ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

ใช้ PSC ประมูลเอราวัณ – บงกช – ข่าว (รอบนี้ใช้ระบบแบ่งปันผลประโยชน์)

ใช้ PSC ประมูลเอราวัณ – บงกช .. เหมือนกับว่ารัฐฯเคาะออกมาแล้วว่าประมูล บงกช เอราวัณ รอบนี้ใช้ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ อย่างที่ผมเคยจัดไปแล้วในส่วนของผลประโยชน์นั้น ผมไม่ค่อยห่วงว่ารัฐจะได้จะระบบไหนมากกว่าระบบไหน (อ่านเพิ่มเติม สัมประทาน vs. แบ่งปันผลผลิต เลิกดราม่า หยุดวาทะกรรม กันเสียทีเถอะ)

ส่วนเรื่องข้อดีข้อเสียของสองระบบนั้น นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ก็ได้สรุปย่อไว้ท้ายข้าว ตรงที่ผมขีดเส้นใต้ไว้แล้ว แปลไทยเป็นไทยง่ายๆขยายความที่ท่านอธิบดีว่าไว้ คือ ถ้าแบ่งปันผลผลิตนี่ ผลิตได้เท่าไร เอาไปขายก่อน ได้เงินมาเท่าไร แบ่งกัน นั่นคือ ส่วนแบ่งได้หลังจากการ “ขาย” แปลว่า ราคาขายมีผลต่อเม็ดเงินที่ได้ ถ้าเป็นระบบสัมประทาน รัฐก็ไม่ต้องแคร์ จัดเก็บตามสัญญาไป ไม่ขึ้นกับราคาขาย

แต่ข้อดีก็มีตรงที่ท่านว่านั่นแหละ ระบบแบ่งปันผลผลิตเปิดช่องให้รัฐในฐานะผู้มีส่วนได้เสียจากผลผลิตโดยตรง(กว่าระบบสัมประทาน)เข้าไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดรัดกุม (กว่าระบบสัมประทาน หรือเปล่า ? ผมยังไม่อยากฟันธง เพราะในทางปฏิบัติ ระบบสัมประทานจะเขียนเงื่อนไขการตรวจสอบยังไงก็ได้ แต่ที่ผ่านมาไม่เขียนกันเอง (หรือเปล่า))

ในด้านคนทำงานก็นะ โจทย์ก็บอกอยู่แล้ว การกำกับดูแลที่รัดกุมละเอียดมากขึ้น ก็มีทั้งข้อดีและข้อควรระวัง อย่างที่คนทำงานอย่างเราๆท่านๆทราบกันดีอยู่ 🙂

อ่ะ ฟังผมฝอยมาพอแล้ว ไปอ่านข่าวกันได้ …

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ใช้ PSC ประมูลเอราวัณ – บงกช

ก.พลังงานลุยใช้ PSC ประมูลเอราวัณ-บงกช ส่วนอันดามัน-บนบกใช้ระบบสัมปทาน

MGR Online     15 สิงหาคม 2560 19:27 น. (แก้ไขล่าสุด 15 สิงหาคม 2560 20:18 น.)

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติคาดเปิดประมูลเอราวัณ-บงกชในระบบ PSC ได้ภายใน ก.ย.-ต.ค.นี้ หลัง ครม.เคาะร่างประกาศปิโตรเลียม 4 ฉบับแล้ววันนี้ ขณะที่แหล่งปิโตรเลียมอันดามันและบนบกใช้ระบบสัมปทาน

นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า ครม.วันนี้ (15 ส.ค.) เห็นชอบเรื่อง ร่างกฎกระทรวงและร่างประกาศคณะกรรมการปิโตรเลียม ออกตามความในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวม 4 ฉบับ ซึ่งว่าด้วยหลักเกณฑ์ สัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ประเมินว่าหลังจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาผ่านความเห็นชอบแล้วคาดว่าจะประกาศเปิดประมูลแหล่งก๊าซเอราวัณและบงกชที่จะหมดอายุสัมปทานปี 2565-2566 ได้ภายในเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ภายใต้ระบบ PSC และคาดว่าจะได้ผู้ชนะประมูลภายใน มี.ค.-เม.ย. 61

“อาจจะล่าช้ากว่าเป้าหมาย 1-2 เดือนแต่ก็อยู่ในกรอบที่จะบริหารจัดการได้ คือ ปริมาณก๊าซจะลดลงเหลือ 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันภายในปี 2564-2566 หลังจากปัจจุบันมีกำลังผลิตทั้ง 2 แหล่งที่ประมาณ 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน” นายวีระศักดิ์กล่าว

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

สำหรับแนวทางการบริหารจัดการแหล่งปิโตรเลียมรูปแบบ PSC และสัมปทานจะพิจารณาจากโอกาสหรือสถิติการพบปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์เปรียบเทียบกับของประเทศที่มีเฉลี่ย 39% โดยแบ่งเป็นรายภาคตามการประเมินทางธรณีวิทยา หากพบมากกว่า 39% จะเป็นการใช้ระบบ PSC หากน้อยกว่านั้นเป็นระบบสัมปทาน

โดยแบ่งเป็นรายภาคดังนี้ อ่าวไทย ใช้ PSC เนื่องจากพบ 50% ส่วนที่เหลืออีก 4 ภาคบนบกและอันดามันใช้ระบบสัมปทาน เนื่องจากตามสถิติพบปิโตรเลียม 0-31% แบ่งเป็นภาคอีสานพบ 14% ภาคเหนือและกลางพบ 31% ภาคใต้บนบกและทะเลอันดามันพบ 0% ขณะที่สัญญาจ้างบริการ (SC) กำหนดว่าหากเป็นแหล่งน้ำมันจะต้องมีสำรอง 300 ล้านบาร์เรล กำลังผลิตต่อหลุม 4 ล้านบาร์เรล/หลุม และหากเป็นแหล่งก๊าซฯ จะมีสำรอง 3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือกำลังผลิต 4 หมื่นล้านลูกบาศก์ฟุตต่อหลุม

“การเปิดประมูลเอราวัณและบงกชจึงต้องใช้ PSC จึงอยากให้รายเดิม คือ บริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต และ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งเป็นโอเปอเรเตอร์เดิม เข้าร่วมแข่งขันประมูลทั้ง 2 แหล่งเพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง ซึ่งในส่วนของเชฟรอนยังสงวนท่าทีเพราะต้องการดูทีโออาร์การประมูลที่ชัดเจนก่อนว่าผลตอบแทนการลงทุนยังจูงใจต่อไปหรือไม่ซึ่งระบบ PSC เมื่อเทียบกับระบบสัมปทานแล้วมีข้อดีคือ รัฐจะสามารถเข้าไปตรวจสอบอย่างรัดกุมทุกขั้นตอนตามข้อเสนอของผู้เรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ข้อเสียคือภาครัฐมีความเสี่ยงเพราะต้องเข้าไปร่วมลงทุนการผลิต ซึ่งไม่เหมือนกับระบบสัมปทานที่ภาครัฐไม่ต้องลงทุนซึ่งจะไม่เสี่ยงเมื่อราคาน้ำมันตกต่ำ” นายวีระศักดิ์กล่าว

http://manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9600000083481&Keyword=%e0%aa%d7%e9%cd%e0%be%c5%d4%a7

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------