ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Drilling Waste Management การบริหารจัดการของเสียจากการขุดเจาะ

Drilling Waste Management การขุดเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตกเป็นจำเลยของสังคมมาตลอดในเรื่องการปล่อยของเสียปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม

วันอาทิตย์สบายๆ(อารมณ์ดีๆ)แบบนี้ ขออนุญาติเคลีย์ปมคาใจกันหน่อยเถอะ เผื่อบทความตอนนี้ของผมจะไปถึงผู้ที่ชอบดราม่าเรื่องนี้

Drilling Waste Management

ประเภทของของเสียจากการขุดเจาะ

ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการของเสียจากการขุดเจาะ (Drilling Waste Management) ดังนั้น จะไม่ขอใช้ศัพท์แสงวิชาการให้เวียนหัว ขอใช้ภาษาบ้านๆก็แล้วกัน

ของเสียจากแท่นเจาะนั้นมีหลายประเภท ผมขอแบ่งแบบผมเองก็แล้วกัน เอาง่ายๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

  1. ของเสียทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับกิจกรรมขุดเจาะ กลุ่มนี้คือของเสียทั่วไป อันเกิดจาก 1. การกินอยู่หลับนอนของคน เช่น เศษอาหาร ของเสียขับถ่าย ซักล้าง ครัว ฯลฯ และ 2. เกิดจากเครื่องยนต์เครื่องจักรของตัวแท่น เช่น ผ้าขี้ริ้วเปื้อนน้ำมันเครื่อง ใส้กรองน้ำมันใช้แล้ว อะไหล่ที่ใช้แล้วหมดไปต่างๆ รวมไปถึงของเสียที่เกิดจากการทำความสะอาดซักล้างพื้นที่ทำงาน ของเสียกลุ่มนี้ ผมจะไม่พูดถึงในที่นี้นะครับ เพราะไม่เกี่ยวกับการขุดเจาะเลย พูดง่ายๆคือ เรือ หรือ แพ (barge) ลำไหนก็มีของเสียแบบนี้
  2. ของเสียที่เกิดจากกิจกรรมขุดเจาะโดยตรง ของเสียแบบนี้ เรือ หรือ แพ ทั่วๆไปไม่มีแน่ๆ ของเสียที่ว่านี้ก็คือ เศษหินที่เกิดจากการขุด และ น้ำโคลนที่ใช้ในการขุด ในที่นี้ผมจะกล่าวถึงของเสียประเภทนี้เท่านั้น

ของเสียที่เกิดจากกิจกรรมขุดเจาะโดยตรง

ขอเท้าความปูพื้นนิดแบบไวๆเพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าของน้ำโคลนและเศษหินเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

Drilling Waste Management
ระบบการไหลเวียนของน้ำโคลนในการขุดเจาะ

น้ำโคลนจะถูกปั๊มจากถังเก็บน้ำโคลนลงไปทางท่อขุด (drill pipe) แล้วไปโผล่ออกที่หัวเจาะ (drill bit) ที่อยู่ที่ปลายท่อขุด

น้ำโคลนก็จะหอบพาเอาเศษหินชิ้นเล็กๆ (cutting) ที่หัวขุดขุดได้ น้ำโคลนก็จะหอบพาเอาเศษหินเล็กๆเหล่านี้ขึ้นมาทางช่องว่างระหว่าท่อขุดกับผนังหลุม (annulas) ขึ้นมาจนถึงปากหลุมซึ่งอยู่ในแท่นเจาะ

น้ำโคลนและเศษหินก็จะผ่านไปที่ตะแกรงร่อน (shale shaker) เพื่อแยกเศษหินชิ้นใหญ่ๆระดับหนึ่งออกจากน้ำโคลน แล้วจึงผ่านไปยังเครื่องแยกเศษหินชิ้นเล็กๆลงไปตามลำดับ เช่น desander (เครื่องแยกทราย) desilter (เครื่องแยกทรายแป้ง) centrifuge (เครื่องปั่นเหวี่ยง) dryer (เครื่องปั่นแรงสูง)

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

หลักการของเครื่องพวกนี้ก็แตกต่างกันไป ผมจะไม่กล่าวถึงนะครับ เพราะไม่ใช่วัตถุประสงค์ของเรื่องที่เรากำลังจะคุยกัน

แต่ล่ะเครื่องก็จะมีเศษหินออกมาขนาดต่างๆกัน

จากนั้นค่อยเอาน้ำโคลนที่ได้ซึ่งมีเศษหินขนาดเล็กมากๆ(ที่ไม่สามารถแยกออกได้อีกแล้ว) นำไปใส่สารเคมีปรับคุณสมบัติต่างๆให้ตรงตามสเป๊กที่กำหนด แล้วก็ปั๊มลงท่อขุด ไปโผล่ที่หัวเจาะ วนไปอีกแบบนี้เรื่อยๆ

ที่ลงทุนอธิบายมายืดยาวนี้ก็เพื่อจะบอกว่าวงจรไหลเวียนทั้งหมดนี้เป็นระบบปิดครับ

ของเสียในบริบทนี้ ก็คือเศษหิน และ น้ำโคลนที่ติดมากับเศษหินพวกนี้ เราไม่ต้องการให้น้ำโคลนติดมากับเศษหิน เพราะน้ำโคลนราคาแพงมาก เราต้องการให้ติดมาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการแยกออกด้วยสารพัดเครื่องที่ว่านั้น แต่ทำไงได้ มันก็ต้องติดมาบ้างแหละ

ตัวเศษหินนั้น ไม่ค่อยเท่าไร เพราะเศษหินก็คือหิน เอาไปถมที่ถมทะเลอะไรยังไงก็ได้ แต่เจ้าน้ำโคลนนี่ซิที่ดราม่ากันไม่หยุด

น้ำโคลน (Drilling Mud)

น้ำโคลนประกอบด้วยของเหลวหลัก (base fluid) แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ น้ำ น้ำมัน และ สารสังเคราะห์ (synthetic – นึกถึงน้ำมันเครื่องสังเคราะห์นะ นั่นเลย) ขึ้นกับความจำเป็นในการเลือกใช้เป็นกรณีๆไป นอกจากของเหลวหลักแล้วก็มีสารเคมีอีก 3 – 4 อย่าง

ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อม ของเหลวหลักที่เป็นน้ำมัน กับ สารสังเคราะห์ ไม่ค่อยจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าไร

แต่ในสมัยนี้ แทบทุกประเทศตื่นตัวกันมาก น้ำมันและสารสังเคราะห์พวกนี้เป็นชนิดที่ย่อยสลายได้ด้วยจุลลินทรีย์กันหมดแล้ว (biodegradable)

ส่วนสารเคมีนั้น หลักๆก็มี

แบไรท์ (Barite) ผงหิน เพื่อเพิ่มน้ำหนัก (mud weight) ซึ่งก็เป็นหินอีกนั่นแหละ

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

สารประกอบโพลีเมอร์เพื่อเพิ่มความหนืด (viscosity) นี่ก็ไม่มีอะไร เราใช้โพลิเมอร์พวกนี้ในชีวิตประจำวันมากมายในอุตสาหกรรมอาหาร (พวกอะไรที่หนืดๆนั่นแหละครับ)

เบนโทไนท์ (Bentonite) เพื่อเพิ่มความหนืด ซึ่งก็คือผงโคลนแห้ง ก็ขี้ดินแห้งๆดีๆนี่เอง

เกลือ อาจจะเป็น เกลือแคลเซียม เกลือโซเดียม (เกลือแกงทำกับข้าวนี่แหละครับ) เกลือฟอสเฟส หรือ เกลือโปตัสเซียม ซึ่งเกลือพวกนี้ก็คือปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตรปลูกผักให้เรากินนี่แหละ เกลือพวกนี้เอาไว้กันไม่ให้หินดินดาน (Shale หรือหินโคลนนั่นแหละครับ) มันบวมน้ำ (Swell) ซึ่งถ้าหินดินดานพวกนี้บวมน้ำจะเป็นปัญหากับการขุดเจาะ

สารลดแรงตึงผิวเพื่อให้น้ำกับน้ำมันหรือสารสังเคราะห์ผสมกันได้ (emulsifier) นี่ก็เบสิกมากๆ เราใช้กันทุกวัน พวกสบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน

ผงถ่าน (Graphite – Coal) ผงถ่านหิน (lignite) ผงปูน (CaCO3) เอาไว้อุดช่องว่างชั้นหินที่ผนังหลุม ไม่ให้น้ำโคลนซึมเข้าไปในชั้นหิน นี่ก็ผงปูนธรรมดาๆนี่แหละครับ

ที่ผมลงทุนอธิบายมายืดยาวนี่ก็เพื่อให้เข้าใจ และ เห็นภาพว่าสารเคมีพวกนี้ที่เราใช้ในน้ำโคลนนั้น ไม่ได้เป็นอะไรที่แปลกไปจากสิ่งที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่สารโลหะหนักอันตราย พวก สังกะสี ลิเทียม แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท นิเกิล กำมะถัน ฯลฯ อย่างในหลายๆอุตสาหกรรมแถวมาบตาพุด แถวนิคมอุตสาหกรรมต่างๆที่ใช้กัน

OOC (Oil On Cutting)

ค่าๆนี้ทุกประเทศที่ให้สัมประทานขุดเจาะฯ จะมีกำกับเอาไว้ให้ผู้รับสัมประทานต้องลดอัตราส่วนของน้ำมันหรือสารสังเคราะห์ต่อน้ำหนักของเศษหินที่จะนำไปกำจัดทิ้งหรือปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมให้เหลือต่ำกว่าค่านี้

ค่านี้โดยมากมีหน่วยเป็นกรัมของน้ำมันหรือสารสังเคราะห์ต่อกิโลกรัมของเศษหินแห้ง (dry cutting)

ซึ่งเรามีการตรวจวัดและคำนวนได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบกันได้ ทุกแท่นขุด เราตรวจสอบวัด บันทึก กันทุกวี่ทุกวัน

จะเห็นว่า เศษหินที่ออกมาจากกระบวนการแยกมีหลายคุณภาพ เช่นจาก ตะแกรงหยาบเบื้อต้น (shale shaker) ก็จะมีน้ำโคลนติดมามากหน่อย ถ้าเป็นเศษหินชิ้นเล็กที่ออกมาจาก เครื่องแยกทราย แยกทรายแป้ง เครื่องปั่นเหวี่ยง ฯลฯ ก็จะมีน้่ำโคลนติดมาน้อยลงไปตามขนาดของเศษหิน

ค่า OOC นี้ก็คิดเป็นค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average) เป็นรายวันๆไปว่าวันนี้เฉลี่ย OOC เท่าไร จากนั้นจึงปล่อยออกสู่ธรรมชาติ หรือ ส่งไปเผาที่โรงปูน เพราะยังมีน้ำมันติดอยู่บ้าง ซึ่งมีค่าความร้อน สามารถนำไปเผาให้ความร้อนได้

ขบวนการพวกนี้ตรวจสอบได้ไรได้หมดครับ ผมเชื่อว่าผู้รับสัมประทานทุกเจ้าในอ่าวฯ ยินดีให้ “หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” ตรวจสอบได้ “อย่างเป็นวิทยาศาสตร์”

เน้นว่า “หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” ส่วนผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง ขอให้ยืนชะโงกดูอยู่ห่างๆ เพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่เชี่ยวชาญ อาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ในวงกว้าง

และ เน้นคำว่า “ตรวจสอบอย่างเป็นวิทยาศาสตร์” เพราะว่า หลายครั้งที่เราเห็นๆกันอยู่ว่า ผู้ไม่รู้ตรวจสอบด้วย “ความรู้สึก” เรื่องที่ควรจะง่าย ควรจะกระจ่าง กลับยุ่งยิ่งกว่าลิงแก้แห

Drilling Waste Management

การขุดหลุมช่วงแรก (Drilling Surface section)

อาจจะมีผู้รู้(ไม่จริง)บางท่านบอกว่าในการขุดหลุมช่วงแรกสุด ช่วงบนสุด นั้น ระบบไหลเวียนน้ำโคลน ไม่ได้เป็นระบบปิดอย่างที่ผมอธิบายมา แบบนี้นำโคลนไม่ไหลเจิ่งไปทั่ว ไหลลงห้วยหนองคลองบึง ปนเปื้นน้ำบาดาล หรือ ไหลนองทั่วพื้นทะเล กุ้ง หอย ปู ปลา ไม่ตายเรียบ หรอกหรือ

ก็ถูกครับ ในการขุดหลุมช่วงแรกสุดนั้น เราขุดแบบระบบเปิด แต่เราใช้น้ำธรรมดา (กรณีแท่นบก) หรือ น้ำทะเล (กรณีแท่นนอกชายฝั่ง) ในการขุดครับ

ในกรณีแท่นบก น้ำโคลนก็จะไหลมาที่ปากหลุม ลงไปตามทางที่ทำไว้ ลงไปในบ่อ ซึ่งหน้าตาก็เหมือนน้ำโคลนปนเศษหินดีๆนี่เอง ทิ้งไว้ก็แห้ง ไม่มีสารเคมี เอาไปถมที่ได้ไรได้ หรือ ก็ไถฝังกลบ ปริมาณก็ไม่เยอะอะไร เพราะหลุมช่วงแรก ใหญ่ก็จริง แต่ก็ไม่ได้ลึกมากอะไร และ อีกอย่างกฏระเบียบก็บอกไว้ชัดว่า หลุมช่วงแรกต้องลึกเกินชั้นน้ำบาดาล

เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะว่าเมื่อเอาท่อกรุใส่ลงไป ปั๊มซีเมนต์ยึดท่อกรุช่วงแรกแล้ว ก็เท่ากับว่าเรากั้นชั้นน้ำบาดาลให้ปลอดภัย ไม่ให้ถูกปนเปื้อนจากการใช้สารเคมีในการขุดช่วงต่อไปนั่นเองครับ

ในกรณีแท่นนอกชายฝั่ง เราใช้น้ำทะเลเจาะหลุมช่วงแรก น้ำทะเลก็เอาเศษหินขึ้นมากองอยู่ที่ก้นทะเล ไม่มีสารเคมีอะไรปนทั้งนั้น กระแสน้ำก็พัดพาเอาเศษหินที่ขึ้นมานั้น กระจายไป ไม่มีพิษภัยอะไร

ส่วนตอนปั๊มซีเมนต์ ซีเมนต์ที่ล้นขึ้นมาที่ปากหลุมที่อยู่ที่ก้นทะเล ก็กระจายไปกับกระแสน้ำ

ซีเมนต์คืออะไรครับ ก็คือหินปูน CaCO3 ซึ่งก็คือส่วนประกอบตามธรรมชาติของก้นทะเลอยู่แล้ว ไม่ได้มีพิษภัยอะไร ปริมาณก็ไม่เยอะอะไรด้วย และ ซีเมนต์ในส่วนแรกที่ใช้นี้ก็เป็นซีเมนต์ล้วนๆไม่มีสารเคมีอะไร

สรุป

เอาล่ะ มาถึงตรงนี้แล้ว ผมก็อยากจะขมวดปมสรุปว่า …

ของเสียจากการขุดเจาะที่เป็นเศษหินและน้ำโคลนนั้น เรามีการตรวจสอบ บันทึก ปริมาณ วัดค่าความปลอดภัยต่างๆ และ กำจัด ตามกฏกติกาที่ออกโดยผู้คุ้มกฏ (กรมเชื้อเพลิงฯ) ตามมาตราฐานสากล

นอกจากนี้ ส่วนประกอบของของเสีย (เศษหินและสารเคมี) ก็เป็นอะไรที่ไม่ใช่โลหะหนัก หรือ สารเคมีอันตรายร้ายแรง หากแต่เป็นสารเคมีที่เราใช้ในอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภคอยู่ทุกวี่ทุกวัน

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------