ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ห้องเรียนกลางทะเลลึก … บนเส้นทาง ‘พลังงาน’ (ข่าว) อีกหนึ่งความภูมิใจ

ห้องเรียนกลางทะเลลึก … บนเส้นทาง ‘พลังงาน’ (ข่าว) … อีกหนึ่งความภูมิใจของคนไทยครับ เอามาเล่าสู่กันฟัง ตามเคยครับ ข่าวเดียวกัน อ่านที่นี่ต้องได้มากกว่าอ่านจากที่อื่น

ห้องเรียนกลางทะเลลึก

มีตอนหนึ่งในข่าวบอกว่าแท่นบงกชใต้เป็นแท่นขุดเจาะฯนั้น คลาดเคลื่อนไปนิดครับ แท่นขุดเจาะฯจริงๆแล้วคือ drilling rig หรือที่เรียกย่อๆในวงการว่า OMDU ย่อมาจาก Offshore Mobile Drilling Unit ซึ่งก็เหมารวมแท่นขุดเจาะฯทุกประเภทที่อยู่นอกชายฝั่ง

แท่นขุดเจาะ หรือ Rig ทำหน้าที่เจาะหลุมลงไปพื้นดิน

แท่นบงกชใต้เป็นแท่นผลิต (PP – Production Platform) ครับ เป็นแท่นที่รวมปิโตรเลียมดิบ (ก๊าซ น้ำ condensate คาร์บอนไดออกไซด์ และ อื่นๆ) จาก “แท่นย่อยๆ” มารวมกันไว้ที่แท่นใหญ่นี้ เพื่อเอาปิโตรเลียมดิบมา “ปรับสภาพและความดัน” เพื่อให้ได้ตามคุณสมบัติที่สามารถส่งลงท่อขึ้นไปขายบนฝั่งได้ เปรียบง่ายๆให้เห็นภาพ ก็คือโรงงานขนาดใหญ่ที่ไปอยู่กลางทะเลนั่นเอง

ภาพตัวอย่างเอามาจากกูเกิลข้างล่างนี้ จะเห็นแท่นเล็กๆ 2 แท่น ส่งปิโตรเลียมดิบ เข้าไปหาแท่นผลิต (PP) แล้วแท่นผลิตก็ส่งต่อขึ้นฝั่ง ส่วนที่เห็นมีสายสีดำ กับ สายสีแดง นั่น ผมอ่านภาษาจีนไม่ออก แต่เดาว่าสายแดงคือไฮโดรคาร์บอนที่ส่งเข้าแท่นผลิต ส่วนสายสีดำน่าจะเป็นท่อที่จะน้ำ หรือ ก๊าซคาร์บอนไดอกไซด์ อัดกลับลงชั้นหิน

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ส่วนอัดกลับลงชั้นหินไปทำไมนั้น เอาไว้ต่อตอนหน้า ชักจะเยอะและยาวไป 555 🙂

ห้องเรียนกลางทะเลลึก

การ “ปรับสภาพและความดัน” นั้น หลักๆก็คือ การแยกเอาสิ่งที่ไม่ต้องการออก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ condensate น้ำ น้ำมัน สารปนเปื้อนต่างๆ ฯลฯ และ อัดก๊าซที่ได้(หลังแยกเอาสิ่งที่ไม่ต้องการออกแล้ว)ให้มีความดันเพียงพอที่จะอัดลงท่อใหญ่ไปขึ้นฝั่ง

ส่วน “แท่นย่อยๆ” นั้นเราเรียกว่า WPS ย่อมาจาก WellHead Platform South ในกรณีที่เป็นของแหล่งบงกชใต้ ถ้าเป็นแท่นย่อยๆของแหล่งบงกชเหนือ จะไม่มี S คือ เรียกว่า WP ครับ ส่วนแท่นย่อยๆของแหล่งอาทิตย์จะเรียกว่า AWP ย่อมาจาก Arthit WellHead Platform

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

ตัวเลขที่ตามหลังชื่อแท่นย่อยๆนี้จะบอกว่าแท่นย่อยนั้นมีสนิมเกาะแค่ไหน คือ เก่าแค่ไหนนั่นแหละครับ เช่น WP2 ติดตั้งก่อน เก่ากว่า WP3 หรือ AWP3 ติดตั้งก่อน เก่ากว่า AWP4 เป็นต้น

“แท่นย่อยๆ” เป็นแท่นเล็กๆที่เอาปากหลุมหลายๆหลุมมารวมกัน เอาปิโตรเลียมดิบจากหลายๆหลุมลงท่อเดียวแล้วส่งไปที่แท่นผลิต (บงกช บงกชใต้ หรือ อาทิตย์) แท่นย่อยๆเหล่านี้ ไม่มีคนประจำ (unman platform) เวลาเราไปทำงานก็จะนั่งเรือ หรือ ฮ. ไปเช้าเย็นกลับ เอาข้าวกล่องไปกิน อารมณ์เหมือนไปติดเกาะปิคนิกประมาณนึง (โรแมนติกซะไม่มีล่ะ)

หน้าตาเจ้าแท่นย่อยๆก็หล่อประมาณนี้ครับ

ห้องเรียนกลางทะเลลึก

แท่นย่อยๆเหล่านี้มีหลายชื่อ นอกจาก WellHead platform แล้ว บ้างก็เรียกว่า unman platform, Satellite platform, Jacket, etc.

นอกจากนี้ข่าวได้กล่าวถึงการปัญหาในขุดเจาะ เนื่องจากแท่นบงกชทั้งสองไม่ใช่แท่นขุดเจาะ ดังนั้นผมจึงอนุมานเอาว่า เป็นการเล่าถึงการทำงานของอุตสาหกรรมโดยรวมๆ

พอหอมปากหอมคอล่ะ ไปอ่านข่าวกันเนอะ …

ที่มา – https://www.dailynews.co.th/article/585627

‘ห้องเรียนกลางทะเลลึก’ ไทย..บนเส้นทาง ‘พลังงาน’

แท่นบงกชใต้ เป็นเสมือนห้องเรียนกลางทะเลลึก ฝึกผู้คน ผจญกับสภาพอากาศที่แปรปรวน แต่นั่นถือเป็นก้าวสำคัญที่ต้องก้าวให้มาดมั่น

จันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2560 เวลา 05.00 น.

ห้องเรียนกลางทะเลลึก

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

เฮลิคอปเตอร์บินออกจากชายฝั่งเมืองสงขลากว่า 1 ชั่วโมง ก่อนบินวนในม่านฝนกลางอ่าวไทย เบื้องล่าง…นอกจากทะเลจรดผืนฟ้า แท่นขุดเจาะแก๊ส “บงกชใต้” ยังตั้งตระหง่าน ซึ่งในอีกบทบาทยังเป็นเสมือนห้องเรียนกลางทะเลลึก ให้คนไทยหลายรุ่นได้พัฒนาตัวเอง จนวันนี้หลายคนก้าวสู่กำลังหลักของแท่นขุดเจาะ…

แม้วันนี้ “แท่นบงกชใต้” นั้นพนักงานทั้งหมดเป็นคนไทย แต่ยุคบุกเบิกที่บริษัทข้ามชาติเข้ามาถ่ายทอดความรู้ ก็ต้องผ่านความยากลำบาก กว่าคนไทยจะมีที่ยืนบนเส้นทางพลังงาน…

พงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มงานโครงการผลิตและสนับสนุนปฏิบัติการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ที่เป็นส่วนหนึ่งในผู้ออกแบบแท่นบงกชใต้ เล่าถึงจุดเริ่มต้นว่า แท่นนี้ ช่วงแรกปี ค.ศ. 2004 เป็นการทำการศึกษา กว่าจะผลิตจริงก็ปี ค.ศ. 2012 สิ่งท้าทายแรก ๆ คือ รู้ว่ามีแก๊ส แต่เมื่อลงทุนแล้วจะคุ้มหรือไม่? ยิ่งระหว่างการศึกษา ปี ค.ศ. 2008 เป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันตก และราคาเหล็กที่สร้างแท่นแพงขึ้นมาก
แต่สุดท้ายผู้ใหญ่ก็ตัดสินใจเดินหน้า…

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

ห้องเรียนกลางทะเลลึก

 

“แท่นบงกช ในฐานะเป็นห้องเรียน มีคุณค่าระดับประเทศ เป็นพื้นที่สร้างบุคลากรสายสำรวจและผลิต ที่ตอนนี้ก้าวไปทำงานในแท่นอื่นๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน เพราะถ้าไม่มีบุคลากรไทยที่ทำเอง ประเทศจะไม่ได้อะไรขึ้นมา”

ด้วยโครงสร้างแก๊สที่อยู่ใต้พื้นดินนี้ เป็นกระเปาะเล็ก ๆ กระจายอยู่ในพื้นที่ ทำให้บริษัทข้ามชาติหลายแห่งไม่อยากขุดเจาะ เพราะไม่คุ้มทุน แต่เราสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้สำเร็จ จนทุกวันนี้บริษัทข้ามชาติหลายแห่งต่างให้ความสนใจในเทคโนโลยีการทำงาน ที่สามารถขุดเจาะได้ในราคาถูก…

“ก่อนจะมาทำงานในแท่นบงกชใต้ เรามีแท่นบงกชเหนือ ที่ตอนนั้นคนฝรั่งเศสควบคุมการทำงานทั้งหมด การเรียนรู้งานของคนไทยต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย เพราะพื้นฐานเราเคยชินในการให้เขามาป้อนงานให้ แต่ในมุมมองฝรั่ง ถ้าคุณอยากเรียนรู้ต้องขวนขวายหาเอา”

ห้องเรียนกลางทะเลลึก

ความท้าทายในการทำงานในทะเล คืออยู่ในที่จำกัด ทำงานเช้าถึงเย็น พอพักผ่อนก็ไม่ได้ไปไหน ยิ่งสมัยก่อนไม่มีอินเทอร์เน็ต โทรฯกลับบ้านทีต้องใช้เวลาต่อกว่า 10 นาที เพราะโทรฯผ่านดาวเทียม และโทรฯได้ไม่นาน เพราะมีเพื่อนอีกหลายคนรอคิวต่อ ซึ่งค่าโทรฯก็แพง ต้องควบคุมเวลาคนที่ทำงาน

เรื่องคิดถึงครอบครัวจึงโหดมาก ๆ โดยเฉพาะที่แต่งงานแล้ว มีลูกแล้ว และด้วยอยู่กลางทะเล ทุกคนจะคำนึงถึงความปลอดภัยมาก เพราะไม่มีใครอยากโดดลงไปกลางทะเล…หากมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งคนรุ่นใหม่ที่อยากทำอาชีพนี้ ต้องมีใจรักความท้าทายอยู่ในตัว พร้อมเจอสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา และต้องใช้ความอดทนสูง

ด้าน พลศักดิ์ อภิวัฒนลังการ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายปฏิบัติการผลิต โครงการนอกชายฝั่ง (ประเทศไทย) ปตท.สผ. ที่ก็เป็นส่วนหนึ่งของผู้บุกเบิก เล่าว่า แท่นบงกชใต้ ช่วงแรกที่เริ่มทำการขุดเจาะมักเจอปัญหาเรื่องความไม่แน่นอน แม้วางแผนมาดีแค่ไหน แต่พอทำจริงก็มักมีอุปสรรคอีกแบบเข้ามา สิ่งที่ได้จากห้องเรียนแห่งนี้คือ การมองเผื่อปัญหาที่อาจเข้ามานอกแผนที่วางไว้ด้วยสภาพอากาศบางวันก็แปรปรวนมาก

ห้องเรียนกลางทะเลลึก

เมื่อราว 20 ปี ก่อนจะเริ่มเข้ามาทำงานนี้ หลายคนมองว่าอาชีพนี้สามารถเป็นจริงได้หรือ? ตอนนั้นเพิ่งเรียนจบมาใหม่ ๆ และต้องมาทำงานกับฝรั่งที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ในการทำงานก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบ้าง เพราะช่วงแรก ๆ อาจมีปัญหาเรื่องวัฒนธรรมที่ต่างกันในการทำงาน แต่ สิ่งสำคัญคือ ต้องพยายามปรับวิธีคิดใหม่ให้ได้ งานถึงจะสำเร็จ

“ยังจำความประทับใจวันแรกที่ขึ้นมาทำงานที่แท่นบงกชใต้ได้ เป็นวันที่ดีใจที่สุด เพราะกว่าจะเปิดใช้ได้ต้องทดสอบระบบนานมาก ที่สำคัญ ด้วยระบบที่ผลัดกันขึ้นมาทำงานคนละ 21 วัน เราต้องเตรียมงานไว้ให้เพื่อนที่จะมาทำงานต่อในช่วงที่เราหยุดด้วย จึงต้องมีการทำงานที่เป็นทีมเวิร์กมาก เพราะตัวเทคโนโลยีเรารู้แนวทางการแก้ปัญหา แต่การช่วยกันเป็นทีม เพื่อทำงานให้ต่อเนื่องอย่างปลอดภัย ไม่ใช่เรื่องง่าย”

ห้องเรียนกลางทะเลลึก

การขุดเจาะ บางครั้งเจอปัญหา บางหลุมทีมขุดเจาะทำงานไปแล้วพบว่า สิ่งที่อยู่ในหลุมมีความดันสูง ทีมงานจึงต้องพยายามควบคุมความดันที่อยู่ในหลุม จนบางช่วงต้องหยุดการทำงาน เพราะแรงดันสูงและเสี่ยง

เมื่อเราทำงานในอุตสาหกรรมนี้นาน ๆ และประสบความสำเร็จมาตลอด บางคนอาจนึกว่าเราเอาชนะทุกสิ่งได้ แต่พอฝืนทำไปกลับเป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น ซึ่งสิ่งสำคัญเมื่อเจอปัญหา ต้องนึกไว้ว่า ปัญหานี้เราอาจไม่รู้ ซึ่งจะทำให้กล้าที่จะตัดสินใจในการทำงานที่เสี่ยงว่า…จะต้องหยุด

ทั้งนี้ การออกแบบ แท่นบงกชใต้ ต่างจาก แท่นบงกชเหนือ เนื่องจากแก๊สตรงนี้มีคาร์บอนไดออกไซด์ปนมากกว่าที่อื่น เลยทำให้ต้องมีกลไกตัวแยกแก๊สที่สลับซับซ้อนมากกว่าตัวแท่นที่ทำมาก่อนหน้า ตอนบุกเบิกแท่นบงกชใต้ ต้องพยายามค้นหาคน ทั้งน้อง ๆ ที่เป็นสายอาชีพ และคนที่ทำงานเดิม ซึ่งมีประสบการณ์ อยากเริ่มต้นบุกเบิกการทำงานใหม่ ๆ

กระบวนการผลิตที่บงกชใต้ จะยากกว่าบงกชเหนือที่มีมาก่อน…

“ความรู้สึกตอนนั้นเหมือนต้องทำงานในโรงงานที่เพิ่งเปิดใหม่ ต้องบุกเบิกเองทั้งหมด กว่างานที่ทำจะอยู่ตัวต้องใช้เวลาหลายเดือน คนที่มาทำงานนี้ยุคแรก ๆ ครอบครัวต้องเข้าใจอย่างมาก เพราะต้องมาทำงานกินนอนบนแท่น 3 อาทิตย์ บางคน 1 ปีเจอลูกแค่ 6 เดือน ขณะที่บางคนก็ต้องปรับตัวหนักมาก ในการที่จะบริหารจัดการตัวเองในการทำงานและดูแลครอบครัว”

ห้องเรียนกลางทะเลลึก

มาต่อที่ สุรพล ดำจุติ ผู้จัดการประจำแท่นบงกชใต้ ที่ย้อนภาพยุคเริ่มต้น การขุดเจาะแก๊ส ที่คนไทยบางส่วนอาจยังมองไม่ออกว่าการทำงานบนแท่นขุดเจาะต้องทำอะไรบ้าง?

โดยเขาบอกว่า ยุคเริ่มต้น โชคดีที่ยุคนั้นทำงานให้กับบริษัทเครื่องถ่ายเอกสาร แล้วเคยต้องมาซ่อมเครื่องที่อยู่บนแท่นกลางทะเล เลยทำให้เห็นภาพการทำงานชัดขึ้น รวมถึงทำให้สมัครทำงานบนแท่น

“เรียนใน จ.สงขลา เพื่อน ๆ ก็สอบเข้าทำงานบริษัทข้ามชาติที่ขุดเจาะแก๊สกันเกือบหมด แต่เราเลือกทำงานในบริษัทใหม่ บริษัทของคนไทย ซึ่งแรก ๆ สิ่งที่กังวลคือเรื่องภาษา เพราะตอนนั้นเจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าส่วนใหญ่เป็นคนฝรั่งเศส”

ทศพร วิศวเมธีกุล วิศวกรวัดคุม แผนกซ่อมบำรุง แท่นบงกชใต้ ปตท.สผ. วัย 27 ปี ซึ่งเป็นพนักงานหญิงรายนี้ เล่าถึงการมาทำงานบนแท่นว่า มักจะต้องเจอปัญหาเฉพาะหน้า ที่ต้องใช้ความรวดเร็วในการแก้ไข ซึ่งต้องมีการทำงานเป็นทีม เช่น เหตุการณ์ที่ต้องหยุดการผลิต ต้องดับไฟทั้งแท่น เราต้องทำงานแก้ไขให้ทันเวลา และต้องหาต้นเหตุให้เจอ

ห้องเรียนกลางทะเลลึก

“ห้องเรียนที่นี่ต่างจากห้องเรียนในมหาวิทยาลัย ที่เมื่อมีโจทย์จะมีคำตอบให้เราเลือกตอบ แต่ที่นี่ ปัญหาบางครั้งเราก็ไม่รู้ว่ามันเป็นโจทย์อะไร ต้องค้นหาทั้งโจทย์ และคำตอบ ในเวลาเดียวกัน”

และ… การเป็นผู้หญิงมาทำงานบนแท่นกลางทะเล ก็ต้องพยายามทำความเข้าใจกับครอบครัวนานเหมือนกัน ซึ่งเดิมเฉลี่ยบนแท่นจะมีผู้หญิงที่ทำงาน 5–6 คน แต่ตอนนี้ผู้หญิงที่ทำงานบนแท่นก็มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคนที่จะมาทำต้องเข้าใจว่า เวลาส่วนหนึ่งจะหายไป ไม่เหมือนทำงานบนฝั่ง

…นี่ก็เป็นบางแง่มุมจาก “แท่นขุดเจาะแก๊สบงกชใต้” ที่เป็นเสมือน “ห้องเรียนกลางทะเลลึก” เป็นเสมือนที่ฝึกปรือผู้คน

ซึ่งแม้ต้องอยู่ห่างไกล ผจญกับสภาพอากาศที่แปรปรวน แต่นั่นถือเป็นก้าวสำคัญที่ต้องก้าวให้มาดมั่น… สร้างเส้นทางพลังงานไทยให้มั่นคง.

……ศราวุธ ดีหมื่นไวย์

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------