ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

แท่นขุดเจาะ แบบ Jack up vs. แบบ Tender barge เลือกแบบไหนมาใช้งานดี

MODU (Mobile Offshore Drilling Unit) คือ แท่นขุดเจาะ แบบเคลื่อนที่ไปมาได้ (ไม่ว่าจะโดนลากไป หรือ มีเครื่องยนต์ไปได้ด้วยตัวเอง) ที่เราใช้นอกชายฝั่ง

ในอ่าวไทยเรานี้มี แท่นขุดเจาะประเภทนี้ลอยไปลอยมาอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แท่นขุดเจาะ แบบ jack up และ แบบ tender barge พวกเราเคยสงสัยกันไหมครับว่า ทำไม บ.น้ำมัน (Oil company) ถึงเลือกเช่าแท่นขุดเจาะจาก บริษัทแท่นขุด (Rig company) แบบใดแบบหนึ่งมาใช้งาน

ถามว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับเราๆท่านๆที่ทำงานกันบนนั้นหรือไม่ บ.น้ำมันจะเลือก แท่นขุดเจาะ แบบไหนก็ ถ้าเราเป็นคนของ บ.service (Service Company) ก็เลือกไม่ได้อยู่ดี ก็ต้องขึ้นไปทำงาน

จะว่าไปมันก็จริง เราไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรโดยตรง แต่ก็นะ เราอยู่ในวงการนี้ รู้ไว้ประดับสมอง เวลาเราไปคุยกันเอง หรือ คุยกับคนนอกวงการ มันดู cool ดูเท่ห์ มีความรู้ ไม่ใช่ไก่กาที่สักแต่ขึ้นไปขายแรงงานบน แท่นขุดเจาะ เหล่านั้น

ก่อนอื่นเรามารู้จัก แท่นขุดเจาะ ท้้งสองแบบนี้กันก่อน เอาแบบพอเป็นน้ำจิ้มๆนะ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

แท่นขุดเจาะแบบ Jack up and Tender barge

แท่นขุดเจาะ แบบ Jack up

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร ถ้าจะแปลแบบตรงๆ jack มันแปลว่า แม่แรง ส่วน up แปลว่า ขึ้น จะให้แปลว่า แท่นขุดเจาะ แบบแม่แรงขึ้น หรือ ขึ้นแม่แรง มันก็ฟังดูตลกๆทั้งสองแบบ เอาว่าผมขอทับศัพท์ไปว่า แท่นขุดเจาะ แบบ jack up หรือ jack up rig ก็แล้วกัน

เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ เราไปดูรูปกันเลยดีกว่า

jack up rig แท่นขุดเจาะ

แท่นขุดเจาะแบบ jack up หน้าตามันจะเหมือนกล่อง 3 เหลี่ยม หนาๆ ข้างในกลวงๆ ลอยน้ำได้ มีขาเป็นโครงทักเหล็กขนาดมหึมาอยู่ที่ 3 มุมของกล่อง 3 เหลี่ยม

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

มีลานจอดฮ.อยู่ติดกับส่วนพักอาศัยที่มุมนึงของ 3 เหลี่ยม โดยมากจะอยู่ที่มุมตรงขาด้านหน้า เพื่อให้ไกลที่สุดจากส่วนขุดเจาะ(ที่เห็นเป็นปั้นจั่นสูงๆนั่นแหละ)ที่อยู่อีกด้านตรงข้าม (ชำเลืองดูรูปข้างบนประกอบ)

ก็ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย มีอะไรเกิดขึ้นกับหลุม เช่น ก๊าซหรือน้ำมันพุ่งพรวดขึ้นมา ฮ.จะได้ลงจอดได้ หรือ กว่าไฟจะลามมาถึงส่วนพักอาศัยก็พอมีเวลาเผ่นกันทัน อะไรประมาณนั้น

ในยามปกติ พื้นแท่นขุดเจาะ จะหดเข้ามาในกล่อง 3 เหลี่ยมนั่น ปั้นจั่นขุดเจาะก็จะอยู่ระหว่างขาสองข้างหลัง แต่พอเวลาจะขุด ก็ยืดปั้นจั่นออกไปนอกกล่อง 3 เหลี่ยม

แบบรูปข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นการเจาะหลุมเดี่ยวๆโดดๆ หรือ ที่เราเรียกว่า หลุมสำรวจ (Exploration well) หรือ หลุมประเมินผล (Appraisal well)

แท่นขุดเจาะ jack up rig on exploration well

แต่เราก็สามารถเอาไปขุดหลุมพัฒนา (Development well) ที่อยู่บนแท่นผลิต (Production platform) ก็ได้ อย่างรูปข้างล่างนี้ จะเห็นว่า แท่นขุดเจาะ แบบ jack up ก็สามารถทำได้ โดยการยืดปั้นจั่นเข้าไปคร่อมแท่นผลิต แล้วขุดได้ทีล่ะหลายๆหลุมบนแท่นผลิต ปั้นจั่นสามารถเคลื่อนเลื่อนไปได้ในแนวระนาบ x-y (ส่วนการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ทำได้โดยการขยับขาแท่นทั้ง 3 ขา)

แท่นขุดเจาะ jack up rig on platform

… แล้ว แท่นขุดเจาะ แบบนี้จะเคลื่อนย้ายได้อย่างไร

เวลาจะเคลื่อนย้ายนั้น สามารถทำได้โดยการ ใช้มอเตอร์ตัวโตๆที่ติดอยู่ที่ขาทั้งสาม (ขาล่ะราวๆ 12 – 18 ตัว) หมุนๆเลื่อนกล่อง 3 เหลี่ยมนั่นให้ลงมาลอยอยู่ผิวน้ำ แล้วปั๊มเอาน้ำที่เก็บไว้ในกล่อง 3 เหลี่ยมนั้นออกมา ให้กล่องมันก็จะเบาๆ แล้วใช้มอเตอร์ชุดเดิมนั่นแหละ หมุนในด้านตรงข้าม ก็จะดึงขาทั้งสามขึ้นมาจากก้นทะเล ชี้โด่ขึ้นไปบนท้องฟ้า เหมือนรูปข้างล่างนี้ (กระบวนการนี้เราเรียกว่า jack down)

แท่นขุดเจาะ jack up rig on the move

ที่นี่ก็เอาเรือมาลากไป พอลากจูงกันไปถึงพิกัดแล้ว เล็งๆจุดจอดกันให้เหมาะๆ คราวนี้ก็ใช้มอเตอร์หย่อนขาทั้ง 3 ขาลงไปที่ก้นทะเล ปั้๊มน้ำทะเลเข้าไปในกล่อง 3 เหลี่ยมนั่น มักก็จะได้หนักๆ แล้วมอเตอร์ก็หมุนต่อไป ยกกล่องนั่นขึ้น น้ำหนักของกล่องที่มีน้ำทะเลอยู่เยอะ ก็จะกดขาแท่นทั้งสามลงไปลึกประมาณหนึ่งที่มั่นคงเพียงพอ เสร็จแล้วก็จะปั๊มน้ำทะเลออก เพื่อให้มอเตอร์ไม่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไปที่จะยกตัวกล่องให้ลอยขึ้นเหนือน้ำ (เราเรียกกระบวนการนี้ว่า jack up)

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

นี่ผมเล่าให้ฟังแบบง่ายๆนะ จริงๆแล้วทุกๆขั้นตอนของมันยุ่งยากพอควรเลยล่ะ ทั้งตอนเอาลง (jack down) และ เอาขึ้น (jack up)

แท่นขุดเจาะแบบ Tender barge

แท่นขุดเจาะ แบบนี้จะเหมือนตัวต่อเลโก้ที่เป็นชิ้นๆ แล้วเก็บเอาไว้บนแพ (barge) เวลาจะใช้งานก็เอาเรือลากแพไปยังพิกัด แล้วก็ยกเอาชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบกันเป็นแท่นขุดเจาะ

รูปข้างล่างนี้เป็น Tender barge ที่บรรทุกเลโก้แท่นขุดเจาะอยู่ในระหว่างลากจูง

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

แท่นขุดเจาะ tender barge rig on the move

จุดเด่นๆที่มองเห็นมาแต่ระยะไกลของ tender barge แบบนี้คือจะมีเครนตัวมหึมาอยู่ 1- 2 ตัว เอาไว้ยกชิ้นส่วนแท่นเจาะขึ้นไปประกอบบนแท่นผลิต

พอลากจูงกันไปถึงแท่นผลิตที่จะเจาะ ก็จะยึด barge (แพ) ไว้ด้วยระบบสมอ คือมีสมอหลายๆตัว ยึดโยงแพไว้ไม่ให้เคลื่อนที่ไปไหนได้ แล้วเอาเครนยกชิ้นส่วนของแท่นเจาะขึ้นไปประกอบบนแท่นผลิต เมื่อประกอบเสร็จหน้าตาก็จะเป็นแบบรูปข้างล่าง

แท่นขุดเจาะ tender barge rig on location

ลาดจอดฮ.กับส่วนพักอาศัยก็จะอยู่บนแพ (barge) เวลาทำงานก็ปีนสะพานสีเหลืองๆขึ้นไปบนแท่นผลิต จะกินจะนอน ก็ปีนไต่กลับมา เจ๋งป่ะ อาชีพพวกเรา พอขุดเจาะเสร็จได้ตามที่กำหนดไว้ ก็ถอดแท่นเจาะออกเป็นชิ้นๆ เอาเครนยกลงมาเก็บไว้บนแพ แล้วก็ลากไปเจาะที่แท่นผลิตอื่นต่อไป

เมื่อไรจะใช้แท่นขุดเจาะแบบไหนดี

เอาล่ะ หลังจากรู้จักแท่นเจาะทั้งสองชนิดแบบไวไวคลิกกันแล้ว เรามาดูกันว่าเมื่อไร โปรเจคแบบไหน งานแบบไหนจะเลือกเช่าแบบไหนมาใช้กัน

การตัดสินใจในทางธรุกิจมันก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าตัวเงินหรอกครับ อะไรก็ถามที่ตอบโจทย์แล้วได้ราคาถูกที่สุด เราก็เอาอันนั้นแหละมาใช้

ค่าเช่าแท่นขุดเจาะเนี้ย เขาคิดกันเป็นวัน เราเรียกว่า day rate วันล่ะกี่เหรียญก็ว่าไป ซึ่งค่า day rate นี้จะรวมค่าเช่าแท่น และ พนักงานที่ประจำแท่น เช่น OIM, Tool pusher, Rousabout, roughsneck, คนงานส่วนพักอาศัย ครัว พนักงานวิทยุ พยาบาล ช่างไฟฟ้า ช่างทาสี ฯลฯ

อีกส่วนหนึ่งที่บ.น้ำมันต้องจ่ายทุกวันคือ ค่าแรงคน และ เช่าของ ที่ต้องเช่่าจาก บ.service เช่น ค่า wireline logging, mud logging, mud engineer, directional driller, cementing ฯลฯ อีกบานตะเกียง

เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีอีกส่วนใหญ่ๆที่ บ.น้ำมันต้องแบกรับ คือ ค่าขนส่ง ทั้งเรือ และ ฮ. ค่าของกินของใช้ อาหาร น้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง โทรคมนาคม ค่าประกัน ฯลฯ

ยังอีกหมวดอื่นๆอีก แต่เอาหลัก 3 ส่วนนี้ก่อน เอาสามส่วนนี้รวมกันเราเรียกว่า spread cost

จะเห็นว่าต้นทุนรายวันของ บ. น้ำมัน ไม่ได้มีแค่ค่าเช่าแท่นอย่างเดียว ดังนั้น “เวลา” เป็นเรื่องสำคัญมากๆเพราะมันกระทบชิ่งโดยตรงกับเงินที่ไหลออกไปแต่ล่ะวัน

ถ้า day rate ต่ำ แล้ว อีกสองส่วนหลังใกล้ๆเคียงกัน spread cost ก็จะต่ำไปด้วย จริงไหมครับ

เวลาที่ใช้ในการเจาะหลุมนั้นสำคัญก็จริง แต่ในการเปรียบเทียบในการเลือกใช้แท่นเจาะแบบ jack up หรือ tender barge นั้น ไม่สำคัญเลย เพราะ เวลาที่ใช้ในการเจาะหลุมของแท่นเจาะสองแบบนี้มันเท่ากันถ้าเอาไปขุดหลุมแบบเดียวกันที่เดียวกัน

แล้วเวลาที่ต่างกันมันอยู่ตรงไหน …

1. Rig move

เวลาหลังจากขุดหลุมสุดท้ายของพิกัดปัจจุบันเสร็จแล้ว ไปจนถึงเวลาที่เริ่มเจาะหลุมแรกที่พิกัดใหม่ ต่างหากครับที่มันต่างกันเยอะ

jack up rig ใช้เวลาส่วนนี้น้อยกว่า tender rig เยอะเลยครับ (ความเร็วในการลากก็พอๆกัน) เพราะอะไร

เพราะ tender rig นั้นต้องเสียเวลาเอาเครนมายกเลโก้แท่นเจาะทั้งแท่นจาก barge (แพ) ขึ้นไปประกอบบนแท่นผลิต แต่ jack up นั้น เอาเข้าไปจ่อ เอาขาลง ยกตัวแท่น (กล่อง 3 เหลี่ยมนั่นแหละ) ขึ้น เลื่อนปั้นจั่นออกไปคร่อมแท่นผลิต ก็บรรเลงเพลงขุดได้

ตอนขุดหลุมสุดท้ายเสร็จก็เช่นกัน jack up ก็ชิ่งหนีได้ไวกว่า แต่ tender barge ต้องรื้อเลโก้ที่ต่อกันเอาลงมาเรียงบนแพ

เวลาส่วนนี้เราเรียกว่า rig move ครับ jack up rig ใช้เวลาย้ายน้อยกว่า แต่ day rate ของ jack up rig แพงกว่า ของ tender barge.

แสดงว่าอะไร แสดงว่า ถ้าไปเจาะบนแท่นผลิตนึงไม่กี่หลุม แล้วต้องเจาะไม่กี่แท่นผลิต เช่น โครงการนี้เจาะแค่ 3 แท่น แท่นล่ะ 2 – 3 หลุม แบบนี้ jack up rig กินขาด ยอมจ่าย day rate แพงหน่อย แต่ย้ายไว รวมๆแล้ว ดีดลูกคิดดู ถูกกว่าแน่ๆ

แต่ถ้าตรงข้ามล่ะ โครงการนี้จะเจาะ 30 แท่นผลิต แท่นผลิตล่ะ 15 – 20 หลุม แบบนี้ tender barge กินขาด …. ทางใครทางมันครับ

2. ขุดบนแท่นผลิต (Platform Drilling)

ข้อเสียเปรียบอีกอย่างของ tender barge คือ ต้องขุดบนแท่นผลิต ไม่สามารถลากไปเจาะแบบหลุมเดี่ยวๆกลางทะเลคนเดียวได้ เพราะต้องมีอะไรสักอย่างเป็นโครงสร้างให้เอาเลโก้แท่นฯขึ้นไปต่อ ในขณะที่ jack up rig ไปเจาะแบบหลุมเดียวโดดๆได้ ไม่ต้องพึ่งพาอะไร

ดังนั้น ถ้าเราจะต้องขุดหลุมสำรวจ หรือ หลุมประเมิน ซึ่งหลุมประเภทนี้ โดยมากไม่มีแท่นผลิตไปสร้างเตรียมไว้ให้ ก็แหง๋ล่ะ ตรงนั้นมันแค่สำรวจ แค่ประเมิน นี่นา ยังไม่รู้จะมีก๊าซมีน้ำมันไหม หรือ มีแล้วคุ้มไหม จะลงเงินไปสร้างแท่นผลิตเอาไว้ทำไม จริงไหม

ดังนั้นภาระกิจแบบนี้ก็ต้องยกให้ jack up rig

3. คลื่นลม

เห็นชัดๆว่า jack up rig ทนสภาพคลื่นลมได้ดีกว่าแน่ๆ ไม่ว่าในขณะที่เจาะ (ก็ตัวแท่นมันยกลอยขึ้นมาเหนือน้ำนี่นา) หรือ ในขณะย้ายจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง

tender barge นั้น ต้องใช้เครนยกเลโก้ชิ้นส่วนขึ้นๆลงไป ถอดๆ ประกอบๆ คลื่นลมต้องอำนวย ถ้าคลื่นลมแรงเกินจุดปลอดภัย ก็ต้องหยุดงาน บ.น้ำมันก็ต้องจาย spread cost จมกระเบื้องเลย ขุดไม่ได้สักกะหลุม คนงานก็กินๆนอนๆอ้วนเอาๆ … เฮ

4. ความแข็งแรงของแท่นผลิต (Platform load capacity)

ในกรณีของ tender barge เวลาจะขุดแท่นทั้งแท่นต้องขึ้นไปอยู่บนแท่นผลิต แปลว่าแท่นผลิตนั้นจะต้องถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนักแท่นเจาะในขณะเจาะได้ นั่นคือแท่นผลิตต้องถูกสร้างเผื่อเอาไว้

ดังนั้นแท่นผลิตก็จะหนา หนัก และ แพง ทำให้มูลค่าโครงการโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ jack up rig ไม่สน เพราะชีโดดคร่อมอย่างเดียว น้ำหนักอะไรๆทั้งหมด ลงที่ขาชีทั้งสามขา แท่นผลิตไม่ต้องสร้างเผื่ออะไร

5. ขนาดของแท่นผลิต (Platform size and Dimmension)

ต่อเนื่องจากข้อ 4 ถ้าเราต้องมีโครงการที่ต้องเข้าไปขุดหลุมเพิ่มเติมบนแท่นผลิตเก่าเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต (ที่เราเรียกว่า infill) ก็ต้องดูว่า แท่นผลิตเก่าพวกนั้นสร้างไว้แบบไหน ถ้าสร้างไว้บางๆ จะเอา tender barge เข้าไปสะด๊วบโครมๆก็พังกันพอดี

แต่ก็ใช่ว่าจะสบาย jack up เพราะชีต้อง “คร่อม” แท่นผลิต ถ้าแท่นผลิตรุ่นเก่าๆ สร้างไว้แบบจัดใหญ่จัดเต็ม เทอะทะอ้วนฉุ เพราะแบบว่า เสี่ยสั่งลุย สร้างแบบตอนนั้นรวยไง ไม่ต้องคิดมาก ใหญ่เกิ้น jack up ชีคร่อมแล้วยื่นปั้นจั่นไปไม่ถึงหลุมที่ต้องการเจาะ jack up ก็เดี้ยงอีก

(ที่ใช้ “ชี” นี่ไม่ได้เจตนาจะทะลึ่งนะครับ เพราะแท่นเจาะ ในภาษาอังกฤษนั้นเป็นเพศหญิงครับ สรรพนามก็เลยต้องเป็น she … 555)

6. สภาพพื้นทะเล (Sea floor condition)

สภาพพื้นทะเลรอบๆแท่นผลิต tender barge นั้นชีไม่แคร์ค่ะ ชีลอยตัวอยู่แล้ว พื้นทะเลเป็นไง ชีไม่สน

แต่ jack up rig นี่ซิ ชีจำเป็นต้องแคร์ เพราะขายาวๆของชีต้องปักแทงจึ๊กๆลงไปที่ก้นทะเล ถ้าพื้นทะเลตรงนั้น อ่อนยุ่ยรับน้ำหนักชีไม่ไหว ชีก็ทิ่มขาพรวดๆลงไป (punch through) ขาบิดเบี้ยวอีก จะยกตัวแท่นไม่ขึ้น เพราะตัวแท่นจะขึ้นได้ ขาชีต้องปักลงไปตรงๆแน่นๆจนถึงอะไรสักอย่างที่มันแข็งพอใช่ป่ะ

อารมณ์คล้ายๆกับเราจะถอดเสาที่ปักอยู่บนพื้น ถ้าขาเรายืนบนโคลนเหลวๆ พอออกแรงเอามือจับเสาถอดขึ้นมา แทนที่เสาจะขึ้นมา ขาเรากลับจมลงไปในโคลนเหลวๆแทนน่ะครับ

ซึ่งประเด็นนี้เราต้องพึ่ง(จ้าง)ผู้เชี่ยวชาญด้านประเมินพื้นที่ท้องทะเลเข้ามาช่วยเดา เอ๊ย ช่วยวิเคราะห์

นั่นก็เป็นเรื่องข้อจำกัดของพระแม่ธรณีล่ะ แล้วที่มนุษย์เราไปทำทิ้งไว้ที่ท้องทะเลล่ะ เช่น ท่อส่งน้ำมัน ส่งก๊าซ สายเคเบิ้ลใต้น้ำ ฯลฯ ยุบยับเต็มพื้นทะเลไปหมด ไม่มีที่ให้ jack up เอาขาลงอย่างปลอดภัย แบบนี้ก็จบข่าวอีกเหมือนกัน

คงไม่มีใครชอบนักหรอกถ้าขาชีปักลงไปบี้ท่อส่งก๊าซแล้วก๊าซปุดๆขึ้นมา หรือ ลงไปทับสายเคเบิ้ลใยแก้วใต้น้ำแล้วคนครึ่งประเทศเล่นเน็ทไม่ได้ พวกกระผมจะได้โดนด่าออกเฟสบุ๊ค

หมดเรื่องหรือยังเนี่ย สรุปๆ มีสองเรื่องใหญ่ๆที่ต้องก่ายหน้าผากถกกัน คือ เรื่องราคาโดยรวมๆ กับ เรื่องเทคนิค

เรื่องราคาก็คือ จำนวนหลุมที่จะเจาะต่อแท่นผลิต จำนวนแท่นผลิต (ซึ่งก็คือจำนวนครั้งที่ต้องย้ายแท่นขุดเจาะ) จำนวนวันที่คาดว่าคลื่นลมจะแรงจนทำให้ tender barge ต้องหยุดทำงาน

เรื่องเทคนิคก็คือ ต้องขุดหลุมสำรวจ หรือ หลุมประเมิน แบบเดี่ยวๆ บ้างไหม แท่นผลิตสร้างไว้เผื่อรับน้ำหนักแท่นเจาะหรือเปล่า ขนาดกว้างยาวของแท่นผลิต และ จุดทึ่บนแท่นผลิตจะขุด jack up rig คร่อมแล้วยื่นไปถึงไหม และ พื้นทะเลเป็นไง

ทั้หมดนี้ต้องเอามาเขย่าๆคนๆแล้วดูแบบองค์รวมๆ ดูราคาของทั้งโครงการ เช่น ถ้าต้องสร้างแท่นผลิต 20 แท่น แล้วต้องสร้างเผื่อรับน้ำหนักแท่นเจาะ แบบนี้จะคุ้มกว่าไหม หรือ สร้างให้เล็กหน่อยแล้วเอา jack up มาคร่อม แต่การสร้างแท่นผลิตเล็กลงอาจจะกระทบไปเรื่องอื่น ฯลฯ

บางทีค่าใช้จ่ายอาจจะดูมากสำหรับแผนกหนึ่ง แต่ไปประหยัดอีกแผนกหนึ่ง แต่โดยรวมๆของโครงการของบริษัทแล้ว แบบนี้ถูกที่สุด ดังนั้นทุกแผนกก็ควรหันหน้าเข้าหากัน และ ทำกะปิ (KPI – Key Performance Index) ให้สอดรับกัน ให้ยุติธรรมกับแผนกที่ต้องรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ถ้าตกลงกันไม่ได้ หัวเรือใหญ่ต้องลงมาช่วยฟันลูกน้อง เอ๊ย ฟันธง ไม่ใช่นั่งจิบชาบนภู ตีขิม ดีดพิณ ปล่อยให้ลูกน้องโซ้ยกันปากฉีกตาปูด อย่างที่เห็นในบางบริษัท (555 จ้างก็ไม่บอกว่าบริษัทไหน)

ว่าจะคุยเรื่องการเลือกใช้แท่นขุดเจาะ ไหงมาลงท้ายแบบนี้ … จบดีกว่าเนอะ (ก่อนจะตกงาน)

(Ad) … ผมคนนึงล่ะ ไม่ชอบซื้อของออนไลน์ เป็นไดโนเสาร์ ตามประสาผู้ชายเนอะ ชอบหยิบๆเคาะๆเขย่าๆดูให้ชัวร์ก่อนควักตังค์จ่าย แต่สำหรับอะไรที่เรารู้ราคา และ ลองใช้ประจำจนการเป็นการซื้อซ้ำๆเดิมๆ โคตรน่าเบื่อเลยว่าไหมที่ต้องออกจากบ้านไปซื้อ ของใช้ในบ้านในครัวที่แหละครับ ตัวดีผมจัดเข้าหมวดหมู่ของที่ “หลับตาซื้อ” ก็ได้ ผมก็จะซื้อออนไลน์

TESCO ก็เป็นหนึ่งในร้านที่ผมซื้อของแบบหลับตาซื้อ 555 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------