ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

หมอบนแท่นขุดเจาะ เงินเดือน 6 หลัก ทำงาน 28 วัน หยุด 28 วัน (จริงหรือ) – ข่าว

หมอบนแท่นขุดเจาะ (Rig Medic) รายได้ดี งานสบาย แบบนั้นจริงหรือ คนวงในอย่างพวกเรา อ่านพาดหัวแล้วก็คงอมยิ้ม อะนะ ความจริงเป็นอย่างไร หมู่เฮาที่ขึ้นๆลงๆแท่นขุดเจาะรู้อยู่แก่ใจ

แหม … อยากฟังเสียงหมอบนแท่นขุดเจาะจริงๆมาแบ่งปันประสบการณ์

รายได้ของ หมอบนแท่นขุดเจาะ

ผมไม่ขอพูดถึงก็แล้วกัน เพราะไม่ทราบจริงๆ เคยคุยกับ หมอบนแท่นขุดเจาะ ที่สนิทๆกัน แต่นั่นมันก็ข้อมูลเก่ามากแล้ว เอามาอ้างอิงอะไรไม่ได้ เอาว่าผมจะพูดถึง หมอบนแท่นขุดเจาะ ในแง่มุมอื่นที่ผมทราบมา และ เห็นกันชัดๆบนแท่นขุดเจาะ และ แท่นผลิต ก็แล้วกัน

เวลาการทำงานของ หมอบนแท่นขุดเจาะ

เนื้อข่าวกล่าว่า ทำงานกันเป็นผลัดๆ ผลัดล่ะ 28 วัน หรือ ที่เรียกว่า 28/28 นั้น (ทำ 28 พัก 28) เป็นความจริงส่วนเดียวครับ ไม่ใช่กฏแป๊ะๆ ที่ผมเห็นๆมาก็มี 21/21, 28/28, 21/14 หรือ 28/21 ก็เห็นมาแล้วครับ

ขึ้นกับนโยบายของบ.ที่ให้บริการการแพทย์บทแท่นฯ และ บ.แท่นขุดเจาะ เพราะบ.ที่ให้บริการทางการแพทย์เป็นคู่สัญญากับบ.แท่นขุดเจาะ พูดง่ายๆคือ บ.แท่นขุดเจาะจ้างมานั่นแหละ แต่ไม่ได้จ้างหมอคนเดียวโดดๆนะครับ จ้างเป็น package รวมค่ายา เวชภัณฑ์ ขนย้ายกรณีฉุกเฉิน การรักษาทางไกลผ่านดาวเทียม ฯลฯ แล้วแต่จะตกลงกันว่า package นั้นจะรวม หรือ ไม่รวมอะไร ส่วนตัวหมอน่ะ เป็นลูกจ้างของบ.ที่ให้บริการทางการแพทย์อีกที

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

หมอบนแท่นขุดเจาะ ต้องเป็นแพทย์หรือไม่

ประเด็นที่สามที่อยากชวนคุยเกี่ยวกับ หมอบนแท่นขุดเจาะ คือ เป็นหมอทุกคนหรือไม่ ในเนื้อข่าวบอกชัดว่า ต้องจบหมอ เป็นแพทย์ที่มีปริญญาแพทย์ นั่นคือสเป็คของบ.ที่ให้บริการเรื่องนี้ที่ใหสัมภาษณ์ในข่าวตั้งกฏเอาไว้

เหมือนบ.ทั่วไปจะรับคนก็ระบุสเป็คเอาไว้ว่าต้องจบอะไร เกรดเท่าไร แต่ไม่ได้เป็นสากลทั่วโลก ที่ผมพูดได้เต็มปากก็เพราะผมรู้จัก หมอบนแท่นขุดเจาะหลายคนทั้งที่ในอ่าวไทย และ ที่อื่นๆที่ไม่ได้จบแพทย์ ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ได้เป็นลูกจ้างของบ.นี้ที่ให้สัมภาษณ์ในเนื้อข่าว

ถ้างั้นจบอะไรมาบ้าง เอาที่ผมคุยมาก็แล้วกัน บางคนเป็นพยาบาลที่ผ่านการฝึกการกู้ชีพฉุกเฉิน หรือ ที่เรียกเต็มยศว่า นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Paramedic ผมหาความรู้เสริมจากกูเกิลคร่าวๆแล้วว่า ไม่ใช่แพทย์ในความหมายของใบปริญญา แต่ในความหมายของผู้ที่เราฝากชีวิตเอาไว้ยามเจ็บป่วย หรือ อุบัติเหตุ ผมก็ไม่กระดากปากหรอกครับที่จะเรียกว่าหมอได้อย่างเต็มปากเต็มคำ

แต่ที่เป็นเป็นหมอ เป็น แพทย์ จริงๆเลยก็มีนะครับ ก็คือเห็นปนๆกันไปนั่นแหละ ส่วนสเป็คบ.ในด้านนี้ บ.ไหนเป็นอย่างไรนั้น ผมไม่ทราบเหมือนกันครับ

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

แต่ผมสังเกตุอย่างหนึ่งว่า ถ้าเป็นแท่นขุดเจาะที่อยู่ใกล้ๆแท่นผลิตใหญ่ (Production platform) อยู่ในระยะที่ฮ. หรือ เรือไปถึงแท่นผลิตนั้นได้ไม่นานนัก มักจะเป็น paramedic หรือ พยาบาลที่ผ่านการฝึกฯ เพราะโดยมาก บนแท่นผลิต จะมีแพทย์ เวชภัณฑ์ และ เครื่องไม้เครื่องมือที่พร้อมกว่าบนแท่นขุดเจาะ เอาไว้รองรับการส่งตัวมาดูแลเบื้องต้นอยู่แล้ว

เมื่อมีกรณีเจ็บป่วย หรือ อุบัติเหตุ บนแท่นขุดเจาะ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ต้องคุยกันว่า จะเอาเข้าฝั่งเลยไหม หรือ ไปที่แท่นผลิตที่ใกล้ที่สุดก่อน แล้วค่อยเข้าฝั่ง เพราะโดยมากฮ.บินจากฝั่งมาแท่นขุดเจาะใช้เวลานานกว่า

บางกรณีถ้าฉุกเฉินจริงๆ เอาฮ.ที่บินไปมาอยู่กลางทะเลใกล้ๆอยู่แล้ว โฉบมารับจากแท่นขุดเจาะไปแท่นผลิตที่มีหมอมีไรพร้อมกว่า พยุงอาการไว้ก่อน แล้วค่อยบินจากแท่นผลิตกลับเข้าฝั่ง ไม่มีสูตรตายตัว ว่ากันเป็นรายกรณีๆไป แต่มีกรอบคร่าวๆว่าความปลอดภัยของผู้ป่วยผู้ได้รับอุบัติเหตุต้องมาอันดับแรกสุดเสมอ

การฝึก Sea survival, Fire fighting and HUET

ประเด็นต่อมาที่ข่าวพูดถึงที่อาจจะทำให้เข้าใจผิดกันได้ว่าหมอเท่านั้นที่ต้องฝึกสิ่งเหล่านี้ก่อนที่จะไปทำงานบนแท่นขุดเจาะ เช่น การดับเพลิง การยังชีพในทะเล (sea survival) การหนีจากฮ.ใต้น้ำถ้าตกทะเล (HUET – Helicopter Underwater Escape Training)

การฝึกเหล่านี้ คนที่ออกไปทำงานนอกชายฝั่ง (รวมหมดทั้งแท่นขุดเจาะ แท่นผลิต และ เรือ) ทุกคนต้องได้รับการฝึกครับ ดังนั้นคุณหมอๆไม่ต้องกังวลครับ ไม่ยาก และ สนุกด้วย

ผมได้พูดถึงการฝึกเหล่านี้ไว้ละเอียดใน ควรรู้ก่อนดูหนัง – Deepwater Horizon – ตอน Mayday Mayday Mayday ถ้าสนใจคลิ๊กตามลิงค์ไปอ่านเพิ่มเติมได้

คงมีที่อยากจะแบ่งปันเท่านี้ ไปอ่านข่าวกันได้แล้วครับ …

(Ad) … จะหมดช่วงหนาวแล้ว แต่ถ้าใครมีแผนไปเที่ยวญี่ปุ่นช่วงนี้ แนะนำช๊อปไปเผื่อเลยนะครับ 🙂 บอกเลย ที่โน้นแพงงงง

———————————-

ที่มา https://www.dailynews.co.th/article/616008

‘อาชีพหมอ’ บนแท่นขุดเจาะ เงินเดือน 6 หลัก ‘หยุด28วัน’

อาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2560 เวลา 09.30 น.

สัปดาห์นี้พาไปทำความรู้จัก “หมอบนแท่นขุดเจาะ” อาชีพที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบสูง ได้ค่าตอบแทน 6 หลัก ทำงาน-หยุดอย่างละ 28 วัน แต่ได้เงิน 2 เดือน

Rig medic หมอบนแท่นขุดเจาะ

หนึ่งอาชีพบน “แท่นขุดเจาะ” ที่หลายต่อหลายคน อาจจะยังไม่ทราบว่า มีหน้าที่แบบนี้อยู่ด้วยเหรอ? นั่นก็คือ แพทย์ประจำแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Remote Site Doctor) หรือ “หมอบนแท่นขุดเจาะ” ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับแพทย์ที่มองหาความท้าทายใหม่ๆ

โดยภาระงานต้องให้การดูแลด้านการแพทย์ สำหรับพนักงานที่ทำงานประจำการบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน แต่จะมีรายละเอียดและกระบวนการอย่างไร

วันนี้เราจะพามาทำความรู้กัน ซึ่งมี “นายภานุพันธ์ เนียมประพันธ์” ผู้จัดการฝ่ายบริการด้านการแพทย์ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (ประเทศไทย) เล่าให้ฟังว่า ต้องเป็นแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา มีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี เพื่อความเชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัย และรักษาคนไข้ได้อย่างถูกต้อง แต่ก็ยังไม่สามารถถขึ้นประจำแท่นได้เลย

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

เริ่มแรกต้องผ่านการตรวจร่างกาย เพราะบนแท่นขุดเจาะ ต้องไม่นำคนที่มีสุขภาพไม่ดีขึ้นไป จากนั้นส่งตัวไปฝึกที่ศูนย์อบรมจากาต้า ประเทศอินโดนีเซีย ประมาณ 3 สัปดาห์ ด้วยโปรแกรมการทำงานนอกชายฝั่ง (Offshore) แม้กระทั่งคนที่ “ฟันผุ-คราบหินปูน” ก็ไม่ผ่าน!!! การเข้มงวดเช่นนี้เพราะว่า…จะช่วยลดอัตราการส่งคนไข้กลับเข้าฝั่ง

Offshore Para medic training หมอบนแท่นขุดเจาะ

ระยะเวลา 3 สัปดาห์จะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง?? ได้แก่ หลักสูตรการกู้ชีพ ฝึกการช่วยชีวิตขั้นสูง ปั๊มหัวใจ ให้สารน้ำ เน้นฝึกปฏิบัติให้มากที่สุด ปกติใช้เวลา 2 วันครึ่ง แต่ที่นี้ใช้เวลา 5 วัน สัปดาห์ต่อมาเรียนรู้การดูแลคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บตามหลักสูตรสากล วิชาการหนีออกจากเฮลิคอปเตอร์ เวลาตกน้ำ (Helicopter Underwater Escape) และ สัปดาห์สุดท้ายเรียนรู้ระบบการทำงานบนไซต์งาน ดูแลคนไข้ให้ปลอดภัยได้อย่างไร หรือแม้กระทั่งเช็กคลื่นลมแรง อินเตอร์เน็ต ฯลฯ

เมื่อกลับมาจากจากาต้า ต้องเข้าฝึกปฏิบัติงานจริงตามโรงพยาบาลบนพื้นดิน โดยเฉพาะแผนกห้องฉุกเฉินอีก 1 สัปดาห์ และส่งต่อไปฝึกเรียนการดำรงชีพในทะเล

สัปดาห์ถัดมาจึงจะได้เรียนรู้หลักการทำงานตามมาตรฐานแต่ละองค์กรที่ได้ตั้งไว้ อาจจะเรียนรู้อีก 1-2 วัน

กระทั่งแพทย์ขึ้นไปทำงานบนแท่นขุดเจาะ จะต้องทำงานร่วมกับแพทย์ โดยการ “แฮนด์โอเวอร์” (Handover) อีก 1 สัปดาห์ รวมระยะเวลาร่วมกว่า 2 เดือนสำหรับการเทรนนิ่ง

จากนั้นจะถูกส่งไปเรียนประกาศนียบัตร “อาชีวเวชศาสตร์” เป็นวิชาการแพทย์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนทำงาน ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทำงาน กินเวลาประมาณ 2 เดือน เบ็ดเสร็จก็จะประมาณ 4 เดือน เพื่อเตรียมความพร้อมให้การรักษาคนงานบนแท่นขุดเจาะ

Medic vac IP from offshore หมอบนแท่นขุดเจาะ

แต่ทว่า…หลายคนอาจสงสัย??

จะเสียเวลามากเกินไปหรือเปล่า จริงๆ แล้วไม่เลย เพราะต้องคำนึงถึงชีวิตของคนทำงานเป็นหลัก และอีกอย่างแพทย์ที่ผ่านการตรวจร่างกายเข้าฝึกอบรบ ยังได้รับเงินเดือนตั้งแต่เริ่มฝึก

ด้าน “นายพิพัฒน์ คณานุวัฒน์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลว่า ความห่างไกลจากพื้นดิน จึงต้องมีแพทย์ไปประจำที่คลินิก ไม่เหมือนกับการตั้งโรงพยาบาลในพื้นดิน เมื่อไปประจำยังแท่นขุดเจาะ ก็ยังจะมีความเสี่ยงกว่าภาคพื้นดิน ทุกคนจึงต้องผ่านหลักสูตร “ผจญเพลิง” รวมไปถึงการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม และอาหารการกิน หรือ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคจะป้องกันอย่างไร?

โดยโรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานบนแท่นขุดเจาะเป็นส่วนใหญ่ ก็จะมีทั้ง … ได้รับสารหนู สารปรอท การทำงานที่มีความเสี่ยง ไข้หวัด น้ำมูกไหลโรคกระเพาะ

แต่บางโรคที่จะหลุดมาบ้าง คือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไส้ติ่งอักเสบ ส่วนอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้น้อย เพราะบนแท่นขุดเจาะเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก แต่ถ้าเกิดอะไรขึ้นมา แพทย์ก็จะดูแลเบื้องต้นได้ตลอดเวลา

“หมอจะตรวจร่างกายตามปกติ ถ้าสามารถให้ยาก็จะให้ตามอาการ แต่ในกรณีที่จะต้องรักษาเพิ่ม หรือเสี่ยงต่อชีวิตทุพพลภาพ จะมีแพทย์เฉพาะทางจากศูนย์ที่อยู่บนฝั่งให้คำปรึกษา Conference Call และ หากผู้ป่วยมีอาการแย่จะประสานเฮลิคอปเตอร์ไปรับ แพทย์ประจำแท่นจึงต้องมีความเชี่ยวชาญ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าฉับไว แต่ต้องถูกต้อง”

Offshore medic on the move หมอบนแท่นขุดเจาะ

ซึ่งแพทย์ 2 คนจะสลับกันดูแล 1 โลเคชั่น ระยะเวลาในการทำงาน 28 วัน หยุดพักขึ้นบก 28 วัน

โดยตามกฎหมายประเทศไทย เมื่อทำครบ 28 วัน จะต้องให้หยุด 14 วัน แต่ด้วยมาตรฐานแท่นขุดเจาะ หรือว่าเป็นบริษัทต่างชาติที่มาลงทุนอยู่ในอ่าวไทย จึงทำให้เป็น “Worldwide standard” ฉะนั้นจึงทำงาน 28 หยุด 28 วัน

แต่ด้วยความเป็นจริงแล้ว ก่อนการทำงานทุกครั้งก็จะต้องเทรนด์นิ่ง 3-5 วัน เพื่อเพิ่มพูนความรู้อยู่ตลอดเวลา

Offshore installation medic หมอบนแท่นขุดเจาะ

หากมีอะไรที่กระทบต่อจิตใจแพทย์อย่างรุนแรง ซึ่งธรรมดาจะสลับกัน 28 วัน ก็จะส่งแพทย์ท่านใหม่เข้าไปทำงานแทนทันที เพราะสุขภาพแพทย์ก็เป็นสิ่งหลักที่จะต้องดูแลด้วย

“ค่าตอบแทนถ้าเทียบกับหมอที่อยู่บนบก ก็พอๆ กัน เพียงแต่ว่าเขาทำงาน 1 เดือน แต่ได้เงิน 2 เดือน หยุด 1 เดือนเขาได้รับเงินตามปกติ

จะพูดว่าดีกว่าก็ได้ เพราะฉะนั้นหมอที่ชอบเที่ยว อยากมีเวลาส่วนตัวเขาก็จะมีเวลาหยุดมากขึ้น แต่ถ้าไปเทียบกับหมอที่เป็น Special personal คนไข้ติดกันตรึมก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าหมอที่รับเงินเดือนประจำก็พอๆ กัน ก็ต้องมี 6 หลักขึ้น”

แม้ว่า…รายได้ (อาจจะ) งาม แต่ก็นำมาซึ่งความรับผิดชอบที่นอกเหนือจากการตรวจรักษาคนไข้ ต้องทำหน้าที่รับผิดชอบโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของพนักงานบนแท่นขุดเจาะ ไม่ว่าจะด้านโภคชนาการ การออกกำลังกาย การต่อต้านมะเร็ง โรคปอด โรคติดเชื้อ พร้อมกับเก็บข้อมูลและทำรายงานเกี่ยวกับโรคต่างๆ เพื่อประเมินผล

ทั้งหมดนี้ คือหนึ่งอาชีพที่เรียกว่า “หมอบนแท่นขุดเจาะ” แต่อย่างไรก็ตามไม่มีใครรับประกันได้ว่าเหตุการณ์วิกฤติต่างๆ จะไม่มีวันเกิดขึ้นกับตัวเอง แพทย์เองก็ต้องมีสุขภาพที่ดีก่อนที่จะไปรักษาหรือดูแลคนไข้ เพราะเมื่ออยู่บนแท่นขุดเจาะ หากเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ !!
………………………………
คอลัมน์ : รายงานพิเศษ
โดย “ทวีลาภ บวกทอง”  … อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/616008

(Ad) … อ๋อ … ถ้าวางแผนจะไปญี่ปุ่นล่ะก็ นี่เลยครับ แนะนำแรงๆ ต้องมี JR PASS ไม่งั้นกระเป๋าฉีกแน่ๆ ซื้อกับที่ HIS เชื่อถือได้ อาจจะแพงกว่าที่อื่นก็แค่หลัก 10 บาท แต่ถือว่าซื้อ การบริการ และ ซื้อความชัวร์ครับ ผมไปทีไรก็เจ้านี้แหละ

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------