ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Depth and Reference การวัด และ จุดอ้างอิง ในการขุดเจาะหลุม

Depth and Reference … เคยอ่านรายงานต่างๆจากแท่นเจาะแล้วมึนตึ๊บไหมครับ MD, VD, TVD, TD, TVDMSL, mBRT, EGL … บลาๆๆๆๆ บางตัวก็พอเดาๆได้ แต่บางตัวก็ไม่รู้มันคืออะไร หันซ้ายหันขวากก็ไม่รู้จะไปถามใคร วันนี้จะมาเฉลยให้ครับ

Depth and Reference

จุดอ้างอิงสำคัญๆในระบบ

MSL = Mean Sea Level ระดับน้ำทะเล
ML = Mud Line พื้นก้นทะเล (Sea Bed นั่นแหละครับ อย่าถามผมว่าทำไม่เรียกแบบนั้น ผมก็ไม่ทราบ)
SS = Sub Sea ใต้ผิวน้ำ (ความหมายเดียวกับ MSL)
RT = Rotary Table พื้นของแท่นเจาะ
DF = Rig Floor พื้นของแท่นเจาะ ก็คือที่เดียวกับ RT นั่นแหละครับ*
KB = Kelly Bushing** สูงกว่าพื้นแท่นเจาะ 1 ฟุต
GL = Ground Level พื้นดิน
LAT = Lowest Astyronomical Tide ระดับน้ำลงต่ำสุด (ไม่ค่อยได้ใช้)

**Kelly Bushing เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการหมุนก้านเจาะ สมัยนี้ไม่ค่อยมีใช้กันแล้ว

*ตรงที่เป็นรูลงไปให้ก้านเจาะผ่าน แต่ก่อนใช้หมุน kelly bushing แล้ว kelly bushing ไปหมุน kelly แล้ว ไปหมุน ก้านเจาะอีกที 5555 งง ดูรูปดีกว่า

Depth and Reference Depth and Reference

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

จะเห็นว่าสีแดงๆในรูปซ้าย หรือ สีเหลืองในรูปขวา มันจะหนาราวๆฟุตนึง นั่นคือ KB จะสูงกว่า RT หรือ DF อยู่ 1 ฟุต โดยประมาณ

ส่วน DF ก็ตรงที่เป็นพื้นๆสีเหลืองๆ ซึ่งก็อยู่ระดับเดียวกับ RT ที่หมุนๆอยู่ใต้ kelly

ถ้ายังงงๆก็ดูคลิปล่ะกัน

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

หน่วย Depth and Reference

m = meter
ft หรือ f เฉยๆ = foot

ความลึก Depth and Reference

D = Depth
VD = Vertical Depth วัดแนวดิ่ง
MD = Measure Depth วัดไล่เลื้อยไปตามแนวหลุม
AH = Along Hole วัดไล่เลื้อยไปตามแนวหลุม (ความหมายเหมือน MD)

T = Total หมายถึง สุดท้ายของหลุม ก็คือ ก้นหลุมนั่นเอง
B = Below

E Elevation (เทียบกับ MSL)

เอาล่ะ พอรู้ตัวย่อพวกนี้แล้ว คราวนี้ก็คงพออ่าน Drilling Report หรือ Report ของ Service Company ในวงการเรารู้เรื่องแล้วนะครับ

จุดสำคัญอยู่ที่

1. ถ้าไม่ได้ระบุจุดอ้างอิงไว้ในหน่วยการวัด (เช่น SS หรือ MSL)  ให้ถือว่า จุดอ้างอิ่งเป็น RT หรือ DF เสมอ
2. ถ้าไม่ระบุว่าเป็น V หรือ M ให้ถือว่าเป็น M คือ Measure Depth เสมอ

ลองฟังเหตุผลดูว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น

เอาเรื่องแรกก่อน คือ จุดอ้างอิง ถ้าไม่ระบุ ทำไมถึงให้อนุมานว่าเป็นวัดจาก RT หรือ DF (ก็จุดเดียวกันนั่นแหละ)

  1. คนทำงานส่วนใหญ่เวลาทำงานจะวัดระยะ หรือ คำนวนเวลาทำงาน จากปากหลุม จุดที่ทำงาน (DF) เช่น วัดระยะท่อกรุ ระยะก้านเจาะ ปริมาณน้ำโคลน ปริมาณซีเมนต์ ความยาวเคเบิ้ลที่ใช้หยั่งธรณี (wireline cable) ฯลฯ
  2. มีคนกลุ่มเดียวเท่านั้นเท่าที่ผมทราบที่ใช้ SS หรือ MSL ก็คือ นักธรณี เขาจำเป็นต้องใช้ความลึกที่เป็นความลึกที่สามารถใช้เทียบระหว่างชั้นหินของหลุมหลายๆหลุมในแหล่งผลิต หรือ ในพื้นที่สำรวจ เพราะ RT DF มันขึ้นกับการติดตั้ง และ โครงสร้างแท่นขุด ซึ่งแต่ล่ะหลุมมันไม่เหมือนกัน

แล้วถ้าหลุมที่ขุดเสร็จแล้วล่ะ ย้ายแท่นขุดออกไปแล้ว จะวัดอย่างไร ไม่มีแท่นขุด ก็ไม่มี RT ก็ไม่มี DF

  1. ถ้าเป็นหลุมผลิตเราก็วัดจากปากบ่อ (wellhead) ครับ แล้วแน่นอน ก็ต้องมีระยะสูงจากปากบ่อเมื่อเทียบกับ MSL กำกับ (ถ้าเป็น subsea wellhead ระยะนี้จะเป็นลบ เพราะ wellhead มันนอนอยู่ก้นทะเล)
  2. ถ้าเป็นหลุมสำรวจ ที่เรา P&A (Plug & Abandon) ทิ้งแล้ว โดยมากจะก็จะไม่มี wellhead เราตัดมันออก ยกเว้นกรณีหลุมสำรวจในเขตน้ำลึก (Deep water exploration well) ที่บางครั้งเราไม่ตัด wellhead แล้วเอาขึ้นมา เพราะค่าตัด ค่าเวลาแท่นขุด เอามันขึ้นมาแพงกว่า ค่าเอา wellhead นั้นไปซ่อมใช้งานใหม่ และ ทิ้งไว้ที่น้ำลึกๆ (ดูกฏกติกาของผู้ให้สัมประทานด้วย) ก็ไม่ได้กีดขวางการเดินเรือ (แม้แต่เรือดำน้ำ) การวางสมอ การประมง ระบบนิเวศน์ ฯลฯ แต่เอาล่ะ ไม่ว่าจะมี wellhead หรือ ไม่มี เราก็ไม่กังวลมาเกี่ยวกับการวัดอีกต่อไป เพราะเราทิ้งหลุมนั้นแล้ว ไม่ต้องไปทำอะไรกับมันอีก ความลึกในเอกสารต่างๆก็จะเป็น VD กับ MD ที่เทียบกับแท่นที่เคยขุดมัน ถ้าจะกลับไปทำอะไรกับมันใหม่ (re-entry) ซึ่งก็น้อยโอกาสมากๆ ก็ไปคำนวณ ไปทดเลขเอาก็แล้วกัน

ต่อมาเรื่องที่สอง ถ้าไม่ระบุการวัดว่าเป็น V คือวัดแนวดิ่งๆตรงๆลงไป หรือ M คือ วัดระยะไล่เลื้อยไปตามแนวหลุม ให้ถือว่าเป็น M คือ Measure Depth เสมอ เหตุผลคล้ายๆกันครับ

  1. คนส่วนใหญ่ทำงาน วัดระยะท่อ ระยะอะไร ก็ต้องดูตามความยาวหลุม เหตุผลนี้คล้ายๆข้อแรก ข้อยกเว้นเท่าที่ผมนึกได้ คือ การคำนวนอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับความดันอันเนื่องจากน้ำหนัก (hydro static pressure)  ซึ่งโดยมากเกี่ยวกับงานของเหลว ไม่น้ำโคลน ก็ ซีเมนต์ นั่นแหละ และ การคำนวนอะไรที่เกี่ยวกับการควบคุมความดันในหลุม (well control) เพราะความดันที่เกิดจากน้ำหนักของเหลว ไม่ขึ้นกับแนวหลุม แต่ ขึ้นกับระยะในแนวดิ่ง ตามกฏของเฮียปาสคาล
  2. ก็คล้ายๆกับ MSL DF อีกนั่นแหละ มีอีกกลุ่มคนหนึ่งที่ใช้ความลึกตามแนวดิ่งในการทำมาหารัปทาน คือ เพื่อนนักธรณีของเรา เพราะเขาจำเป็นต้องใช้ความลึกตามแนวดิ่งตรงๆลงไป เพื่อเทียบระหว่างชั้นหินของหลุมหลายๆหลุมในแหล่งผลิต หรือ ในพื้นที่สำรวจ เพราะ MD หรือ measure depth มันขึ้นกับการแนว ทิศทาง ความเอียงของหลุม ซึ่งแต่ล่ะหลุมมันไม่เหมือนกัน เอา MD ของหลุมนี้มาเทียบแนวชั้นหินกับอีกหลุมนึงไม่ได้ เลยต้องเอา VD มาเทียบ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น พอนักธรณีเขาเทียบชั้นหินให้เราเป็น VD ก็จะบอกว่า พี่นกๆ ขุดลงไปอีก 50 mVD นะ พี่นกจะเจอชั้นหินดินดาน เลือกจุดวางท่อกรุได้เลย (casing point) พี่นกก็ต้องเอา VD มาแปลงเป็น MD ตามแนวของหลุมที่กำลังขุด แล้วจึงเอาไปใช้งานต่อได้ในงานของพี่นก แบบนี้เป็นต้น

จะเห็นว่าทั้งสองกรณี (MSL DF กับ VD MD) นี่สำคัญ เพราะไม่งั้นสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง

อะ อะ กลับมาดูต่อเรื่องของเรา เรื่องระยะต่างๆ ถ้ายังงงๆก็ดูรูปข้างล่างประกอบ

Depth and Referenceตัวอย่าง

m TD = Total Depth ความลึกถึงก้นหลุม ไม่ได้ระบุจุดอ้างอิง ดังนั้น จุดอ้างอิงคือวัดจาก DF หรือ RT และ ไม่ได้ระบุว่า VD หรือ MD ดังนั้น ให้คิดว่าเป็น MD และ หน่วยเป็น เมตร

m TVD = Total Vertical Depth ความลึกถึงก้นหลุมตามแนวดิ่ง ไม่ได้ระบุจุดอ้างอิง ดังนั้น จุดอ้างอิงคือวัดจาก DF หรือ RT และ หน่วยเป็น เมตร

m VDSS = Vertical Depth Sub Sea ความลึกหลุมตามแนวดิ่ง วัดจากระดับน้ำทะเล และ หน่วยเป็น เมตร

ft TVDSS = Vertical Depth Sub Sea ความลึกถึงก้นหลุมตามแนวดิ่ง วัดจากระดับน้ำทะเล และ หน่วยเป็น ฟุต

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

ที่เหลือก็น่าจะเดาๆกันพอไหวนะ

m VDMSL
ft TVDMSL
m MD
ft VD
m VDBRT
m DF
ft MDBDF
m ML
m VDML
ft AH

ส่วนข้างล่างนี่ไม่ได้บอกความลึกของหลุม แต่มักจะเขียนอยู่บนหัว (header) ของรายงานต่างๆ บอกให้รู้ว่าอะไรของแท่นอยู่ตรงไหน เมื่อเทียบกับ MSL

EDF หรือ DFE = ระยะจาก DF ถึง MSL เช่น EDF = 20 เมตร เป็นต้น
EKB หรือ KBE = ระยะจาก KB ถึง MSL
ERT หรือ RTE = ระยะจาก RT ถึง MSL
EGL หรือ GLE = ระยะจาก GL ถึง MSL (ส่วนมากจะใช้กับแท่นบก)

ความรู้เล็กๆน้อยๆ เอามาฝากครับ หวังว่าพรุ่งนี้ตื่นมาอ่านรายงานการขุดเจาะประจำวันจากนอกชายฝั่ง (DDR Daily Drilling Report) ได้เข้าใจดียิ่งขึ้นนะครับ 🙂

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------