ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

เปิดชิงแหล่งปิโตรฯ กพ 61 – 5 ประเด็นในข่าว ที่ท่าน รมว.พลังงานกล่าวถึในข่าว

เปิดชิงแหล่งปิโตรฯ กพ 61 – 5 ประเด็นในข่าว  … ที่จะมาชวนคุย ชวนขยายความ ทำความเข้าใจกันวันนี้ ก็เรื่อง 5 ประเด็นในข่าวที่ท่าน รมว.พลังงานกล่าวถึง ว่า 5 ประเด็นนี้ต้องชัดเจนแจ่มแจ้งแดงแจ๋ clear ๆ กันไป ไม่งั้นท่านคณะกรรมการจะปวดต่อมลูกหมากเป็นอย่างมาก ตอนให้คะแนนตัดสินกัน

เปิดชิงแหล่งปิโตรฯ กพ 61

5 เรื่องนี้สำคัญอย่างไร …. โปรดติดตาม

1.ข้อมูลปริมาณสำรองและปริมาณการผลิตในระดับความเป็นไปได้ต่างๆ กันในแหล่งที่มี และแหล่งที่ยังไม่ได้สำรวจ

ผู้ประมูลมองภาพนี้ไม่เหมือนกัน เพราะข้อมูลดิบในมือ ไม่เหมือนกัน บ.เอ อาจจะคิดว่า มีปริมาณสำรองเท่านั้นเท่านี้ ผลิตได้ เท่านั้นปีเท่านี้ปี ที่ความน่าจะเป็นหนึ่งๆ (เช่น P10 – P50 – P90*) แต่ บ.บีกลับมองอีกภาพหนึ่ง เรื่องนี้ต้องเคลีย์กัน เพราะบางบ.อาจจะมองภาพเริ่ดหรูดูดีเกินจริงเว่อร์วังอลังการณ์งานสร้าง ทำให้เสนอผลประโยชน์ให้รัฐได้สูงอย่างไม่น่าเป็นไปได้

ถ้าไม่คิดดีๆก็อาจจะหลงลมปากให้ชนะเข้าวินกันไป แล้วพบทีหลังว่า ปริมาณสำรองและปริมาณการผลิตไม่ได้เป็นอย่างที่คิด แล้วผู้ได้สัมปทานไปก็จะมางองแงขอลดทอนผลประโยชน์ที่สัญญิงสัญญาไว้ว่าจะให้ ก็ยุ่งขิงทิงนองนอยกันล่ะทีนี้ ได้ขึ้นโรงขึ้นศาล ติดคุกติดตารางกันตอนวัยไม้ใกล้ฝั่ง ไม่งามแน่ๆ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

กรรมการ(หรือรัฐฯนั่นแหละ) จะต้องมี ปริมาณสำรองและปริมาณการผลิตในระดับความเป็นไปได้ต่างๆ กัน ที่สะเด็ดน้ำ อยู่ในมือเป็นไม้บรรทัดไว้ก่อน ทั้งนี้ก็ต้องแยกปริมาณสำรองและปริมาณการผลิตในระดับความเป็นไปได้ต่างๆ กัน อกเป็นแหล่ง แหล่งที่มีที่รู้อยู่แล้ว กับ แหล่งที่ยังไม่สำรวจด้วย

* P10, P50, P90 เป็นภาษานักสถิตินะ แปลง่ายๆบ้านๆว่า เช่น กรณีแย่ๆ มองโลกแง่ร้าย (P10) ว่ามีปริมาณสำรองเท่าไร ผลิตได้ปีล่ะเท่าไร เป็นต้น ส่วน P50 ก็ความน่าจะเป็นกลางๆ ส่วน P90 ก็มองโลกในแง่ดีว่ามีปริมาณสำรองเท่าไร ผลิตได้ปีล่ะเท่าไร

2.เรื่องการรื้อถอนแท่นผลิตที่ไม่จำเป็น และการโอนแท่นที่ยังต้องการเก็บไว้ใช้งาน รวมถึงค่าใช้จ่ายการรื้อถอน

อันนี้ก็สำมะคัญมากๆ เพราะจะมีแท่นผลิต (production platform) ที่ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ เพราะบรรดาหลุมผลิตที่ต่อมาที่แท่นนั้นแห้งหมดแล้ว หรือ ผลิตได้ก็กะปริดกะปรอย ไม่คุ้มจะเก็บไว้ หรือไม่ก็หมดอายุการใช้งาน ผุพัง จำเป็นต้องมีการรื้อถอน (decommissioning)

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

เรื่องนี้ต้องเคลีย์ ให้แฟร์ๆ และ รับกันได้ ว่าในกรณีผู้ชนะการประมูลเป็นบ.ใหม่จะทำไง เช่น สมมุติ เดิม บ.เอ เป็นผู้ดำเนินการปัจจุบัน มีแท่นผลิตทั้งหมด 100 แท่น จำเป็นต้องรื้อถอนในอนาคต 30 แท่น ถ้าประมูลแล้ว บ.บีเกิดชนะได้สัมประทานดำเนินงานต่อ จะประเมินค่ารื้อถอน และ แบ่งภาระกันอย่างไร

ภาระที่ว่านี้ไม่ใช่แต่ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอย่างเดียว แต่เป็นภาระเรื่องสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้วย เช่น บ.เอ เป็นผู้ดำเนินการปัจจุบัน ก่อสร้าง (ขุด) หลุม ไว้แบบที่ ไม่คิดเผื่อตอนรื้อถอนเสียเลย ค่ารื้อถอนก็ต้องแพง แถมเสี่ยงต่อการรั่วไหล

หรือ ถ้า บ.บี(ผู้ได้สัมปทานต่อ)ยังไม่ทันได้รื้อถอนเลย แต่หลุม(ที่ได้มาจากบ.เอ)เกิดรั่ว น้ำมันก๊าซไหลนอง พุ่งปุ๊ดๆขึ้นมาในทะเล จะทำไง ใครรับผิดชอบ หรือ จะซื้อประกันภัยดี แล้วใครต้องจ่ายเบี้ย จ่ายคนล่ะเท่าไร

ในแง่ค่าใช้จ่ายก็ต้องคิดต้องถ่วงน้ำหนักความรับผิดชอบกันอย่างไร เอาให้ชัด เช่น ตามจำนวนแท่น ตามปริมาณสำรอง ตามปริมาณที่ผลิตไปแล้ว หรือ ปริมาณผลิตรวมทั้งหมด ฯลฯ โอ้ยยยย มีสารพัดวิธี แต่ที่สำคัญ เลือกมาสักวิธี อย่าปล่อยให้ลอยๆให้เอกชนมาตีความกันเอาเอง แล้วมาทะเลาะกันทีหลัง

ถ้าจะโซ้ย จะทะเลาะกันก็เอาให้สะเด็ดน้ำกันเสียตั้งแต่ก่อนประมูล ตั้งเป็นกติกาไปเลย เอกชนที่เข้าร่วมประมูล จะได้ดีดลูกคิดถูก

3.มาตรการที่สนับสนุนให้ผู้รับสัมปทานปัจจุบันลงทุนเพื่อรักษาระดับการผลิตจนสิ้นสุดอายุสัมปทาน

สมมุติว่าผมรู้ล่วงหน้า 5 ปี ว่าผมประมูลแพ้ ไม่ได้ต่อสัมปทาน มีเวลาทำมาหากินกับแปลงสัมปทานนี้ได้อีกแค่ 5 ปี แล้วต้องเก็บของกลับบ้าน

ในทางธุรกิจ ผมก็จะไม่ลงทุนอะไรในแปลงสัมปทานที่จะให้ผลตอบแทนหลัง 5 ปี จริงไหมครับ

เช่น ไม่เจาะหลุมสำรวจเพิ่ม ไม่เจาะหลุมประเมินเพิ่ม ไม่เจาะหลุมผลิตเพิ่มเกินความต้องการ เอาเท่าที่จำเป็นตามสัญญาที่ต้องส่งก๊าซให้ผู้ซื้อ จะก่อสร้าง จะลงทุนอะไรก็ต้องยั้งๆ เพราะเม็ดเงิน และ ทรัพย์สินที่ลงไป กับ ผลที่งอกเงย จะเป็นของผู้ที่มาทำต่อจากผมในอีก 5 ปีข้างหน้า

พูดภาษาบ้านๆคือ เข้าเกียร์ว่าง(ทางการลงทุน) ตำข้าวสารกรอกหม้อไปวันๆ เท่าที่จำเป็น เท่าที่สัญญิงสัญญาไว้ว่าจะผลิตขั้นต่ำเท่านั้นเท่านี้

ใครจะมาว่าผมก็ไม่ได้ ผมเป็นนักธุรกิจนี่นา ทำตามกฏตามสัญญา

ใครล่ะที่เสียโอกาสไปในช่วงรอยต่อ 5 ปีนี้ ก็รัฐฯ ก็ประเทศไงครับ เสียโอกาสที่จะพัฒนาแหล่งอย่างต่อเนื่อง

อีก 5 ปีข้างหน้า คนที่มาได้สัมปทานต่อจากผมก็ต้องเริ่มลงทุนกันใหม่ เจาะหลุมสำรวจ เจาะหลุมประเมิน ก่อสร้างนั่นนี่เพิ่มเติม ฯลฯ กว่าการลงทุนเหล่านี้จะให้ดกออกผลกลับมาก็โน้น อีก 3 – 5 ปี

นั่นแปลว่าอะไรครับ แปลว่า ถ้ารัฐฯไม่ทำอะไรเลย ประเทศก็จะสูญเสียโอกาสการพัฒนาทรัพยากรของชาติไป 5 + 3 ถึง 5 ปี ซึ่งก็คือ 8 – 10 ปี

ดังนั้น รัฐฯต้องหามาตราการอะไรก็ได้มาชดเชย มาจูงใจให้ผม (ผู้ได้สัมปทานในปัจจุบันที่จะไม่ได้ทำต่อ) ดำเนินการลงทุนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รัฐฯต้องบอกมาให้ชัดเจน ผมจะได้เอาค่าตอบแทนแรงจูงใจเหล่านี้ไปรวมคำนวนผลตอบแทนต่างๆให้รัฐฯในการประมูล

ถ้ารัฐไม่ออกมาตราการสนับสนุนจูงใจอะไรผมเลย ผมก็ตีว่า การสนับสนุนจูงใจเป็น “ศูนย์” ผมก็ดีดลูกคิด ยื่นซองประมูล และ “เข้าเกียร์ว่าง” ไปตามนั้น

4.มาตรการที่สนับสนุนให้ผู้ชนะประมูลภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิตลงทุน เพื่อรักษาระดับการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

เรื่องนี่เป็นธรรมดาครับ เราจะใช้สัญญาแบ่งปันผลผลิตเป็นครั้งแรก เงื่อนไขแบ่งปันจะต้องชัดเจน เป๊ะๆ ไม่งั้น เอกชนอย่างผมไม่สามารถนั่งเทียนเขียนข้อเสนอให้รัฐฯได้หรอก ใครได้อะไรอย่างไรเท่าไร อะไรหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ อะไรหักไม่ได้ อะไรลดภาษีได้ อะไรไม่ได้ ภาษีที่จุดไหนเท่าไร โอ๊ยยยย จิปาถะ เคลีย์ๆมาซะ

5.หลักการเกี่ยวกับราคาก๊าซธรรมชาติและผู้ซื้อ

อันนี้ก็นะ ปกติ ไม่มีอะไรต้องขยายความครับ จะสัญญิงสัญญากันไรกัน ก็ต้องบอกราคาขาย และ เงื่อนไขมา คนซื้อจะมีใครบ้างก็ว่ากันไป

ครับ … ก็มีที่อยากจะขยาาความกันก็ข้อ 1 – 3 อย่างที่ชวนคุยไปน่ะครับ

ไปอ่านข่าวกันเลยครับ

 

เตรียมหารือเคลียร์ 5 ประเด็นหลักการเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียม คาดประกาศทีโออาร์ ก.พ.61 พร้อมเผยมาตรการดูดซับปาล์มดิบ ดึงผู้ค้า ม.7 ช่วย 1 แสนตัน ยืนยันไม่กระทบต้นทุนแน่นอน

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประมูลแหล่งปิโตรเลียมเอราวัญและแหล่งบงกชที่จะหมดอายุสัมปทานในปี 2565-2566 (บงกช-เอราวัณ) ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดประมูล

โดยในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ ในระหว่างนี้จะมีการประชุมภายในระหว่างกระทรวงพลังงานและคณะทำงานจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) หารือ 5 ประเด็นสำคัญ เพื่อทำให้เกิดความชัดเจน รวมทั้งต้องคำนึงถึงการรักษาผลประโยชน์ของประเทศสูงสุด และช่วยให้มีผู้เข้าแข่งขันประมูลมากรายขึ้น

“คาดว่าหลังจากการหารือ จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่างๆ ในภายเดือน ม.ค.2561 และจากนั้นในเดือน ก.พ.2561 จะออกหนังสือเชิญชวนประกวดราคา (ทีโออาร์) ซึ่งจะได้ผู้ชนะประมูลเร็วกว่าปกติที่ต้องใช้เวลาพิจารณานาน 7-8 เดือน เพราะหลักเกณฑ์ที่ตกผลึกแล้วน่าจะช่วยทำให้ขั้นตอนต่างๆ สามารถดำเนินการได้รวดเร็วมากขึ้น” นายศิริกล่าว

ทั้งนี้ 5 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย

1.ข้อมูลปริมาณสำรองและปริมาณการผลิตในระดับความเป็นไปได้ต่างๆ กันในแหล่งที่มี และแหล่งที่ยังไม่ได้สำรวจ

2.เรื่องการรื้อถอนแท่นผลิตที่ไม่จำเป็น และการโอนแท่นที่ยังต้องการเก็บไว้ใช้งาน รวมถึงค่าใช้จ่ายการรื้อถอน

3.มาตรการที่สนับสนุนให้ผู้รับสัมปทานปัจจุบันลงทุนเพื่อรักษาระดับการผลิตจนสิ้นสุดอายุสัมปทาน

4.มาตรการที่สนับสนุนให้ผู้ชนะประมูลภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิตลงทุน เพื่อรักษาระดับการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง และ

5.หลักการเกี่ยวกับราคาก๊าซธรรมชาติและผู้ซื้อ

นายศิริกล่าวว่า ได้ร่วมมือกับผู้ผลิตไบโอดีเซล บี 100 และผู้ค้ามาตรา 7 เพื่อเก็บสำรองน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้น ซึ่งภายใน 1-2 เดือนนี้ผู้ค้ามาตรา 7 จะซื้อน้ำมันปาล์มดิบ 100,000 ตัน เพื่อนำไปใช้ในการผลิตบี 100 จำนวน 50,000 ตัน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตบี 100 อีก 2 ล้านลิตรต่อวัน หรือสต็อกเป็น 60 ล้านลิตร จากปัจจุบันที่มีการผลิตบี 100 จำนวน 4 ล้านลิตรต่อวัน และมีการใช้น้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 105,000 ตันต่อเดือน ยืนยันว่ามาตรการดังกล่าวไม่ทำให้ต้นทุนของผู้ค้ามาตรา 7 สูงขึ้น.

 

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------