ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Review Deepwater Horizon ข้อสังเกตุเล็กๆน้อยๆหลังจากดูหนัง

Review Deepwater Horizon ข้อสังเกตุเล็กๆน้อยๆหลังจากดูหนัง – ไปดูมาแล้วล่ะ มีข้อสังเกตุเล็กๆน้อยๆมาฝาก ไม่รู้เรียกว่ารีวิวได้ไหม เพราะว่าผมไม่ใช่นักวิจารณ์หนัง และ ผมก็ไม่เรียกว่าจับผิดด้วย เพราะผมไม่รู้จริงๆว่าที่ถูกมันคืออะไร

ผมเลยใช้คำว่า “ข้อสังเกตุเล็กๆน้อยๆ” เมื่อเทียบกับ (1) รายงานของ BP และ CCRM และ (2) เทียบกับที่ผมเคยเห็นมา ซึ่งทั้ง (1) และ (2) ก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องหรือเป็นความจริง

Review Deepwater Horizon

Review Deepwater Horizon

ข้อสังเกตุเล็กๆน้อยๆหลังจากดูหนัง

1.ลำดับการสั่งงาน (Line of command)

ตอนที่ OIM (แสดงโดย Kurt Russel) ไปถึงแท่นเจาะ พบว่าไม่ได้ตรวจสอบคุณภาพซีเมนต์ แล้วพยายามโทรฯหาลูกน้องบนแท่นขุดเจาะ แต่โทรศัพท์ภายในเสีย จึงให้พระเอกซึ่งเป็นช่างไฟขึ้นไปบน rig floor ไปถามลูกน้องของตัวเอง พระเอกก็ไปถาม roughsneck แล้วก็ไปถาม tool pusher และ driller ที่อยู่ในห้องควบคุม

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว เรื่องใหญ่แบบนี้ OIM ซึ่งเป็นพี่เบิ้มสุดของฝั่ง บ.แท่น สามารถโทรไปหา BP company man ซึ่งเป็นคนของ BP ได้โดยตรงเลย หรือไม่ก็อ่าน handover note ของ OIM คนที่เพิ่งสวนกลับขึ้น ฮ.ไป เสียก่อนว่า ทำหรือไม่ทำอะไรเพราะอะไร

2. Negative test

ในหนังวัดความดันที่ก้านเจาะได้ค่า 1395 psi แต่ไม่มีอะไรไหลออกมาจากก้านเจาะ BP Company man บอกว่า โอเค OIM บอกว่าไม่โอเค จึงทำ negative test อีกครั้ง คราวนี้วัดที่ kill line (ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้รบกวนอ่าน Negative test นะครับ) ปรากฏว่า kill line ไม่มีอะไรไหลออกมา แต่ความดันก้านเจาะก็ยังอยู่ที่ราวๆ 1400 psi แล้ว BP Company man เป็นคนอธิบายเรื่อง Bladder effect ว่าคือเหตุผลที่ความดันก้านเจาะอ่านได้ 1400 psi แต่ไม่มีอะไรไหลออกมาจาก kill line

ประเด็นคือ BP Company man เป็นฝ่ายบอกว่าโอเค แต่คนของแท่นบอกว่าไม่น่าจะโอเค

ในรายงานของ BP หน้า 39 เขียนไว้ชัดว่า คนของแท่นฯ(ในรายงานใช้คำว่า rig crew ไม่ได้ระบุตำแหน่ง)อยากใช้วิธีวัดความดันที่ก้านเจาะ แต่ในคู่มือบอกว่าให้วัดจาก kill line ทีนี้ Well site leader (ในรายงานฉบับนี้ใช้คำนี้ ซึ่งโดยปกติคำนี้จะหมายถึง company man ไม่ใช่ OIM) เห็นว่าวิธีที่คนของแท่นฯอยากทำกับคู่มือมันไม่ตรงกันนะ ก็เลยเรียกมาคุยกัน ก็ตกลงว่าจะวัดดูที่ kill line พอทำ negative test ผลก็เป็นอย่างในหนัง คือ ความดันก้านเจาะ 1400 psi แต่ไม่มีอะไรไหลออกจาก kill line

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ที่ต่างกับในหนังตรงนี้ครับ ในรายงาน BP หน้าถัดมา (หน้า 40) บอกว่า toolpusher และ driller (คนของ Transocean) เป็นคนอธิบายกับ well site leader (company man) ว่าเป็นเพราะ Bladder effect หรือ annulas compression แล้ว well site leader (company man) ยอมรับแนวความคิดนั้น จึงสรุปกันว่า หลุมผ่าน negative test

ในรายงานของ CCRM  หน้า 42 ก็เขียนไว้ตรงกันว่า  toolpusher เป็นคนอธิบายกับ company man เรื่อง Bladder effect หรือ annulas compression

ทั้งสองรายงานเขียนเหมือนกันว่า คนของ Transocean เอง เป็นคนโน้มน้าว company man ว่า negative test ผ่าน ซึ่งไม่ตรงกับในหนัง

3. การกระโดดลงน้ำจากลานจอดฮ.

อย่าที่เคยเล่าให้ฟังใน #ควรรู้ก่อนดูหนัง ตอน Mayday ว่าการโดดลงจากที่สูง “ด้วยตัวเอง” ในระดับความสูงหนึ่ง นี่ไม่ใช่เรื่อง่าย ดังนั้นเราจึงต้องฝึกกัน ถึงขนาดฝึกกัน ในสภาวะกดดันก็ยังมีคนแบบแอนเดรีย (ที่ขึ้นต้นเรื่องมาว่าเป็นสาวสวยแกร่งและเก่ง) ก็ยังสติแตก

4. บริษัทที่ทำการผสมและปั๊มซีเมนต์

ในหนังสื่อสารไม่ชัดว่า บ. อะไรเป็นคนผสมและปั๊มซีเมนต์ แถมมีตอนนึ่งด้วยที่พูดให้เข้าใจผิดว่า Schlumberger เป็นบริษัทที่ปั๊มซีเมนต์ จริงๆแล้ว บริษัทที่ปั๊มซีเมนต์คือ Halliburton

5. การไม่วัดคุณภาพซีเมนต์

ในหนัง BP company man เป็นคนสั่งให้ไม่ต้องวัดคุณภาพของซีเมนต์ และ สั่งให้ บริษัทที่ทำหน้าที่วัดคุณภาพซีเมนต์ (Schlumberger) กลับฝั่ง หนังทำให้เข้าใจว่า company man ตัดสินใจไปเพราะว่าต้องการประหยัดเงิน และ ประหยัดเวลา

ในรายงานของ BP หน้า 23 เขียนว่า เช้าวันที่ 20 เมษายน (วันเกิดเหตุ) Company man ได้ปรึกษากับ Halliburton เกี่ยวกับจะทำการวัดคุณภาพซีเมนต์ไหม แล้วสรุปว่า ไม่ต้องวัดคุณภาพซีเมนต์ โดยอ้างถึง decision tree (แนวทางเลือกในการตัดสินใจ) ใน drilling program (ใน drilling program บางทีจะเปิดช่องเอาไว้ว่า ในการทำ A ถ้าดูดีแล้ว ไรแล้ว ตามกฏโน้นนี่นั้นแล้ว ไม่มีอะไรผิดปกติ ก็ไม่ต้องทำ B ก็ได้ เพื่อเป็นการประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในงานบางอย่าง) ซึ่งดูตามนี้แล้วก็เห็นว่า company man ก็ทำตามกฏ

ในรายงานฉบับเดียวกันหน้า 36 ระบุว่า คู่มือของ BP (ในการนี้) บอกว่า ถ้าซีเมนต์ไม่ได้สูงกว่าชั้นหินกักเก็บ 1000 ft จะต้องตรวจวัดคุณภาพซีเมนต์ ในกรณี หลุมนี้ ซีเมนต์สูงถูกปั๊มสูงกว่าชั้นหินกักเก็บ 500 ft (มีเหตุผลทางวิศวกรรมที่รับได้) ซึ่งการตรวจวัดคุณภาพซีเมนต์นี้มักทำในขั้นตอนการผลิต(ไม่ใช่ตอนนี้)

ดังนั้นตามคู่มือฉบับนี้ company man ก็ทำถูก แต่ก็ไม่ได้ทำ รายงานการประเมินความเสี่ยง (Risk assessment report) ของการที่ความสูงของซีเมนต์ไม่ถึง 1000 ft และ ไม่ทำการประเมินคุณภาพซีเมนต์ เอาไว้

แต่ทีมสืบสวนสรุปว่า การที่ไม่ได้ทำ รายงานการประเมินความเสี่ยงที่ว่าเอาไว้นั้นถือว่าไม่ได้ทำตาม “เจตนา” ของคู่มือฉบับที่ว่า (คือไม่ผิดตรงๆ เพราะ คู่มือก็ไม่ได้บอกว่าต้องทำ รายงานการประเมินความเสี่ยง ในกรณีนี้ แต่ก็ถือว่าผิดอ้อมๆว่างั้นเถอะ) เพราะทีมสืบสวนมองว่า ถ้าได้มีการทำ รายงานการประเมินความเสี่ยง อาจจะทำให้ฉุกคิดขึ้นมาว่าน่าจะทำการตรวจสอบคุณภาพซีเมนต์หน่อยนะ

ในรายงานของ CCRM  หน้า 38 และ หน้า 60 ก็รายงานไว้คล้ายๆกันกับรายงานของ BP

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

6. ขนาดของแท่น และ องค์ประกอบ

คือดูเล็กในสายตามผมน่ะครับ แต่พอไปดูวีดีโอเบื้องหลังการสร้าง ก็พบว่า แท่นจำลองถูกสร้างเป็นขนาดย่อกว่าของจริง 85 % ก็โอล่ะ ถือว่าใกล้เคียง

7. ลักษณะพื้นทะเลขณะเกิดเหตุ

ในหนังดูพื้นทะเลกระเพื่อมๆประทุขึ้นมา ซึ่งไม่น่าจะเป็นแบบนั้น เพราะว่าน้ำมันที่พุ่งขึ้นมา ขึ้นมาจากข้างในท่อกรุ ขึ้นไปทาง riser (ท่อขาวๆใหญ่ๆที่เห็นตอนต้นเเรื่องอ่ะครับ) ไม่ได้ทะลุออกมาจากท่อกรุช่างที่ฝังอยู่ก้นทะเล แต่ก็เข้าใจแหละว่าหนังต้องการสร้างอารมณ์ร่วม

8. ห้องนอน OIM

แหม … OIM เนี้ยคือหัวหน้าสูงสุดของฝ่ายบ.แท่นเจาะเลยนะครับ Deepwater Horizon เนี้ย คนงานแท่นฯเรียกเปรียบไว้ว่าเป็น โรงแรมฮิลตันลอยน้ำ ห้อง OIM ในหนังอ่ะ แบบ ดูด๋อยมากๆเลย

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

เท่าที่สังเกตุได้ก็ราวๆนี้อะครับ อย่างที่เกริ่นไว้นะครับ ไม่ได้วิจารณ์ ไม่ได้จับผิด อะไร แค่เอามาเทียบกับรายงานสองฉบับนั่น (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าถูกต้องแม่นยำมากน้อยแค่ไหน) กับ เทียบกับที่ผมเคยรู้เคยเห็นมา(ซึ่งก็อาจจะไม่จริงก็ได้ ผมก็ไม่ได้ไปเห็นมาทั้งโลกหรือเห็นแท่นขุดมาทุกแบบทุกลำ)

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

3 comments

  1. สวัสดีครับ ผมขอเพิ่มเติมซักสามสี่ข้อพอดีวันนี้ได้โอกาสไปดูชมมา

    เรื่องแรก
    ตามข้อที่ 7 พื้นทะเลที่มันปุดๆออกมานั้นเป็นไปได้แต่ไม่ใช่ในกรณีของ Deepwater Horizonอาจจะเป็นไปได้ถ้าเป็น Shallow Gas Formation มัน Blowout อันนี้ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาดูอีกที
    เรื่องที่2
    ครับตอนที่ พระเอกพยายามจะเปิดประตูแล้วลวกมือ ปกติแล้วในการฝึก offshore หาเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจะต้องใช้หลังมือแตะดูก่อนว่าร้อนหรือไม่ เนื่องจากถ้าเกิดไฟใหม้แล้ว เราจะไม่รู้ว่ามีไฟอยู่อีกด้านนึงของประตูหรือเปล่า ส่วนเหตุผลที่ต้องใช้หลังมือก็คือ ถ้าใช้ฝ่ามือแบบ ท่านมาร์ค ของเรา มือก็จะโดนลวกแล้วอาจจะทำให้การไปสู่ที่ปลอดภัยลำบากเนื่องจากการจับปีนบันได (บันไดลิง)ก็จะทำไม่ได้ แต่คงเป็นเพราะว่าตื่นเต้นเค้าเลยไม่ได้คิด เป็นผมผมก็คิดอะไรไม่ออกเหมือนกันครับ เผลอๆ ฉี่ราดร้องไห้อยู่ไต้โต๊ะ
    เรื่องที่ 3
    ในreport ของ BP บอกว่า Subsea supervisor พยายามจะใช้การ ระบบ EDS Emergency Disconnect system .ในหนังเป็นต้องรอคุณลุง OIM มาปิด หากSpoil ขออภัยด้วย
    ส่วนเรื่องที่4
    ขอลงลึกหน่อยครับเกี่ยวกับ พระเอกของเรา BOP ซึ่งความเห็นส่วตัวผมเป็นอะไรที่น่าตกใจมากเลยคือระบบป้องกันดันมาเสียเอง
    ในหนังจะเห็นได้ว่า Annular BOP ทั้งสองได้ถูก ปิดลง แต่ในรีพอท จะเห็นได้ว่า Annular BOP ถูกปิดอันเดียว แล้วก็ ในหนังครับ Annular นั้นเวลาปิดแล้วแน่นสนิทไม่มีอะไรรั่วออกมาเลย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหา Annulus ได้ปิดสนิทแล้ว Influx จะไม่ขึ้นมาต่อ แต่ในความเป็นจริงคือหลังจากที่เกิด Pressure ที่สูงขึ้น ก้านเจาะหรือ Drill pipeถูกดันขึ้นมาทำให้ tool joint หรือข้อต่อของก้านเจาะมาอยู่ที่ Annular BOP ทำให้เกิดการปิดไม่สนิทแล้วเกิดการสึกกร่อนขึ้นจากการไหลของของเหลว หลังจากนั้นในหนังไม่ได้โชว์ให้ดูว่า VBR หรือ Variable Bore Ram ก็ปิดแล้วสามารถควบคุม การไหลใน Annular ได้สำเร็จแล้วหลังจาก ที่ไฟดับทำให้ DPไม่ทำงานจึงเกิดการ Drift off (แท่นลอยออกจากตำแหน่งที่ควรอยู่ ทำให้ drilling riser คดงอ) ของแท่นเจาะ AMF/Deadman (อุปกรณ์อัตโนมัติที่ส่งสัญญาณไปให้ Blind shear ram หรือตัวตัดก้านเจาะ ทำงาน) ก็ทำงานแต่เนื่องจากก้านเจาะมี Pressure อยู่ด้านในมากๆ จึงทำให้เกิดการคดจาก effective compression (https://si.wsj.net/public/resources/images/NA-CB470_BLOWOU_G_20140605184505.jpg) ตามลิงค์เลยครับจะได้เห็นภาพ แต่ในหนังจะเห็นได้ว่าท่ออยู่ตรงกลาเด๊ะเลยแล้วก็ตัดไม่ขาด

    เรื่องสุดท้ายก็คือ ในหนังโจมตี BP มากมาย ซึ่งในความเห็นส่วนตัวผม เหตุการณ์ครั้งนี้ถือว่าเป็นอะไรที่ ซวยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ (ผมเคยทำ fault treeกะ event tree analysis , ตามการคำณวณของผมนะครับ โอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ อิงตามสถิติ มีแค่ 3.3515* 10^(-7) ต่อ ปี ) ไม่ใช่ BP ที่ผิดคนเดียว แต่ BP โดนโทษหนักมากแล้วโดนปรับหลายตังค์เลย แต่ในท้ายที่สุด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็เป็นครูให้กับ บริษัททั้งหลาย หลังจากเกิดเหตุการณ์ Macondo blowout นี้ขึ้น

    ผิดถูกอย่างไร ก็ขอโทษล่วงหน้าก่อนนะครับ

    1. เป๊ะครับ … เห็นด้วยเลย ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมคร๊าบบบบบบบบ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------