ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ออฟฟิต vs ลุยๆหน้างาน … จะไปทางไหนดี ? วิศวกรรม

ออฟฟิต vs ลุยๆหน้างาน … จะไปทางไหนดี ? – งานวิศวกรรมหลุมเจาะก็ไม่ต่างจากงานวิศวกรรมอื่นๆที่เกี่ยวกับการ “ก่อสร้าง” ซึ่งจะต้องมีวิศวกรหลักๆอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือฝ่ายวิศวกรรม หรือที่ทั่วๆไปเรียกว่าฝ่าย Engineering ผมชอบเรียกว่า ฝ่ายบุ๋น กับอีกฝ่ายคือ ฝ่ายปฏิบัติการ หรือที่เรียกกันว่า ฝ่าย Operation แต่ผมชอบเรียกว่า งานสนาม หรือ ฝ่ายบู๊

ออฟฟิต vs ลุยๆหน้างาน

ลักษณะงานคร่าวๆของฝ่ายวิศวกรรมคือ คำนวน ออกแบบ วางแผน จัดหาวัสดุอุปกรณ์ วัดผลการทำงาน วิเคราะห์ สรุปการทำงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพงาน ฯลฯ

ฝ่ายปฏิบัติการ ก็นำเอาแผนงาน วัสดุอุปกรณ์ ต่างๆ ที่ฝ่ายวิศวกรรมออกแบบมา นำไปทำงาน หรือ คุมงาน ที่หน้างาน ให้ได้ตามที่วางแผนมา อย่างปลอดภัย ไม่มีอุบิติเหตุ ข้าวของเสียหาย กระทบสิ่งแวดล้อม ไม่มีคนเจ็บ หรือ เสียชีวิต

ตลอดเวลาที่ผ่านมา มักมีคำถามทำนองว่า ฝ่ายไหนดีกว่ากัน ก้าวหน้ากว่ากัน เงินเดือนดีกว่ากัน ฯลฯ วันนี้ก็จะมาชวนคุยกันทีล่ะหัวข้อ แต่ก็จะขอออกตัวไว้ก่อนว่า

  1. เป็นประสบการณ์ของผมล้วนๆ ไม่มีหลักฐานการวิจัยอะไรที่ไหนมาสนับสนุน เรียกว่า เห็นมาอย่างไรก็เอามาคุยให้ฟัง ผิด-ถูก อย่างไรก็ไปไตร่ตรองกันเอาเอง
  2. ผมจะกล่าวถึงอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต้นน้ำเท่านั้น อุตสาหกรรมการก่อสร้างอื่นก็อาจจะมีข้อสังเกตุ หรือ ลักษณะเฉพาะตัวที่แต่ต่างกันออกไป

ลองมาดูเป็นเรื่องๆ ผมไม่ได้เรียงตามลำดับความสำคัญนะครับ แต่ล่ะคนก็ให้ความสำคัญในแต่ล่ะเรื่องแตกต่างกัน นึกเรื่องไหนได้ก่อนก็คุยก่อน

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ออฟฟิต vs ลุยๆหน้างาน

เวลา

เรื่องนี้ชัดเจนครับ งานสนามทำงานไม่เป็นเวลา การเดินทางห่างไกล ห่างคนรัก ห่างครอบครัว ทำงานเป็นกะบ้าง ทำงาน on call (มีงานเมื่อไรก็ปลุกมาทำ ไม่มีตารางเวลาแน่นอน เสร็จจึงจะได้พัก) ไม่ต้องเดินทางมากเพราะส่วนใหญ่ก็กินอยู่ที่หน้างาน บนแท่น หรือ แคมป์ใกล้ๆ มีรถรับส่ง โดยมากก็ต่างจังหวัด ภูเขา ป่า ทุ่ง ทะเล แน่นอน อากาศดี รถไม่ติดแน่นอน

ในขณะที่งานวิศวกรรม ทำงานเหมือนมนุษย์เงินเดือนทั่วๆไป ลุยรถติด เข้าสนง. เช้า กลับ เย็น เจอหน้าลูก กิ๊ก แฟน เมีย ทุกเย็น (ไม่ได้ตั้งใจเรียงตามลำดับความสำคัญนะครับ นิ้วมันพิมพ์ไปตามสัญชาติญาณ 🙂 ) ไปเที่ยวได้ตามวันหยุดประจำปี ปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ วาเลนไทน์ วันเกิด งานศพ เยี่ยมไข้ ดูใจญาติพี่น้องก่อนจากไป ฯลฯ ไปได้หมด เสาร์ อาทิตย์ ไปออกรอบตีกอล์ฟได้ เย็นไหนอยากจิบไวน์ ดื่มเบียร์ ก็สะดวก

ในมุมนี้งานสนาม เหมาะกับคนไม่มี “ภาระ” ที่ต้องใช้เวลาในการดูแล “ภาระ” นั้น พูดง่ายๆ ว่าเวลาคือสิ่งสำคัญ ซึ่งไม่เกี่ยงว่าโสดหรือมีครอบครัว เพราะสิ่งแวดล้อมและเงื่อนไขของบางครอบครัวก็ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการดูแล “ภาระ” นั้นๆ เช่น ลูกๆโตแล้ว ครอบครัวใหญ่ มีปู่ย่าตายายดูแล

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

การเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ

เรื่องนี้ชัดครับ คนที่ต้องไปพบหมอบ่อยๆ (ไม่เกี่ยวกับต้องไปพบพยาบาลบ่อยๆ 555) มีปัญหาสุขภาพ ไม่ควรไปทำงานสนาม เพราะไกลหมอ ไกลโรงพยาบาล ถึงแม้ว่าเรามีพยาบาล หรือ หมอ ประจำในบางพื้นที่ปฏิบัติงาน แต่เครื่องไม้เครื่องมือ ความชำนาญ ก็คงไม่เท่ากับอยู่ในเมือง คนกลุ่มนี้ก็อย่างเช่น มีความเสี่ยงหรือประวัติ ลมชัก ลมบ้าหมู หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เส้นเลือดในสมองแตก

ออฟฟิต vs ลุยๆหน้างาน

รายได้

ถามกันมามากประเด็นนี้ ขออธิบายภาพรวมๆก็แล้วกัน โดยมากรายได้พื้นฐานที่เรียกว่า เงินเดือนฐาน ไม่ต่างกันมาก แต่งานสนามมักจะมีรายได้ส่วนที่เรียกว่า การทำงานล่วงเวลา (โอที) ค่าเดินทางที่บางทีจ่ายเหมา ถ้าเราใช้จริงไม่หมด ก็ถือว่าเป็นรายได้ไป ค่าความลำบาก ความเสี่ยง (เรียกรวมๆว่า geographic coefficient หรือ hardship allowance) ซึ่งมักขึ้นกับ ภูมิศาสตร์ของพื้นที่ทำงาน เช่น นอกชายฝั่ง ทะเลลึกๆไกลๆ อากาศหนาว ป่า ภูเขา ทะเลทราย ฯลฯ ประเทศที่ไปทำงาน ความเสี่ยงทางการเมือง กบฏ สงครามกลางเมืองในพื้นที่ การลักตัวเรียกค่าไถ่ชาวต่างชาติ ฯลฯ

ความเสี่ยงสูง รายได้สูง หรือ ลำบากกว่า รายได้มากกว่า อารมณ์ประมาณนั้น

นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมเราเด่นกว่าอุตสาหกรรมอื่นในเรื่องรายได้ของฝ่ายปฏิบัติงานคือ ทักษะ หรือ ความสามารถเฉพาะ

เรื่องนี้มีผลต่อรายได้มากๆ เพราะการการคุมงาน(กรณีบ.น้ำมัน) หรือ การปฏิบัติงาน (ในกรณี บ.service หรือ ผู้รับเหมา) ขุดเจาะหลุมที่มีลักษณะพิเศษนั้น คนทำได้ ทำเป็นมีน้อย หลุมลักษณะพิเศษเหล่านี้ เช่น หลุมในทะเลน้ำลึกมากๆ หลุมที่ร้อน หรือ ความดันก้นหลุม สูงมากๆ หลุม relief (ขุดไปให้ชนอีกหลุมที่กำลังมีปัญหาเพื่อถ่ายเทความดัน เช่นกรณี หลุม relief ของ หลุม Macondo  252 ที่ขุดโดย Deepwater Horizon)

แต่ข้อเสียก็คือ งานเหล่านี้ ไม่ได้มีทุกบริษัทฯ หรือ มีเยอะมาก แต่ถ้ามีก็ต้องการคนที่ทำเป็นทำได้ มาทำ เพราะหลุมๆหนึ่งราคาแพงมหาศาล ผิดพลาดไปก็เหมือนเผาเงินเล่น

แล้วถามว่า งั้น มือใหม่จะไปทำเป็นแบบนั้นได้ไง ในเมื่อไม่ให้โอกาสมือใหม่ไปฝึก ทุกงานน่ะครับ มีระบบฝึกอบรมตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงระดับเซียน แรกๆก็ไปเป็นลูกมือ ผู้ช่วย เด็กฝึกงาน ก็ไปทำนองนี้ทั้งนั้น ช้าเร็ว ก็ขึ้นกับโอกาส จังหวะ วาสนา ของแต่คน แต่อย่าลืมว่า ถ้าโอกาสมา คนที่พร้อมกว่า จะได้โอกาสก่อน เช่น เตรียมทักษะพื้นฐานของงานตัวเองไว้ให้แน่นๆ พูดใช้อังกฤษคล่อง หรือ ภาษาของบ.ที่จ้างเรา เช่น จีน สเปน ฝรั่งเศษ บาฮาซา ฯลฯ

อ้าว … แล้ว ฝ่ายวิศวกรรมล่ะ ไม่มีเพิ่มค่าตัวในลักษณะนี้บ้างหรือ คำตอบคือ มีครับ แต่ไม่มาก เหมือนฝ่ายปฏิบัติงาน เพราะการทำให้เป็นนั้น ไม่ยาก เข้าคอร์สฝึกอบรม สอนกันไรกัน แล้วฝึกทำกันเอาในสนง.  ก็สามารถทำได้ คนที่ทำได้จึงเยอะกว่าคนที่จะไปอยู่หน้างาน ด้วยเหตุผลข้อจำกัดที่ได้กล่าวมาแล้วและที่จะพูดถึงต่อไป

ออฟฟิต vs ลุยๆหน้างาน

ความก้าวหน้า

ทั้งสองสายงานมีความก้าวหน้าทั้งคู่ ต่างกันนิดนึงตรงที่ฝ่ายปฏิบัติการนั้น ตำแหน่งที่หน้างาน พอไปถึงจุดๆหนึ่ง มันจะไปสุดที่ company man หรือ ผจก. rig/platform (ในกรณีบ.น้ำมัน หรือ บ.แท่นขุด) หรือ senior field engineer หรือ supervisor พูดง่ายๆก็ใหญ่สุดของบ.ตัวเองที่หน้างาน เดินกร่าง มีแต่คนหลบให้ เหมือนเป็น ผู้บริหารระดับสูงในสนง.นั่นแหละครับ

ถ้าอยากอยู่ในสนามต่อ ก็สามารถอยู่ได้ไปเรื่อยๆ ขึ้นกับ นโยบายของบ.ที่จ้าง เพราะบางบ.มีนโยบายชัดว่าพอเก่งถึงระดับหนึ่ง ก็ช่วยๆเข้าสนง.มาช่วยดูแลด้านอื่น ให้โอกาสเด็กๆลงไปฝึกลงไปแสดงฝีมือบ้าง และ ขึ้นกับสังขารด้วย บางตำแหน่งงานสนาม ต้องให้ร่างกายที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ถ้าทำงานไป ปวดหลังไป เจ็บเข่าไป แสบตาไป คุณภาพชีวิตคงไม่ดีเท่าไร

บางบ.ก็มีวาระซ่อนเร้น เพราะ ตัวคูณพิเศษนั้นเยอะ (เพื่อจูงใจให้เด็กๆออกมาทำงานสนามในระยะแรกๆ) ตัวคูณพวกนี้โดยมากคูณกับเงินเดือนฐาน พอทำงานอยู่สนามไปนานๆ เงินเดือนฐานเพิ่ม คูณตัวคูณออกมาก็เยอะ กลายเป็นเว่า พอเงินเดือนฐานเยอะก็ย้ายกลับเข้าสนง.เถอะ ประหยัดให้บ. เอาเด็กๆไปแทน ถูกกว่า แถมได้ฝึกคนผลิตคนด้วย … ก็ว่ากันไป

คนหน้างานเข้าสนง.มาแล้วมาทำอะไร ก็มาคุมเด็กๆที่อยู่หน้างานอีกทีไงครับ เพราะทำงานหน้างานมาก่อน โทรฯคุย อ่านรายงาน แป๊บเดียวก็รู้แล้วว่า หน้างานเป็นไง พวกหน้างานตอแหล แหกตา ปั้นรายงาน หรือเปล่า

ฝ่ายวิศวกรรมล่ะ โดยเนื้องานแล้ว งานวิศวกรรมต้องยุ่งขิงทิงนองนอยกับหลายๆฝ่ายในบ. HR บัญชี โลจิสติก การเงิน ฝ่ายบริหาร กฏหมาย ทำและบริหารสัญญาของผู้รับเหมา ฯลฯ เมื่อทำงานวิศวกรรมไปสักพัก ทุกบ.ก็มักจะมีสองแนวทางให้เดิน

ทางแรก … ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคเฉพาะ เรื่องใดเรื่องหนึ่งไปเลย คล้ายๆกับเราเรียน ตรี โท เอก น่ะ ที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาเราจะแคบลงๆ แต่รู้ลึกมากขึ้น

ทางที่สอง … ไปเป็นผู้บริหาร ทางนี้คงไม่ต้องอธิบายมาก รู้ๆกัน หลุดออกจากเรื่องเทคนิคไปเลย

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

แล้วคนหน้างาน ที่สมัครใจหรือโดนบังคับ(ทั้งทางตรงและทางอ้อม)ให้เข้าสนง.มาคุมหน้าคนงานจะเป็นฝ่ายบริหารได้ไหม คำตอบคือ ขึ้นกับโครงสร้างของบ.ครับ บางบ.ก็มีทางให้ไปเป็นผู้บริหารได้เรื่อยๆขึ้นไป แต่บางบ.ก็ขึ้นเป็นผู้บริหารได้ระดับหนึ่งแล้วก็ตันอยู่ตรงนั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับทักษะและความสามารถเฉพาะบุคคลด้วย

แต่โดยมากคนหน้างาน มักไม่ค่อยจะชอบเรื่อง การเมือง เรื่องบริหารต่างๆในสนง. ไม่ชอบประชุมจุกจิกมากมาย (ถึงอาสาไปอยู่หน้างานแต่แรก) ก็ไม่ค่อยสนจะไต่บันไดผู้บริหารเท่าไร

 

วิศวกรรมในออฟฟิต vs. ลุยๆหน้างาน … จะไปทางไหนดี ?

แล้วจะตอบคำถามนี้ยังไงดี แต่ล่ะคนก็ไม่เหมือนกัน ขึ้นกับจริตของคนถามแล้วล่ะว่า คุณชอบแบบไหน

ใช่ว่าจะขึ้นกับความชอบอย่างเดียว เงื่อนไขภาระ ต่างๆด้วย บางคนไม่ชอบงานสนาม แต่อยากผ่อนบ้านผ่อนรถเก็บเงินแต่งเมียไวๆ ก็ต้องทำเพราะรายได้ดี บางคนไม่ชอบงานสนง. แต่ลูกยังเล็กเมียยังสาว ก็ต้องก้มหน้าก้มตาเข้าประชุมในสนง.ไป บ้างก็อยากตีกอล์ฟเก่งๆ จะไปเป็นโปรฯกอล์ฟ ก็ยอมทำงานในสนง. จะได้ไปออกรอบเสาร์อาทิตย์ได้

แต่ถ้าในอุดมคติแล้ว ผมคิดว่า เราควรจะไปลุยหน้างานสักหน่อย อย่างน้อยๆก็ 5 ปีล่ะ ถ้าเป็นช่วงต้นๆของชีวิตการทำงาน จะดี เพราะอายุยังน้อย สุขภาพโอเค และ โดยทั่วไปแล้วจะยังไม่มีภาระที่ต้องใช้เวลามาดูแลภาระเหล่านั้น

เสร็จแล้วค่อยตัดสินใจว่า จะผาดโผนอยู่หน้างานต่อไป หรือ จะเข้ามาสนง. เพราะในขณะที่มันส์อยู่หน้างาน ก็จะได้รู้ว่าพวกวิศวกรรมในสนง.ทำอะไรกัน พอนึกออกได้ง่ายกว่าถ้าเริ่มต้นที่งานวิศวกรรมในสนง.แล้วค่อยไปหน้างาน เพราะถ้าจู่ๆเริ่มงานวิศวกรรมในสนง.ก่อนเลยจะนึกภาพ บรรยากาศ ความยาก อุปสรรค และ ความมันส์ ฯลฯ ของ หน้างานไม่ค่อยออก …

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------