ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Memory and Forgotten เอ๊ะ … ที่ตรงนี้มันเคยเป็นอะไรนะ

Memory and Forgotten เอ๊ะ … ที่ตรงนี้มันเคยเป็นอะไรนะ – ชื่อตอนข้างบนเป็นคำอุทานของผมเมื่อเช้านี้ตอนนั่งมาในรถกะป้อในซอยยาวกิโลนิดๆที่ผมอยู่มา 14 ปี

อยู่มานานจนคิดว่าตัวเองจำทุกอย่างสองข้างทางได้จนหมดแล้ว

Memory and Forgotten

ภาพที่ผมเห็นคือพื้นที่โล่งเตียนขนาดใหญ่ มีรถขนดิน 2 – 3 คัน จอดอยู่กับรถบดอีก 1 คัน ทำให้ผมพยายามคิดว่า เอ๊ะ … ที่ตรงนี้มันเคยเป็นอะไรนะ … คิดเท่าไรก็คิดไม่ออก

ทำให้ผมไพล่ไปนึกถึงสารคดีเรื่องหนึ่งที่เคยดูมานานแล้วล่ะ เกี่ยวกับความทรงจำของคนเรา

สารคดีเล่าเรื่องทฤษฎีความทรงจำของเรา ว่าเป็นไงมาไง และทฤษฎีที่ล่าสุดนั้นว่าไว้อย่างไร

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ผมจำไม่ได้หมดตลอดเรื่อง จำได้แค่ 2 ทฤษฎีล่าสุด

ทฤษฎีหนึ่งบอกว่า เราเก็บความทรงจำเหมือนห้องสมุดเก็บหนังสือ เก็บไว้ในที่ๆหนึ่งในสมอง เวลาจะคิดถึง หรือ เอามาใช้ ก็จะดึงออกมา แล้วส่งมาที่สมองส่วนประมวลผล (CPU) แล้วคลี่ออกดู แล้วเก็บกลับคืนไปในที่ๆเดิม (ด้วยกลไกอันซับซ้อนทางไฟฟ้าเคมีของระบบสารสื่อประสาท)

ต่อมาทฤษฎีนี้ก็ถูกลบล้างด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์หลายๆอย่าง เช่น การลบเลือน หรือ ผิดพลาดไปของความทรงจำ และ การที่สมองส่วนเก็บความทรงจำเสียหายไปทั้งหมด แต่ทำไมยังสามารถกู้ความทรงจำกลับคืนมาได้บางส่วน …

ทฤษฎีถัดมาบอกว่า เราเก็บความทรงจำเป็นชิ้นๆส่วนๆ เหมือนจิ๊กซอ เราเก็บแต่ล่ะชิ้นไว้ที่ส่วนต่างๆกันของสมอง เช่น ส่วนที่เป็นภาพเก็บไว้ที่หนึ่ง กลิ่นที่หนึ่ง สีที่หนึ่ง อารมณ์ที่หนึ่ง เป็นต้น

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

Memory and Forgotten

เมื่อเวลาเราจะใช้ จะนึกถึงมัน เราก็จะจะดึงเอาจิ๊กซอแต่ล่ะชิ้นนั้นมาที่สมองส่วนประมวลผล (CPU) ประกอบมันเข้าด้วยกัน ใช้งานมัน แล้วถอดเป็นชิ้นๆ ที่อาจจะเป็นชิ้นที่เหมือนหรือไม่เหมือนเดิม แล้วแยกเอาไปเก็บ อาจจะเก็บไว้ที่เดิม หรือ คนล่ะที่ก็ได้

นั่นอธิบายได้ว่า ทำไมเวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วสมองส่วนหนึ่งเสียหาย แต่ยังกู้ความทรงจำขึ้นมาได้บางส่วน เหมือนกับแผ่นดิสค์ (floppy disk หรือ hard disk) ที่เก็บข้อมูลแบบสุ่ม เวลาที่แผ่นดิสค์เสียหายบางส่วนแล้วยังสามารถกู้ไฟล์บางส่วนคืนได้ และสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมข้อมูลเพี้ยนไปได้ เพราะมีการประกอบและถอดทุกครั้งที่หยิบมาใช้งาน

ด้วยกลไกตามทฤษฎีนี้ ทำให้เราสามารถอธิบายความงดงามของธรรมชาติได้อย่างหนึ่งก็คือ การที่เรา “สามารถลืมได้”

แต่เรา “ไม่สามารถเลือกเรื่องที่จะลืม” ได้ …

น่าคิดไหมครับ …

แวะพักตรงนี้ไว้นิดหนึ่ง จะชวนไปดูหนังเรื่องหนึ่ง นานแล้วครับ จำได้ว่าฉายในปี 1999 เรื่อง Bicentennial man (ชื่อไทย บุรุษสองศตวรรษ) เรื่องโดย ไอแซค อสิมอฟ เจ้าแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ แสดงโดย ตำนานของวงการฮอลลีวู้ด โรบิน วิลเลียม

Memory and Forgotten

หนังกล่าวถึงความเป็นไปของหุ่นยนต์ที่มีความเข้าใกล้มนุษย์มากๆ อยู่รับใช้ และ คลุกคลี กับมนุษย์ จนพัฒนาความเป็นมุษย์ในด้านอารมณ์และความรู้สึก เห็นการเกิดแก่เจ็บตายของมนุษย์ ความทรงจำ ดีใจ-เสียใจ-ความโศกเศร้าซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ตัวเองไม่ตายเสียทีเพราะเป็นหุ่นยนต์

พัฒนาตนเองจนเกิดความรักขึ้นกับมนุษย์ จึงทำเรื่องร้องขอไปยังสภาโลก ขอให้สามารถแต่งงานกับมนุษย์ได้ แต่สภาโลกไม่อนุมัติ ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่สามารถให้มนุษย์แต่งงานกับหุ่นยนต์ที่ไม่มีวันตายได้ ….

พระเอกที่เป็นหุ่นยนต์จึงได้พยายามเปลี่ยน (modify) ตัวเองให้สามารถตายได้ เพื่อที่จะได้แต่งงาน และ เพื่อที่จะ “สามารถตาย” ไปกับผู้หญิงคนที่เขารัก …

… ขอทิ้งไว้แค่นี้แหละ เดี๋ยวไปดูหนังแล้วไม่สนุก เชื่อว่าหาดูได้ในหนังออนไลน์ทั่วไป

ที่แวะพักชวนดูหนัง ก็เพราะส่วนหนึ่งของหนัง พูดถึงความทรงจำ …

มีตอนหนึ่งพระเอกที่เป็นหุ่นยนต์กล่าวว่า การมีความทรงจำที่เป็นอมตะนั้นคือการลงโทษ ไม่ใช่พรสวรรค์หรือสิ่งที่น่ายินดี เพราะเขาไม่สามารถลืม หรือ บรรเทาความทุกข์โศกเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรที่ผ่านมา ตรงกันข้าม การลืมต่างหากคือของขวัญของพระเจ้าที่ประทานมาให้มนุษย์ ซึ่งหุ่นยนต์อย่างเขาไม่มีวันจะมีของขวัญแบบนั้น

… น่าคิดนะครับ

ในขณะที่มนุษย์แสวงหายาอายุวัฒนะ แสวงหาความเป็นอมตะ แสวงหาความทรงจำที่เป็นเลิศ อยากรู้ และ เข้าใจทุกอย่างในจักรวาล …

… เราลืมไปหรือไม่ว่า ความไม่เป็นอมตะ ความไม่รู้เสียบ้างในบางเรื่อง และ ความทรงจำที่ไม่ยั่งยืน นั่นต่างหาก คือ ความล้ำค่า และ ความสวยงามของการเกิดเป็นมนุษย์

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

เราลืมได้ แต่เราเลือกเรื่องที่จะลืมไม่ได้ …

… อาจจะฟังดูน่าเศร้า แต่สำหรับผม ผมว่ามันทำให้ชีวิตสมบูรณ์แบบอย่างที่ชีวิตควรจะเป็น

อ่านเพิ่มเติม … https://en.wikipedia.org/wiki/Memory

Memory is the faculty of the brain by which data or information is encoded, stored, and retrieved when needed. It is the retention of information over time for the purpose of influencing future action.[1] If past events could not be remembered, it would be impossible for language, relationships, or personal identity to develop.[2] Memory loss is usually described as forgetfulness or amnesia.[3][4][5][6][7][8]

Memory is often understood as an informational processing system with explicit and implicit functioning that is made up of a sensory processorshort-term (or working) memory, and long-term memory.[9] This can be related to the neuron. The sensory processor allows information from the outside world to be sensed in the form of chemical and physical stimuli and attended to various levels of focus and intent. Working memory serves as an encoding and retrieval processor. Information in the form of stimuli is encoded in accordance with explicit or implicit functions by the working memory processor. The working memory also retrieves information from previously stored material. Finally, the function of long-term memory is to store data through various categorical models or systems.[9]

Declarative, or explicit, memory is the conscious storage and recollection of data.[10] Under declarative memory resides semantic and episodic memory. Semantic memory refers to memory that is encoded with specific meaning,[2] while episodic memory refers to information that is encoded along a spatial and temporal plane.[11][12][13] Declarative memory is usually the primary process thought of when referencing memory.[2] Non-declarative, or implicit, memory is the unconscious storage and recollection of information.[14] An example of a non-declarative process would be the unconscious learning or retrieval of information by way of procedural memory, or a priming phenomenon.[2][14][15] Priming is the process of subliminally arousing specific responses from memory and shows that not all memory is consciously activated,[15] whereas procedural memory is the slow and gradual learning of skills that often occurs without conscious attention to learning.[2][14]

Memory is not a perfect processor, and is affected by many factors. The ways by which information is encoded, stored, and retrieved can all be corrupted. The amount of attention given new stimuli can diminish the amount of information that becomes encoded for storage.[2] Also, the storage process can become corrupted by physical damage to areas of the brain that are associated with memory storage, such as the hippocampus.[16][17] Finally, the retrieval of information from long-term memory can be disrupted because of decay within long-term memory.[2] Normal functioning, decay over time, and brain damage all affect the accuracy and capacity of the memory.[18][19]

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------