ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

petroleum fiscal regime ระบบการคลังปิโตรเลียมแบบง่ายๆ

petroleum fiscal regime ระบบการคลังปิโตรเลียมแบบง่ายๆ วันนี้หนีเรื่องเทคนิคหนักๆสักวัน มาดูเรื่องระบบการคลังปิโตรเลียมกัน เอาแบบง่ายๆสุดๆเลยนะครับว่าระบบการคลังปิโตรเลียมคืออะไร

petroleum fiscal regime

เรื่องของเรื่องคือประเทศๆหนึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็น แร่ น้ำมัน ก๊าซ ป่าไม้ ปลาทะเล หรือ แม้แต่ที่จับต้องไม่ได้เช่น ความถี่คลื่นวิทยุ หรือ เส้นทางเดินรถ เดินเรือ แล้วประเทศนั้นต้องการเอาสิ่งนี้แหละมาใช้ประโยชน์โดยที่ไม่ต้องลงทุนเอง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ช่าง (เช่น ถ้าทำเองประสิทธิภาพจะด้อยกว่าเพราะระบบราชการ หรือไม่มีทุนทำเอง หรือไม่มีเทคโนโลยี หรือ อยากให้เกิดการแข่งขันเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ฯลฯ) ประเทศนั้นก็ต้องสร้างระบบขึ้นมาเพื่อจัดสรรบริหารทรัพยากรธรรมชาตินั้นๆ

ทั่วโลกเนี้ยเขาแบ่งระบบที่ว่าเป็นสองระบบใหญ่ๆ คือ ระบบสัมประทาน และ ระบบสัญญา

  1. ระบบสัมประทาน หัวใจหลักของระบบนี้คือ ประเทศโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรธรรมชาตินั้นๆแต่เอกชนในช่วงเวลาที่กำหนด เอกชนสามารถเอาสิทธิ์นั้นไปใช้ประโยชน์ได้ภายในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น ผลิตน้ำมันขึ้นมาขาย หรือ เดินเรือเดินรถในเส้นทางที่ได้สัมประทาน โดยแลกกับการจ่ายค่าตอบแทนให้กับประเทศนั้นๆ ซึ่ง ค่าตอบแทนที่ว่านั้นก็มีมากมายแล้วแต่จะเรียกกัน อาจจะคงที่หรือแปรผันอะไรยังไงก็ได้ แล้วแต่จะร่างจะประดิษฐ์คำพูดหรือกลไกขึ้นมา เช่น เรียกว่าค่าภาคหลวง ภาษี โบนัส ฯลฯ
  2. ระบบสัญญา หัวใจหลักของระบบนี้คือทรัพยากรยังคงเป็นของประเทศนั้นๆ แต่เอกชนมาทำสัญญาเอาไปใช้ประโยชน์ แล้วให้ผลประโยชน์กันตามที่ตกลงไว้ในสัญญา ระบบสัญญานี้ก็มีหลากหลายแบบมากๆ เอาที่หลักๆก็แล้วกันนะครับว่าเขาแบ่งย่อยๆกันอย่างไร
    1. สัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract) เช่น เอกชนลงทุนสำรวจและผลิตน้ำมันมาได้ 100 ถัง เอกชนเอาไป 40 ถัง ประเทศได้ไป 60 ถัง เอาผลผลิตที่ได้มาแบ่งกัน ไม่มีเงินมาเกี่ยว กลไกการแบ่งก็ว่ากันไป จะขั้นบันได จะคงที่ จะมีค่าปรับถ้าแบ่งไม่ได้ขั้นต่ำ ฯลฯ สารพัดจะร่างสัญญาขึ้นมาได้
    2. สัญญาจ้างผลิต (Service Contract) เหมือนจ้างเอกชนสำรวจและผลิตน้ำมัน ผลิตได้ 100 ถังก็เป็นของประเทศ 100 ถัง ประเทศก็จ่ายเป็นเงินค่าจ้างไป ซึ่งก็แบ่งเป็นย่อยๆได้อีก 2 แบบใหญ่ๆ สังเกตุว่าผลผลิตเป็นของประเทศทั้งหมด แต่ประเทศใช้เงินจ่าย
      1. จ่ายค่าจ้างคงที่ จะผลิตได้กี่ถังก็จ่าย 100 บาท
      2. แบ่งปันความเสี่ยง ผลิตได้น้อยก็จ่ายค่าจ้างน้อย ผลิตได้มากก็จ่ายค่าจ้างมาก
    3. สัญญาซื้อคืน หัวใจของแบบนี้คือให้สิทธิเอกชนที่จ้างมาผลิต สามารถซื้อน้ำมันที่ผลิตได้ในเงื่อนไขราคาหนึ่งๆ พูดง่ายๆคือ ประเทศไม่ต้องจ่ายค่าผลิตเป็นเงิน แต่จ่ายเป็นน้ำมันที่ผลิตได้ด้วยเงื่อนไขพิเศษเช่นราคาต่ำกว่าท้องตลาด เพื่อให้เอกชนเอาไปขายต่อทำกำไร
    4. สัญญาช่วยผลิตทางเทคนิค อันนี้ก็มักจะใช้ในลักษณะที่ประเทศมีการผลิตอยู่แล้ว ประมาณนึง เช่น พื้นที่ตรงนี้ปกติผลิตได้เดือนล่ะ 100 ถัง แล้วจ้างเอกชนมาใช้เทคนิคต่างๆเพื่อให้ผลิตได้มากขึ้น (production enhancement) แล้วก็จ่ายให้เอกชนเป็นสัดส่วนที่แปรผันกับผลิตผลิตที่เพิ่ม เช่น เอกชนมาช่วยแล้วทำให้ผลิตได้เดือนล่ะ 150 ถัง ก็จ่ายไปส่วนเพิ่มถังล่ะ 1 บาท เอกชนก็เอาไป 50 บาท เป็นต้น

ทุกระบบมีทั้งข้อดีและข้อด้อย ขึ้นอยู่กับประเภทชนิดปริมาณความยากง่ายของการทำประโยชน์จากทรัพยากรนั้นๆ ไม่มีกฏตายตัวว่าระบบไหนดีกว่าระบบไหน ทุกระบบจะถูกออกแบบมาให้เอื้อฝ่ายประเทศหรือฝ่ายเอกชนยังไงก็ได้ ออกแบบระบบให้ซับซ้อนมากๆก็ยังได้ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ถ้าออกแบบระบบให้เอื้อฝ่ายประเทศเจ้าของทรัพยากรมากไป เอกชนเขาดีดลูกคิดเป็น คิดแล้วไม่คุ้มเขาก็ไม่มาประมูล ไม่มาทำสัญญิงสัญญาด้วย ไม่ว่าจะตั้งชื่อระบบนั้นว่าอย่างไร เรียกชื่อระบบนั้นสวยหรูอย่างไรก็ตาม …

 

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

petroleum fiscal regime

อ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Petroleum_fiscal_regime

petroleum fiscal regime Concessionary systems

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

The principle of the concessionary license system is that the state transfers its ownership of resources in the subsurface to a commercial entity, often a partnership of companies. The companies obtain exclusive rights to extract crude oil and natural gas in a defined area for a limited time. If more than one company are assigned a license, the government will provide a joint operating agreement which states each partners equity share. One of the companies is often assigned the operator role, who carry out the actual work on behalf of the group.

Contractual systems

In contractual systems, the state retains its ownership to hydrocarbon resources. A commercial entity, the contractor company, is being engaged to extract petroleum according to some contract. The countries using this type of systems, often have their state-owned oil company to represent the interests of the state. As of concessionary systems, more than one oil company can make partnerships in the license. Most used variants of contract:

Production sharing contracts – The contractor receives his compensation in terms of raw materials taken from the ground, oil and / or gas.

Service contracts – Generally, the contractors are paid in cash for their services, in pure service contacts there are agreed a fixed compensation, while in risk service contracts the contractor accepts to share risks by linking his compensation to the success of the project.

Buyback contracts – The contracts have an option for the contractor to buy petroleum produced by the project at some defined terms. This type of contract is in use in Iran.

Technical assistance contracts – This is a type of contract used for development projects on oil fields already in production, the purpose of a project may be to enhance the production facilities, to add on extra infrastructures etc.

ประมูลสัมปะทาน ปิโตรเลียม รอบที่ 21 เหลียวมองข้างหลังก่อนจะก้าวไปข้างหน้า

ประมูลสัมปะทาน ปิโตรเลียม รอบที่ 21 เหลียวมองข้างหลังก่อนจะก้าวไปข้างหน้า

 

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------