ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

เทคนิคการขุด แบบอ่าวไทย ของเรา เท่านั้น (Thailand Only)

เทคนิคการขุด … บังเอิญได้กลับไปอ่านบทความเก่าๆเรื่อง ขุดแบบเสี่ยซาอุฯ vs. ขุดแบบอ่าวไทย ที่เขียนไว้สักพักหนึ่งแล้ว ตอนจบติดค้างเอานิดหนึ่ง ตรงที่ว่าเงื่อนไขทางธรณีวิทยาของแหล่งกักเก็บก๊าซของเรานั้นต่างจากของเสี่ยซาอุฯ เราจึงต้องมีเทคนิคพิเศษต่างๆที่เราต้องพัฒนาขึ้นมาเองจนเป็นเอกลักษณ์แบบ Thailand only

แล้วผมก็ค้างไว้ตรงนั้นไม่ได้เล่าต่อว่าเทคนิค Thailand only นั้น มันคืออะไรบ้าง ใครยังไม่ได้อ่าน หรือ อ่านแล้วลืม น่าจะกลับไปอ่านอีกรอบนะครับ จะได้ต่อเรื่องราวติด

https://nongferndaddy.com/got-drilling/

เทคนิการขุด โจทย์หลักเลย ข้อแรก …

เพราะ “กระเปาะเราเล็กๆน้อยๆ กระจัดกระจาย” โจทย์คือเราต้อง “ขุดให้ได้หลุมเยอะๆ” “ขุดให้เร็วๆ” และ “ขุดให้ราคาถูกๆ”

เรื่องนี้ไปเกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียกว่า well architecture หรือ สถาปัตยกรรมของหลุม แล้วมันคืออะไรเจ้า well architecture เนี้ย พูดภาษาบ้านๆคือ โครงสร้างของหลุมนั่นแหละ

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ขุดให้เยอะ ขุดให้เร็ว ขุดให้ถูก … พวกเราคิดว่าหน้าตาหลุมมันจะออกมาเป็นอย่างไรล่ะครับ หลุมมันก็ต้องเล็กๆอะดิ จริงไหม

ขนาดหลุมมาตราฐานโลกที่เขาใช้กันคือ มีท่อกรุ 3 ช่วง โดยใช้มาตราฐานทั่วๆไปประมาณนี้

ช่วงแรก เรียกว่า Surface casing คือ ท่อกรุที่ทำหน้าที่กันหน้าดินส่วนบน เป็นฐานให้ติดตั้ง BOP (Blow Out Preventor – ชุดวาว์ลปากหลุมเพื่อป้องกันการพลุ่งของความดันจากก้นหลุม) ท่อกรุชุดนี้โดยมากก็จะขนาด 13 3/8″ ตัวหลุมก็จะ 16″

ช่วงกลาง เรียกว่า Intermediate casing คือ ท่อกรุที่ทำหน้าที่กันชั้นหินอื่นๆส่วนกลางก่อนที่จะเข้าชั้นหินแหล่งกักเก็บ (reservoir rock) ท่อกรุชุดนี้โดยมากก็จะขนาด 9 5/8″ ตัวหลุมก็จะ 12 1/4″

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ช่วงเข้าชั้นหินกักเก็บ เรียกว่า Production casing คือ ท่อกรุที่อยู่ในชั้นหินแหล่งกักเก็บ (reservoir rock) ท่อกรุชุดนี้โดยมากก็จะขนาด 7″ ตัวหลุมก็จะ 8 1/2″

แล้วก็จะมี ท่อผลิต (Production tubing) เสียบลงไปจากปากหลุมลงไปใน Production casing เพื่อผลิต ก๊าซ หรือ น้ำมัน อีกที ท่อผลิตที่ว่านี่ก็ขนาดต่างๆกันไป แล้วแต่ความดัน ความลึก ของแหล่งกักเก็บ และ อัตราการไหล ที่ต้องการ ฯลฯ ขนาดมาตราฐานก็ 5″ – 4 1/2″ – 4″ – 3 1/2″ – 2 7/8″

 

ดูรูปดีกว่า หน้าตาหลุมแบบการ์ตูนๆจะราวๆนี้

เทคนิคการขุด thailand only 1

แล้วถ้าจะให้ เล็ก เร็ว และ ถูก มันก็ต้องย่อขนาดลง อะไรไม่จำเป็นเราเอาออกให้หมด 555 🙂

เราก็เลยเริ่มด้วยขนาดท่อกรุ 9 5/8″ ไล่มาเป็น 7″ แล้ว จบที่ท่อผลิต 3 1/2″ หรือ 2 7/8″ โดยเอาซีเมนต์ยึดท่อผลิตติดชั้นหินซะเลย หน้าตาหลุมก็เลยต้องออกมาราวๆนี้

เทคนิคการขุด thailand only 2

เทคนิคการขุด

เนื่องจากมันเล็ก เราเลยเรียกมันว่า slim hole หรือ slim well วิธีแบบนี้ ตอบโจทย์ เร็ว เล็ก และ ถูก แต่ไม่ตอบโจทย์อื่น (ที่ไม่ใช่โจทย์ของเรา) โจทย์ที่หลุมแบบนี้ตอบไม่ได้แน่ๆก็คือ

1.ไม่มีความยืดหยุนในการเลือกชั้นการผลิต (selective production) ไม่สามารถเลือกผลิตจากชั้นหินกักเก็บมีหลายๆชั้นในเวลาเดียวกันได้ เพราะ น้ำมันหรือก๊าซจะไหลเข้ามาร่วมวงไพบูลย์ในท่อผลิตเดียวกัน

ถ้าอยากเลือกผลิต ก็ต้องผลิตทีล่ะชั้น จากล่างขึ้นบน โดยเจาะรู (perforation) ท่อผลิตตรงชั้นหินกักเก็บชั้นล่างสุดก่อน รีดผลิตออกมาให้หน่ำใจ แล้วถมซีเมนต์ลงไป แล้วถึงจะเจาะรูท่อผลิตตรงชั้นหินกักเก็บถัดขึ้นมาข้างบนแล้วผลิต ผลิตแล้วถมซีเมนต์วนไป แบบนี้ไปเรื่อยๆ ทำให้การบริหารจัดการแหล่งผลิต (Reservoir management) ทำได้ยาก เสียเวลาทำมาหากิน ไม่ทันใจ ไม่ทันขายมาใช้หนี้เงินกู้

โจทย์ข้อนี้เราไม่แคร์ เพราะเราใจร้อน ไม่ต้องการมาเลือกผลิตทีล่ะชั้นๆแบบเสี่ยซาอุฯ ที่เสี่ยเขามีหลายๆชั้น ชั้นล่ะเยอะๆ ใหญ่เหมือนส้มโอนครปฐม ไอ้เราเบี้ยน้อยหอยน้อย กระเปาะย่อมๆใหญ่กว่าลูกเกดหน้าแล้งตากแห้งนิดหน่อย อย่าไปลีลาเลือกมาก ผลิตออกมาพร้อมๆกันนี่นแหละ เริ่ด ค่าาาา

2.ถ้าต้องผลิตจากชั้นหินกักเก็บหลายๆชั้นในเวลาเดียวกัน ก็ต้องผลิตร่วมกันอย่างที่ว่าไปแล้ว อาจจะทำให้ก๊าซไหลจากชั้นหินที่มีความดันสูง เข้าไปในชั้นหินที่มีความดันต่ำ (cross flow) แทนที่จะขึ้นมาปากหลุมให้เราเอาไปขายใช้หนี้ เราเรียกการผลิตแบบนี้ว่า Commingle production ทำให้ไม่สามารถผลิตออกมาได้สูงสุดเท่าที่ควรจะได้

แต่โจทย์นี้ เราก็ไม่แคร์ เพราะแม่พระธรณีท่านเมตตา ความดันแหล่งกักเก็บในอ่าวฯเรา ไม่หนีกันมาก ไหลข้ามไปข้ามมานิดหน่อย หยวนๆไปล่ะกัน จะเอาอะไรมากมาย ถูกก็จะเอา เร็วก็จะเอา พอๆ อย่าเยอะ

3.จะซ่อมหลุม (workover) จะแก้ไขโครงสร้างหลุม (Intervention) จะเปลี่ยนวิธีการผลิต ก็ทำไม่ได้ เพราะเราดันไปยึดท่อผลิตซีเมนต์ติดผนังหลุมไปแล้ว

โจทย์ข้อนี้เราก็ไม่แคร์อีก เพราะเราบอกว่า ทำแบบนี้ ถูก เร็ว ดี ไม่ต้องซ่อม ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรอีก ถ้าอยากเปลี่ยน อยากเยอะ อยากไร ไม่พอใจ ก็ขุดหลุมใหม่ถูกกว่าที่จะมาออกแบบหลุมให้เผื่อโน้นนี่นั่น(แต่ไม่มีวันได้ใช้ 555)

พูดง่ายๆคือ ขาดความยืดหยุ่นไปซะทั้งหมด ปรับแต่งอะไรไม่ได้เลย เรียกว่า เหมาะเจาะกับโจทย์ เยอะ เร็ว ถูก ของเรา (fit for purpose)

ซึ่งจะว่าไปก็เหมือนงานวิศวกรรมทุกอย่างในโลกแหละครับ ถ้าออกแบบมาเผื่อปรับโน้นนี่นั่นได้เยอะๆ มันก็ต้องแพง ต้องผลิตออกมาช้า แต่ถ้าเป็นอะไรที่ผลิตมาใช้งานได้เบสิกๆจำกัดๆปรับแต่งไม่ได้ มันก็จะผลิตได้เร็ว เยอะ และ ถูก (ดูง่ายๆก็จักรยานแบบไม่มีเกียร์ กับ มีเกียร์เยอะๆซ้อนกันเป็นจานบินขี่คอกันมานั่นแหละครับ ราคา ถูก แพง ซ่อมบำรุง ระยะเวลาการผลิต ฯลฯ ก็ต่างกัน)

โจทย์ข้อต่อมา การควบคุมทิศทางหลุม …

เทคนิคการขุด แบบมีทิศทาง

ปกติแล้วการขุดแบบมีทิศทางเนี้ย เราขุดโดยใช้ PDM (Positive Displacement Motor) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า mud motor  หรือ RSS (Rotary Steerable System) แต่โจทย์ที่แม่พระธรณีให้เรามา คือ ชั้นหินกักเก็บก๊าซเรามันอยู่ ลึก และ มันร้อนจี๋ ชนิดที่เครื่องมืออิเลคทรอนิคส์ใน RSS เอาไม่อยู่ และ ส่วนที่เป็นยางใน mud motor ก็รับไม่ไหว

แถมหลุมเราก็ยังเล็กจิ๋วแค่ 6 1/8″ เครื่องมือเชิงกลทุกประเภทที่ถูกออกแบบมาให้เล็ก ประสิทธิภาพเชิงกลจะห่วย นั่นคือ กินพลังงานมากเพื่อที่จะทำงานได้เท่าๆกัน หลุมเราก็เล็ก ก้านเจาะก็นิดเดียว เล็กไปตามขนาดหลุม จะส่งพลังงานกล พลังงานไฮดรอลิกส์อะไรลงไปให้ถึงปลายท่อขุด(ตรงที่เครื่องมือมันอยู่) มันก็ติดขัดไปหมด ขอไม่ลงรายละเอียดเนอะ เยอะเกิ้น

ดังนั้นโจทย์เราจึงต้องการเครื่องมือควบคุมทิศทางที่ 1. เล็ก 2. ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นยาง 3. ไม่มีอะไรที่เป็นอิเลคทรอนิกส์ … อือ เยอะเนอะพี่ไทยเนี่ย

คำตอบก็คือ AGS (Adjustable Gauge Stabilizer)

ถ้าอยากรู้ละเอียด ฮาร์ดคอร์ๆ เบื้องหลังการถ่ายทำ อ่านต่อในลิงค์เลยครับ ว่ามันเหมาะเจาะอะไรยังไงกับการใช้งานของเรา

https://nongferndaddy.com/bha-bottom-hole-assembly-ags/

ในความเห็นของผม ผมก็เห็นว่ามี 2 เรื่องใหญ่ๆนี่แหละครับที่ Thailand only หรือ อ่าวไทย only นอกนั้นก็ไม่มีอะไรเท่าไร เช่น น้ำโคลน และ ซีเมนต์ ที่ทนอุณหภูมิสูงๆ ขนาดหัวเจาะเล็กๆ (6 1/8″) หรือ เกลี่ยวท่อกรุทนความร้อนสูงๆ อะไรๆเหล่านี้มีที่อื่นใช้กันอยู่ก่อนหน้าแล้ว เช่นในอุตสาหกรรมขุดหลุมพลังงานความร้อน (Geo Thermal well) ถึงแม้จะไม่มากนักก็ตาม

ก็มีแต่ well architecture หรือ สถาปัตยกรรมของหลุม กับ AGS ที่แหละ ที่เห็นกันเยอะมากๆเฉพาะในอ่าวไทยเรา (ตอนหลังๆก็มีหลายที่ที่มีโจทย์คล้ายๆกับเราได้เอารุปแบบวิธีการและเทคโนโลยีของเราไปประยุกต์ใช้)

ก่อนจากกันวันนี้ ขอฝากอะไรไว้เป็นข้อคิดทางการทำงาน และ ทางวิศวกรรมนิดนึง

1.ของอะไรที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน จะราคาแพง ซ่อมยาก ตรงข้ามกับของอะไรที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเดียว จะราคาถูก ซ่อมง่าย

2.อย่าไปตามก้นฝรั่ง ญี่ปุ่น หรือ จีน ถ้าเรามีโจทย์ของเรา ก็จงชัดเจนในโจทย์ของเรา หาทางแก้ปัญหาโจทย์ของเราในแบบของเรา อย่าไปแคร์โจทย์คนอื่น อย่าโลภ อย่าเยอะ ไอ้โน้นก็จะเอา ไอ้นี่ก็ไม่อยากพลาด ไอ้นั่นก็จะขอเผื่อ แบบนี้ไปไม่รอดครับ

3.ถูก เร็ว ดี ชีวิตเราเลือกเอา 2 อย่างเท่านั้น เหมือนเอารถเข้าอู่ เอาไปซ่อมสี อยากได้เร็ว อยากได้ถูก งานซ่อมคงออกมาไม่ดี อยากได้งานดีๆ อยากได้ราคาถูกๆ ก็คงไม่ได้รถคืนเร็ว แต่ถ้าอยากได้งานดีๆ ได้รถกลับมาใช้เร็วๆ ก็คงไม่ถูกตังต์แน่นอน … เอวัง 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------