆแล้วมันคืออะไร

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

RP ratio

1) ปริมาณสํารองที่พิสูจน์แล้ว (Proved reserve หรือ P1) เป็นปริมาณปิโตรเลียมในแหล่งกักเก็บที่มีความน่าเชื่อถือสูงและมั่นใจมากว่าจะสามารถผลิตได้จริงมากกว่า 90 % เรามักเรียกสั้นๆว่า P1 หมายถึงชัวร์ 90% มีปริมาตร P1 แน่ๆ

2) ปริมาณสํารองที่คาดว่าจะพบ (Probable reserves หรือ P2) มีระดับความน่าเชื่อถือต่ํากว่าปริมาณสํารองที่พิสูจน์แล้ว แต่ก็ยังเชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถผลิตได้จริง ระหว่าง 50 – 90 %  เรามักเรียกสั้นๆว่า P2 หมายถึงชัวร์ 50 – 90% มีปริมาตร P2 แน่ๆ

3) ปริมาณสํารองที่น่าจะพบ (Possible reserves หรือ P3) เป็นปริมาณปิโตรเลียมที่มีความน่าเชื่อถือต่ํามากและมั่นใจว่าจะสามารถผลิตได้จริงระหว่าง 10 – 50 % เรามักเรียกสั้นๆว่า P3 หมายถึงชัวร์ 10 – 50% มีปริมาตร P3 แน่ๆ

ที่มา : หน้า 21 ในเอกสาร หรือ หน้า 38 ในไฟล์ คำถามยอดฮิต โดย กระทรวงพลังงาน

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

https://dmf.go.th/public/list/data/index/menu/952

จะเห็นว่าเราติดอยู่ที่คำว่าปิโตรเลียม เพราะเรายังต้องระบุไปอีกว่า ปิโตรเลียมที่ว่าคืออะไร กำลังพูดถึง

  • ก๊าซธรรมชาติ (gas)
  • ก๊าซธรรมชาติเหลว (condensate หรือ ชื่อเล่นๆ condy) หรือ …
  • น้ำมันดิบ (oil)

ปริมาณสํารองปิโตรเลียมที่พิสูจน์ P1 แล้วสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับ

  1. ราคาน้ำมันดิบ
  2. การเจาะสํารวจเพิ่มเติม
  3. เทคโนโลยีที่ดีขึ้น …

อืม … มันเกี่ยวตรงไหนเนี่ย จู่ๆจะมี P1 เพิ่มได้ไง

คิดง่ายๆเหมือนธรรมชาติเล่นซ่อนหากับเรา ธรรมชาติฝังปิโตรเลียมไว้ใต้พื้นดินเป็นหย่อมๆเยอะแยะ เล็กบ้างใหญ่บ้าง คุณภาพดีบ้าง ไม่ดีบ้าง คละกันไป

เรามนุษย์อยู่บนดิน ไม่มีวันรู้หมดแน่ๆว่าเอาจริงๆธรรมชาติให้ไว้เท่าไรในขอบเขตบ้านเรา เรารู้แต่ว่า เราขุดลงไปที่ตรงนั้นตรงนี้ ความน่าจะเป็นมันเป็นแบบนี้

P2 สามารถเลื่อนชั้นเป็น P1 ได้ ถ้ามีการขุดประเมินยืนยัน (Appraisal) ให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะใช่ P1 หรือ แห้ว เป็น P2 เหมือนเดิม

P3 สามารถเลื่อนชั้นเป็น P2 ได้ ถ้ามีการขุดประเมินยืนยัน (Appraisal) ให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะใช่ P2 หรือ แห้ว เป็น P3 เหมือนเดิม

พื้นที่ที่ไม่เป็น P เลย สามารถเลื่อนชั้นเป็น P3 ได้ ถ้ามีการขุดสำรวจ (Exploratory) ให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะใช่ P3 หรือ แห้ว เป็นไม่มีไรเลยเหมือนเดิม

ครงนี้แหละที่

  • 1. ราคาน้ํามันดิบ
  • 2. การเจาะสํารวจเพิ่มเติม
  • 3. เทคโนโลยีที่ดีขึ้น เข้ามาเอี่ยว

เพราะถ้าราคาน้ำมันดิบดี ก็ดึงดูดให้เกิดกิจกรรมอัพเกรด P2 -> P1 และ P3 -> P2 เพราะเราต้องการเพิ่ม P1 หรือ เทคโนโลยีดีขึ้น ก็จะเอื้อให้เกิดการเจาะสํารวจเพิ่มเติม … จะเห็นชัดๆว่า P1 เนี้ย ดิ้นไปเรื่อยตามปัจจัย 3 อย่างที่ว่า

คราวนี้ P ตัวไหนล่ะ ที่เอามาคำนวน โดยทั่วไปเราใช้ P1 ครับ แต่ถ้าใช้ P อื่นๆ จะต้องหมายเหตุตบท้ายไว้ เช่นว่าใช้ P1+P2 นะจ๊ะ

เป็น P ของปิโตรเลียมชนิดไหน ก็ต้องบอกให้ชัดๆ ว่าจะเป็น P1 ของ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ น้ำมันดิบ หรือ ของปิโตรเลียมทุกชนิดรวมกันก็สามารถครับ

โดยเปลี่ยนปริมาณ ก๊าซธรรมชาติ และ ก๊าซธรรมชาติเหลว ให้เป็น ปริมาณ น้ำมันดิบ โดยจะสังเกตุว่าใช้หน่วยเป็น BOE (Barrel of Oil Equivalent) โดยใช้หลักการพลังงานต่อหน่วยเทียบเท่า ==>  หน่วยพลังงานและการแปลงหน่วย

RP ratio

เอาล่ะ เรามาดูตัวต่อไปคือ P (Production)

อัตราการผลิต อันนี้ชัดครับ คือ ผลิตออกมา ไม่ว่าจะผลิตออกมาใช้เองในประเทศ หรือผลิตออกมาขาย เอาเป็นว่าสูบขึ้นมาก็แล้วกัน จะเอาไปทำอะไรไม่สน ซึ่งก็ต้องระบุอีกว่า กำลังพูดถึงผลิตปิโตรเลียมชนิดไหน ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ น้ำมันดิบ หรือพูดถึงผลิตรวมทั้งหมด

อัตราการผลิตในที่นี้จะใช้หน่วยเป็น ปริมาตรต่อปี พูดง่ายๆ ปีนึงสูบขึ้นมาเท่าไร ซึ่งตัวเลขการผลิตนี้ก็จะแตกต่างกันไปแต่ล่ะเดือน และ โดยมากจะสูงขึ้น เพราะเราบริโภคพลังงานเพิ่มขึ้นทุกวันด้วยเหตุผลที่ทราบๆกันอยู่ แต่ตัวเลขที่นำมาใช้เป็นตัวเลขเฉลี่ยในปัจจุบัน นั่นแปลว่า เราเห็นอะไรในตัว RP ratio นี้ไหมว่ามันอยู่บนสมมติฐานสำมะคัญ 2 ข้อ

  1. ปริมาณสำรอง P1 ณ.ปัจจุบัน
  2. การผลิต Production ณ.อัตราปัจจุบัน

ซึ่งเอาเข้าจริง ปีหน้า ปีโน้น P1 ก็อาจจะไม่ใช่ P1 ตัวนี้ อัตราการผลิต ก็อาจจะไม่ใช่อัตราการผลิตค่าๆนี้

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

มาดูเลขจริงๆดีกว่า จะได้เห็นภาพกัน

ที่มา : กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ==> ปริมาณสำรอง การผลิต

production

ตัวอย่างการคำนวน

เอาว่า เราสมมุติว่าเราอยู่ที่ปลายปี 2557 ล่ะกัน

เรามี P1 ณ.ปลายปี 57 เท่ากับ 7752 พันล้านลบ.ฟุต ในปี 57 เราผลิตเฉลี่ยๆวันล่ะ 3200 ล้านลบ.ฟุต (ลองคลิ๊กๆในลิงค์ดูครับ จะแสดงผลเป็นปริมาณการผลิตต่อวัน)

ก็ตกราวๆปีล่ะ 3200 x 365 = 1168000 ล้านลบ.ฟุต หรือ 1168 พันล้านลบ.ฟุต

RP ratio = 7752/1168 = 6.64 หน่วยเป็นปี คือ 6.64 ปี แปลไทยเป็นไทยว่า ถ้าไม่เจาะสำรวจเพิ่ม หา P1 เพิ่ม แล้วผลิตออกมาคงที่เหมือนปี 57 เราจะมีก๊าซธรรมชาติใช้ไปอีก 6.64 ปี โดยนับ ปี 58 เป็นปีแรก เพราะเราใช้ข้อมูลปลายปี 57 มาคำนวน

ตอนนี้เรามาถึงกลางปี 59 (ตอนที่เขียนบทความนี้) แสดงว่าเรามีใช้ไปอีกจากวันนี้ 6.64 – 1.5 (ปี 58 ทั้งปี กับ ปี 59 ครึ่งปี) = 5.54 ปี แต่เอาจริงๆ ณ.กลางปี 59 นี้ P1 ก็มากกว่านี้ (ไม่เยอะ) การผลิตก็มากกว่า (เยอะ 555) RP ratio ก็คิดว่าจะหดลงๆ

ประเด็นสุดท้ายที่อยากจะบอกคือ อัตราส่วนปริมาณสำรองต่อกำลังการผลิต ที่เอามาคำนวนให้ดูเป็นตัวเลขของประเทศ

สำหรับบ.น้ำมันแต่ล่ะบ.เขาก็มี RP ratio เหมือนกัน เพราะ บ.น้ำมันก็มี P1 P2 P3 จากการไปประมูลสัมปะทานในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในระบบสัมประทานและระบบแบ่งปันผลผลิต (บ.น้ำมันจะไม่สามารถนับปริมาณสำรองได้ถ้าเป็นแบบสัญญาจ้างผลิต ดูประกอบ –> ระบบการคลังปิโตรเลียมแบบง่ายๆ) และ บ.น้ำมันก็มีการผลิตออกมาขายเช่นกัน ดังนั้น บ.น้ำมันแต่ล่ะบ.เขาก็มี RP ratio เหมือนกัน

สมมติว่า บ.น้ำมัน ก. มี P1 10000 BOE ผลิตออกมาขายเป็นรายได้บ.ปีล่ะ 1000 BOE แปลว่า ถ้าไม่เจาะหา P1 เพิ่ม สูบของปัจจุบันขึ้นมาขาย 10000/1000 = 10 ปี หมด ปิดบ.กลับบ้าน

มาตราฐานเฉลี่ยๆของบ.น้ำมันโดยทั่วไปที่มั่นคงๆจะมี RP ratio อยู่ที่ 10 ปี เพราะวงจรการสำรวจ ไปจนถึงการผลิตขายได้ นั้นโดยเฉลี่ยของอุตสาหรรมเราอยู่ที่ 10 ปี พูดง่ายๆว่าต้องมีบุญเก่าหรือบุญปัจจุบัน 10 ปี จึงจะต่อยอดทำมาหากินต่อไปได้ เพราะกว่าจะเจอของใหม่ กว่าจะผลิตของใหม่ออกมาขายกินได้ก็อีกตั้ง 10 ปี

เอาล่ะครับ ขมวดทิ้งท้ายจริงๆไว้ตรงนี้ว่าเวลาได้ยินตัวเลข RP ratio ให้ตะหงิดใจไว้ว่า …

  1. กำลังพูดถึงปิโตรเลียมชนิดอะไร หรือ เหมารวมทุกประเภท
  2. เอา P1 P2 หรือ P3 มาคิด
  3. เอาปีไหนมาเป็นปีฐานคำนวน P1 เอาข้อมูลเฉลี่ยปีไหนมาเป็นอัตราการผลิต จะต้องเป็นปีเดียวกัน
  4. เป็น อัตราส่วนปริมาณสำรองต่อกำลังการผลิต ของประเทศ หรือ ของบ.น้ำมัน บ.ใดบ.หนึ่ง

เมื่อเข้าใจทั้ง 4 ข้อนี้แล้ว ค่อยมาตีความตัวเลขด้วยสติปัญญา และ วิจารณญาณ อีกทีว่าตัวเลขนั้นๆมันบอกอะไร

อย่าไปอิงแต่จากสิ่งที่สื่อหรือกลุ่มบุคคลต้องการให้เราคิดเราเข้าใจหรือบิดเบือนข้อมูลให้เข้าใจผิดกัน จะเสียทีที่เป็นคนในวงการและเป็นแฟนคลับผม 🙂

Water Flooding Improved Recovery โดย Junior Roustabout

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------