ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

PDC bit หัวเจาะเพชร (เทียม) Polycrystalline Diamond Compact

PDC bit หัวเจาะเพชร (เทียม) Polycrystalline Diamond Compact – มาต่อกันครับ หัวเจาะประเภทที่สอง ใครพลาดตอนแรก คลิ๊กที่นี่ครับ

Drill Bit … หัวเจาะ คืออะไร ทำงานอย่างไร แบ่งเป็นกี่ประเภท ข้อจำกัด

https://nongferndaddy.com/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0-drill-bit/

แบบที่สองนี้เราเรียกย่อๆว่า PDC bit หรือ หัวเจาะแบบ PDC หรือ จะเรียกอีกอย่างว่า fixed cutters bit คือ เรียกให้มันตรงข้ามกับหัวเจาะประเภทแรกที่เราเรียกว่า roller cone bit (cone หมุนได้)

PDC bit หัวเจาะเพชร (เทียม)

Polycrystalline Diamond Compact

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

PDC ย่อมาจาก Polycrystalline Diamond Compact ครับ มันคืออะไร อืม .. อธิบายง่ายๆครับ มันคือเพชรเทียมนั่นเองครับ

เอาผงคาร์บอนมาอัดที่ความร้อน ความดัน สูงๆ จนกลายเป็นเพชรนั่นแหละครับ ไม่ได้แปลกอะไร ในอุตสาหกรรมอื่นๆเขาก็เอา PDC มาใช้กัน มีผู้ผลิตหลายรายในโลกนี้ ผลิตกันออกมากขาย บ.ผลิตหัวเจาะก็ไปสั่งซื้อเอามาทำหัวเจาะกัน

ได้ PDC มาแล้วก็เอามาแปะไว้กับฐานทรงกระบอก (substrate) ที่ทำด้วย tungsten carbide ดูในรูปครับ

PDC bit

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ส่วนที่เป็น Polycrystalline Diamond Compact จะสีดำเข้มๆ บางๆ ส่วนที่เป็นเงาๆคือฐานที่ทำด้วย tungsten carbide พอเอามารวมกันแล้ว เราเรียกชิ้นนี้ว่า Polycrystalline Diamond Compact cutter เจ้าฐาน tungsten carbide นี่ก็มี 2 แบบใหญ่ๆคือแบบทรงกระบอกธรรมดาๆ ที่เรียกว่า cylinder และ แบบแท่ง ที่เรียกว่า post

PDC bit

cylinder คือ แบบซ้ายมือ แบบขวามือคือแบบ post ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ๆไว้จะกล่าวถึงทีหลัง

ส่วนตัว body ของหัวเจาะมี 2 ประเภท คือ เหล็ก และ matrix (โลหะผสม) ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ๆไว้จะกล่าวถึงทีหลัง (อีกแล้ว) อะ อะ หน้าตาตัว body พอเอา cutters มาใส่แล้วก็หล่อเหลา ประมาณนี้ครับ

PDC bitPDC bitPDC bitPDC bit

เป็นไงครับ หน้าตาหล่อเหลาเอาการประมาณนึงเลยใช่ไหมครับ

มาดูกลไกการเจาะกัน ที่ให้จำไว้ว่าหัวเจาะแบบ roller cone หรือ rock bit นั้น ใช้หลักการ crunching หรือ hammering กด กระแทก ใช่ไหมครับ แต่หัวเจาะแบบ PDC นี้ใช้หลักการเฉือน หรือ shear ครับ ดูรูปข้างล่างนี้จะเข้าใจมากขึ้น

195px-Devol2_1102final_Page_244_Image_0002 ตัว cutter จะเฉือน ปาดเอาหินออกไปเป็นลิ่มๆ ชิ้นๆ เมื่อเทียบกับ crunching หรือ hammering กด กระแทก ดูรูปล่างอีกที

254px-Devol2_1102final_Page_223_Image_0002

ที่เน้นย้ำกันตรงนี้ เพราะว่าจะทำให้เข้าใจเทคนิคการขุดได้ดีขึ้น เพราะว่า PDC ใช้หลักการเฉือน ปาด หินออกมาเป็นชิ้นๆ ดังนั้น แรงบิดที่ก้านเจาะขณะขุดจะสูงกว่าหัวเจาะแบบ rock bit ครับ จึงไม่แปลกที่ตอนเจาะ จะเห็นค่าแรงบิดที่ตัวขับก้านเจาะ (TDS – Top Drive System)สูง

ตอนที่ออกมาสู่ตลาดใหม่ๆ ยังไม่มีคนเข้าใจหลักการดีนัก จึงตกอกตกใจว่า เกิดอะไรขึ้น สรุปง่ายๆบ้านๆคือ rock bit ขุดด้วยน้ำหนัก ยิ่งหนัก ยิ่งดี หัวเจาะแบบ PDC ก็ขุดด้วยน้ำหนัก แต่ไม่ต้องใช้มาก กดน้ำหนักลงให้พอให้ cutter จิกเข้าไปในหินแล้วใช้แรงบิดปั่นเอา

ดูดีมีชาติตระกูลไหมครับ แต่อย่าเพิ่งสรุปว่าดีกว่า Rock bit มันแค่ใช้งานกับชั้นหินที่ตอบสนองการ กดกระแทก หรือ เฉือน ได้ต่างกันครับ

หินบางชนิดเปราะ กดกระแทก ก็แตกหลุดเป็นชิ้นๆ แต่เฉือนไม่ได้ หินบางประเภทก็ เฉือนได้ง่าย แต่กดแล้วไม่แตก อันนี้ไปเรียนต่อในวิชา rock mechanic เอานะครับ ว่าอะไรมันยังไง 555 แต่ว่า โดยทั่วๆไปนะครับ

การกดแล้วเฉือนจะมีประสทธิภาพในการทำลายหิน(แปลตรงๆจาก rock failure) มากกว่าแบบกดกระแทก หมายความว่า การกดแล้วเฉือนใช้พลังงานในการทำลายเนื้อหิน(ก็ขุดนั่นแหละ)น้อยกว่าการกดกระแทก (ที่ปริมาตรหินเท่ากันและเวลาในการทำลายเท่ากัน)

ต่อมาเรามาดูเรื่องที่แปะค้างไว้ว่า ฐาน tungsten carbide ที่เรียกว่า cylinder และ แบบแท่ง ที่เรียกว่า post ดี-ด้อย ต่างกันอย่างไร จำไว้อย่างนะครับ ในโลกของวิศวกรรม ไม่มีอะไรดีไปหมดเสียไปหมด ได้อย่างเสียอย่างเสมอครับ (จริงๆก็ทุกอย่างในชีวิตนั่นแหละครับ ไม่แต่เฉพาะโลกวิศวกรรม …)

Cylinder – เล็ก ใช้เนื้อที่ในตัว bit body น้อย ทำให้แปะได้หลายๆ cutter เหมาะกับ bit ที่ต้องการ cutter เยอะๆ แต่ข้อเสียคือ มันหลุดจากตัว body ง่าย และไม่แข็งแรง(เมื่อเทียบกับแบบ post) ใช้ได้ทั้งกับ body แบบ เหล็ก และ metrix

Post – ก็ตรงกันข้ามครับ ใหญ่ กินที่ เหมาะกับ bit ที่ต้องการ cutter ใหญ่ๆ แต่จำนวนไม่มาก แข็งแรง บึกบึน ทนมือทนเท้า 555 แต่ใช้ได้แต่กับเฉพาะ body แบบ เหล็ก เพราะเราต้องเจาะตัว body ของเหล็กเข้าไป เอา post ไปฝัง ส่วน body แบบ matrix เจาะไม่ได้ครับ body แบบ matrix ได้มาจากการหล่อเป็นชิ้นๆขึ้นมา

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

แล้วก็มาต่อเลยที่ข้อดีข้อด้อยของ Body แบบ Steel กับ Matrix

matrix – ทนกัดกร่อน (corrosion) และสึกกร่อน (erosion) ได้ดี ทน ใช้แล้ว ถ้า body ไม่เสียหายสึกหรอมาก เอามาเปลี่ยน cutter ได้ นอกจากนี้ ยังแข็ง นั่นคือ ทนแรงกดได้สูง (compressive load) แต่ เปราะ (brittle) คือ ทน แรงกระแทก (impact load) ไม่ค่อยได้ดีเท่า steel เนื่องจากเกิดจากการหล่อ และ แข็งแรง จึงสามารถขึ้นรูปให้มีหลายๆแฉก(blade) แต่ล่ะแฉกจะบางๆ ได้ง่าย เหมาะกับการขุดหินที่ต้องใช้ cutter เล็กๆ เยอะๆ เพราะมีที่ให้แปะ cutter เยอะ และสุดท้าย แพง อิอิ

steel – คุณสมบัติของเหล็กคือ เหนียว แต่ยืดหยุด ทนกัดกร่อน (corrosion) และสึกกร่อน (erosion) ได้ไม่ดี โดยมากไม่ทน เอามาซ่อมเปลี่ยน cutter ไม่ค่อยคุ้ม ส่วนใหญ่ ใช้ครั้งเดียวจบ โยนทิ้ง ทนแรงกดได้ไม่ดี แต่ทนแรงกระแทกได้ดีเนื่องจากยืดหยุ่นกว่า กลึงเป็นหลายๆแฉกไม่ค่อยได้ เพราะ แต่ละแฉกจะเล็กและทนแรงกดไม่ได้ จึงเหมาะกับ แฉกน้อยๆ เสียบ cutter โตๆ ไม่ต้องใช้หลาย cutter และสุดท้าย ราคาถูก ครับ

ส่วนการใช้งานก็ขึ้นกับหลายๆเรื่องเลยครับว่าจะให้ กี่แฉก กี่ cutter ขนาด cutter รูปทรง cutter ลักษณะโค้งของแฉก จะโค้งคว่ำโค้งหงาย โค้งทวนเข็มนาฬิกา ตามเข็มนาฬิกา องศา cutter องศาของแฉก ล้านแปดปัจจัยครับ ว่าต้องแบบไหนถึงจะเหมาะกับขุดอะไร เรื่องหัวเจาะเนี้ยเป็นอาชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้องผมมาได้หลายปีเลยครับ

อย่าเพิ่งหลับไปนะครับ

PDC ยังมีแบบย่อยลงไปอีก เรียกว่า TSP ย่อมาจาก Thermally Stable Polycrystalline (TSP) คือ PDC  ที่ทนความร้อนได้สูง เหมาะกับการขุดที่ต้องใช้ความเร็วรอบหมุน ที่สูง (high RPM)

PDC โดยทั่วไปจะกลัวร้อน นั่นคือ พอปั่นเร็วๆ หมุนเร็วๆ ก็เสียดสีกับหิน แล้วเกิดความร้อนสูง พอสูงได้ที่ PDC ก็กลับบ้านเก่า คือ แปลงร่างกลับไปเป็นผงคาร์บอนครับ เลยพัฒนา TSP ขึ้นมาให้ทนความร้อนสูงได้ แต่ก็นะ ได้อย่าเสียอย่าง TSP ทนร้อนได้สูงๆจริง

แต่มันเปราะ กระแทก กดแรง ก็ไม่ได้ จึงเหมาะกับกับการเจาะแบบนิ่งๆเนียนๆ กดเน้นๆ ไม่กระเด้งกระดอน แล้ว ปั่น(RPM)เร็วๆ ข้างล่างนี่ก็เป็นตัวอย่างรูปของ TSP bit กูเกิลเอาก็ได้ครับ มีเยอะแบบมาก

2687d5b0-1db7-484c-b59c-106f12b04e973096a204-b774-40bf-a61a-2955c5cf8ee9

ส่วนเจ้าตัว TSP ก็หน้าตาประมาณนี้ครับ

China_TSP_diamond_cutter_1_5x1_5x5_for_oil_drilling_bits20141231302226381

… ส่งท้าย

รู้จัก ลา กับ ฬ่อ (ล่อ),  Ti-Liger, Ti-Tigon, Li-Tigon, Li-Liger (สิงโต ผสม เสือ ขึ้นอยู่กับว่า ใครตัวผู้ใครตัวเมีย), Walphin (วาฬ ผสม โลมา) หรือ ม้าผสมม้าลาย ไหมครับ ผสมกันข้ามสายพันธ์ (ลูกที่ได้มักจะเป็นรหมัน) วงการหัวเจาะก็ไม่น้อยหน้าครับ

ผสมพันธ์กันออกมาได้หน้าตาประมาณนี้ครับ 555 เป็นหมันไหม … อืม … ไม่รู้ครับ

1807-1775-jistm-11-3-0645-gf05

ยังไม่จบนะครับ ยังเหลือหัวเจาะอีกประเภทนึง โปรดติดตามตอนต่อไป … 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------