ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

Completion และ อื่นๆ, L Hanger, WO, Interven, Well Serv, Stimul

Completion และ อื่นๆ, L Hanger, WO, Interven, Well Serv, Stimul – สืบเนื่องมากจากประกาศงานของ Baker และ Weatherford

Baker Technician Completions and Wellbore Intervention

https://nongferndaddy.com/baker-technician-completions/

Weatherford Field Engineer Completion, Liner hanger, Workover

https://nongferndaddy.com/weatherford-field-engineer/

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ที่มีรายละเอียดทางเทคนิคเกี่ยวกับงาน completion, liner, liner hanger และ อื่นๆเยอะไปหมดมากองๆรวมๆกัน ผมเลยอยากเอามารวมไว้ต่างหากที่เดียว เพราะประกาศรับสมัครงาน พอเก่าถึงระดับหนึ่ง ผมก็จะลบมันทิ้ง รายละเอียดทางเทคนิคก็จะถูกลบหายไปด้วย เสียดาย ก็เลยคิดว่า ลอกมาเก็บไว้ต่างหากดีกว่า เผื่อในอนาคต จะได้ใช้อ้างอิงได้

Completion และ อื่นๆ

Completion คือ อะไร

แปลกันตรงๆคือ การเครียมหลุมเพื่อให้พร้อมผลิตปิโตรเลียม ฝ่ายขุดเจาะ (drilling) จะเจาะหลุมไว้ให้ ลงท่อกรุไว้ให้ ก็จบแค่นั้น ยืนเท้าสะเอวมองลงไปจากปากหลุม ก็จะเห็นท่อกรุยาวเป็นกิโลเมตรๆ ก็แค่นั้น ไม่มีอะไรเลย ชุดวาว์ลปากบ่อ (Cristmas tree) ก็ยังไม่มี มีแต่ชุดแขวนท่อกรุหัวบ่อ (Wellhead) เท่านั้น

Completion engineer ก็ต้องจับเข่าคุยกับ reservior engineer (และ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง) ว่าจะเตรียมหลุมผลิตอย่างไร วันนี้จะเตรียมหลุมอย่างไร ต้องเผื่อวันหน้าไหม ใช้ท่อผลิตกี่นิ้ว ยิงระเบิดหลุมตรงไหน ด้วยวิธีไหน บลาๆ 108 1009 หัวข้อที่ต้องถกกัน

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ประหนึ่ง drilling คือคนสร้างบ้านขึ้นมาสักหลัง แต่(มัน)ดันสร้างไว้แต่โครง คือ มี รากฐาน เสา คาน ผนัง หลังคา แค่เนี้ย completion คือ มาเตรียมให้บ้านเป็นบ้านให้ออกมาตรงกับวัตถุประสงค์ เช่น กี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ ครัวอยู่ไหน ติดแอร์กี่ห้อง หรือ จะให้เป็นโชว์รูม เป็นซอยห้องให้เช่า บลาๆ

แน่นอนว่า คนสร้างโครงบ้าน (drilling) กับ คนมาเตรียมบ้านให้พร้อมใช้งาน (completion) กับ คนที่จะมาใช้บ้าน (reservoir engineer) จะต้องคุยกันตั้งแต่ต้น

ฉํนใดก็ฉันนั้นแล …

Well completion คืออะไร … เอาไว้เผื่อสอบสัมภาษณ์กัน

Well Completion หลักๆ 3 แบบ เจาะลึก (อีกนิด) ว่ามีอะไรกันบ้าง

Basic oil well drilling animation แอนิเมชั่นแรกของวงการ ฉบับปฐม ก.กา

Well intervention คือ อะไร

ขุดหลุมไปแล้ว เตรียมหลุมเพื่อผลิตไปแล้ว กำลังผลิตอยู่ วันดีคืนดี(ซึ่งมักไม่ดี เพราะถ้าดี ก็คงปล่อยให้ผลิตไป 555) วิศวกรการผลิต (production engineer) ถกกับ วิศวกรแหล่งกักเก็บ (reserrvior engineer) แล้วดำริว่า อืม ต้องไปทำอะไรกับหลุมสักอย่าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต พูดง่ายๆ ถ้าไม่ซ่อม ก็เปลี่ยนวิธีการผลิตทั้งยวง (workover) เช่น เปลี่ยนโซนการผลิต เปลี่ยนจากขนาดท่อที่ใช้ผลิต หรือ แค่ซ่อมแซม เปลี่ยนสายเคเบิ้ลเล็กๆน้อยๆ มีล้านแปดการซ่อมแซมหลุมน่ะครับ

กลับไปที่ตัวอย่างบ้านของเรา ก็เปรียบเหมือน การซ่อมแซมต่อเติมบ้าน โกดัง โชว์รูม ฯลฯ ที่ใช้งานอยู่แล้ว โดย อาจจะแค่ซ่อมแซม โน้นนิดนี่หน่อย หรือ เปลี่ยนรูปโฉมหน้าที่การใช้งานไปเลย (workover) เช่นเปลี่ยนจากบ้านเป็นโกดังเก็บของ

บางบ.เรียกงาน well intervention นี้ว่า งาน well service ซึ่งก็มีตั้งแต่ workover หลุมเลย ถอนของเก่าขึ้นมาทั้งยวง ใช้สายเคเบิ้ลชนิดต่างๆลงไปทำงานกับหลุม ซ่อมบำรุง christmas tree ยก coil tubing มาซ่อมหลุม บลาๆ ล้านแปด

อย่างเดียวที่ well service หรือ well intervention ไม่ทำคือ ขุดหลุมใหม่ 555 (ซ่อมแซมต่อเติมบ้าน แต่ คาน เสา ผนัง หลังคา ยังของเดิม)

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

จะเห็นว่าทักษะของการเตรียมหลุมเพื่อผลิต กัลทักษะการซ่อมแซมหลุมเนี้ย เป็นทักษะเดียวกัน จึงมักจะเป็นคนกลุ่มเดียวกัน

ส่วนลิงค์ข้างล่างนี่ ผมรวบรวมประสบการณ์สัมภาษณ์ที่น่าจะเกี่ยวกับตำแหน่งนี้มาแถมให้ด้วยครับ

Chevron Completion Engineer แบ่งปันประสบการณ์สอบสัมภาษณ์

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

Chevron Completion แบ่งปันประสบการณ์สอบสัมภาษณ์

Wellhead Technician ช่างเทคนิคสนามที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ที่ปากหลุมเจาะฯ

ประสบการณ์สัมภาษณ์ อื่นๆ Baker

Remedial Workover

อันนี้ยากแฮะ เพราะมันประกอบไปด้วยงานล้านแปดอย่าง มันคือการรื้อ completion ออกมาทั้งหมด ติดตั้ง completion ใหม่ทั้งหมด ซึ่งอาจจะเป็นแบบเดิม หรือ แบบใหม่ คงไม่มีใครเป็นหมดหรอก (workover = rework = รื้อออกทำใหม่ นั้นแหละครับ)

Cementation

นี่คือการทำซีเมนต์หลุม จริงๆแล้ว มันเป็นงานช้างโดยตัวของมันเองเลย แต่ในที่นี้อาจจะหมายถึงปั๊มซีเมนต์ซ่อมหลุมเล็กๆน้อยๆ อารมณ์ปะผุอุดรูโน้นนี่ ไม่ใช่ซีเมนต์ท่อกรุทั้งหลุมแบบทีมงานขุดเจาะหลุมทำกัน

เอาไงดี งั้นเอาลิงค์ที่น่าจะพอช่วยให้มือใหม่เข้าใจซีเมนต์หลุมเจาะไปอ่านเตรียมสัมภาษณ์ล่ะกัน อย่างน้อยก็จะได้รู้ว่างานซีเมนต์เป็นอย่างไร

เทคนิคการปั๊มซีเมนต์ ให้ไปอยู่หลังท่อกรุ เราทำกันอย่างไร

simple cement volume calculation การคำนวนปริมาตรซีเมนต์หลุม

CBT CET USIT CCL เครื่องมือวัดคุณภาพซีเมนต์ในหลุมเจาะ

สอนอ่าน CBL VDL ซีเมนต์ดี ไม่ดีแค่ไหน เราจะรู้ได้อย่างไร

ซีเมนต์ไม่เกาะท่อกรุ ทำไงดี ปัญหาปวดตับ … Poor or No Cement bond

Stimulation

คือการกระตุ้นหลุม (ชั้นหิน) โดยการปั๊มอะไรก็ได้ลงไปในท่อกรุ ท่อผลิต เช่น ปั๊ม กรด สารเคมี น้ำเกลือ โพลิเมอร์ โฟม ไนโตรเจน แม้กระทั้งอากาศ หรือ น้ำเปล่า จริงๆแล้ว ก็อารมณ์คล้ายๆงานซีเมนต์แหละ เพราะมันใช้ปั๊มเหมือนกัน

ดังนั้น หลายๆบ.ถึงรวมงานนี้ผนวกเข้าไปเป็นงานของ cement แล้วเรียกว่า pumping service ซึ่งก็สมเหตุผลอยู่ เพราะมันใช้ปั๊มตัวเดียวกันนั่นแหละ วิศวกร ช่างเทคนิคผู้ช่วย (operator) ก็คนชุดเดียวกัน

Liner Hanger

เอาล่ะซิ อีนี่มันตัวอะไร ก่อนอื่นไปรู้จัก liner กันก่อน

liner ที่ท่อกรุที่ปลายด้านบนไม่ไปโผล่ที่ปากหลุม แต่ไป “แขวน” (hang) ไว้กลางหลุมที่ท่อกรุอีกท่อหนึ่ง(ที่ขนาดใหญ่กว่า)

เคยอธิบายไว้แล้วครับ ไปอ่านก่อนเน้อ จะได้เข้าใจว่า hanger มันคืออะไร

Casing vs Liner มันต่างกันอย่างไร เคยสงสัยกันไหม ที่นี่มีคำตอบ

Casing vs Liner มันต่างกันอย่างไร เคยสงสัยกันไหม ที่นี่มีคำตอบ

เอาล่ะครับ รู้จัก liner กันแล้ว ทีนี้ เจ้า liner hanger ก็คือ อุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ยาวประมาณ 3 – 10 เมตร แล้วแต่จะออกแบบกัน ที่เอาไว้สวมที่ปลายด้านบนของ liner มันทำหน้าที่ 2 อย่างหลักๆเลย

  1. แขวนเชิงกล (mechanical hanging) คือ เกาะติดท่อกรุตัวนอกเอาไว้ กลไกที่ใช้ จะคล้ายๆฟัน (slip) ของ packer หรือ drill pipe slip ที่ roughneck ใช้จับ drill pipe บน rig floor ตอนจะต่อก้านเจาะน่ะครับ ตอนหย่อนลงไปกับ liner เจ้าฟัน (slip) นี่จะหุบ (retracted) อยู่ในตัว hanger พอหย่อน (ด้วยก้านเจาะ) ลงไปถึงจุดที่จะติดตั้ง เราก็จะกางมันออก (วิธีกางออก เดี๋ยวเล่าอีกทีตอนท้าย) ฟันก็จะกางออกมาเกาะยึดกับท่อกรุตัวนอก
  2. กั้นของไหล (hydraulically seal) ดูจากรูปในลิงค์ข้างบนก็ได้ จะเห็นว่า เจ้า liner hanger นี่จะต้องกั้นไม่ให้อะไรไหลเข้าหรือออกไปจากภายในท่อกรุได้ กลไกก็จะเป็น metal – metal seal (ไม่รู้จะแปลไงดี) ก็เหมือนฟัน (slip) น่ะ ตอนหย่อนลงไปมันก็จะหดตัวอยู่ พอถึงจุดจะติดตั้ง พอฟันกางออกเกาะดีแล้ว seal ก็จะกางออกมายึด seal กับท่อกรุตัวนอก

ต่อไปก็มาดูว่า กลไกการติดตั้งเจ้า hanger นี่กัน หลักใหญ่ๆก็มี 2 วิธี คือ เชิงกล (mechanical setting) กับ ปั๊มของเหลวลงไป (hydraulic setting)

  1. Mechanical setting เวลาเราหย่อนลงไปเนี้ย ถ้าไล่ลงไปจากด้านบน จะมี ก้านเจาะ (drill pipes) – เครื่องมือช่วยติดตั้ง (setting tool) – liner hanger – liner เจ้าเครื่องมือช่วยติดตั้ง นี่แหละ ที่บ.แต่ล่ะบ.ก็มีเทคนิคกลไกที่แตกต่างกัน ถึงต้องมีช่างเทคนิคเฉพาะ แต่หลักๆก็คล้ายกัน คือ ไม่หมุนก้านเจาะ ก็ดึงขึ้น หรือ หย่อนลง (ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ2 อย่าง) เพื่อติดตั้งโดยการกาง ฟัน และ seal
  2. Hydraulic setting แบบนี้ก็จะใช้วิธีเอาลูกบอลเหล็ก หรือ เซรามิค หย่อนลงไปในก้านเจาะ ปั๊มของเหลวลงไล่ตามลงไป ลูกบอลก็จะไปอุดกลไกบางอย่าง (บ.ใครบ.มัน มีหลายแบบ) จากนั้น ก็ปั๊มต่อ ฟัน และ seal ก็จะกางออกมา

จะเห็นว่าการติดตั้งทั้งสองแบบมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกัน สรุปง่ายๆเผื่อโดนสัมภาษณ์ก็แล้วกัน แบบ mechanical นั้น มีมานาน พัฒนาจนนิ่ง ไว้ใจได้ ไม่ค่อยพลาด

แต่ข้อเสียคือ เนื่องจากมันใช้ การ หมุน หรือ ดึง หรือ หย่อน เพื่อกางฟันและ seal ดังนั้น โอกาสที่จะบังเอิญกางฟัน หรือ seal ระหว่างหย่อนลงไปก่อนถึงความลึกที่วางแผนเอาไว้นั้นก็เป็นไปได้ (premature/ accidentally setting)

โดยเฉพาะถ้าหลุมเอียงๆมากๆ มันจะมีความฝืด หย่อนไม่ค่อยลง ถ้าใจร้อน หย่อนเร็วๆ บางที่ตรงอุปกรณ์ช่วยติดตั้งมันบังเอิญ ดึง หย่อน หรือ หมุน (เนื่องจาก reactive torque แรงบิดที่สะสมตัวอยู่ในก้านเจาะตอนหย่อนลงไป) มันก็จะกางเองโดยไม่ได้ตั้งใจ

และที่แน่ๆคือ ถ้าหลุมเอียงมากๆจนถึงขีดจำกัดหนึ่ง (กลไกแต่ล่ะบ.ก็ไม่เท่ากันว่าเอียงขนาดไหนวิกฤติ ใช้ไม่ได้) ก็จะใช้การติดตั้งเชิงกลนี้ไม่ได้ เพราะเราไม่สามารถส่งแรง หมุน ดึง หรือ หย่อน จากปากหลุมไปจนถึงอุปกรณ์ช่วยติดตั้ง (setting tool) ได้ แรงเหล่านั้น มันโดนความฝืด (แรงเสียดทาน เพราะหลุมมันเอียง ก้านเจาะมันตกท้องช้างนอนแอ่งแม้งอยู่ด้านล่างของท้องหลุม) รัปทานไประหว่างทางจนหมด

ส่วน hydraulic setting นั้น วิวัฒนาการมาทีหลัง แต่ก็นับว่าไว้ใจได้อยู่นะ ผมใช้มาก็ไม่เคยพลาด ตัดปัญหาหลุมเอียงไป เอียงแค่ไหนก็ใช้ได้ ข้อเสียอีกอย่างคือ มันแพง 555 ในงานที่พลาดไม่ได้ เราก็มี setting tool ที่มีทั้ง 2 อย่าง อยู่ใน setting tool เดียวกัน เผื่ออันหนึ่งไม่ได้ผล ก็ยังมีสำรอง แต่ก็นะ แพงบรรลัย

ที่ร่ายมายาวเนี้ย เพื่อให้เห็นภาพว่า วิศวรกสนามที่ weatherford รับสมัครนี้ต้องรู้จัก liner hanger และ setting tool ของ บ.นี้ (ไม่รู้ก็ไปเรียนที่หลัง แต่อย่างน้อยตอนนี้ก็รู้กว้างๆล่ะว่ามันคืออะไร) ไม่ใช่แค่รู้ ต้องถอดประกอบซ่อมแซมเปลี่ยนอะไหล่ได้ด้วย

ข้างล่างนี้ผมเอาคลิปมาให้ดู 2 คลิปเป็นตัวอย่าง ไปกูเกิลต่อเอาเองครับ ใช้ keyword – setting liner, liner setting, liner setting tool อะไรพวกนี้น่ะครับ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------