ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

วิศวกรสนาม Field Engineer สัมภาษณ์อะไรกัน ตอบอย่างไรให้โดนใจ

วิศวกรสนาม Field Engineer … ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนว่า

1. กระพ้มไมได้มีพื้นเพทำเลที่ตั้งที่มาจากฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคลากรแต่อย่าใด ที่จะเล่าแลกเปลี่ยนกันฟังเนี่ยเป็นประสบการณ์จากรอยหยักในกระโหลกกระพ้มล้วนๆไร้กระบวนท่าไร้หลักวิชาใดๆโดยสิ้นเชิง ผิดถูกอย่างไรก็ขึ้นกับว่าจะเอาอะไรมาวัด

ผมบอกได้แต่ว่าผมได้ยินมาอย่างนี้ เห็นมาอย่างนี้ เคยทำอย่างนี้และ เข้าใจมันอย่างนี้ แล้วก็เอามาปันกัน

2. “โธ่ … คุยกันแค่ 30 นาที จะมาตัดสินผมได้ไง” ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่เชื่อในระบบ “สอบแข่งขัน” ทุกประเภท ไม่ว่าสอบข้อเขียนธรรมดาๆ สอบปฏิบัติ สอบความถนัด สอบวัดทัศนคติ และ อีก ฯลฯ สารพัดสอบ

กาลเวลาผ่านไปเนิ่นนาน นานพอที่จะทำให้ผมตระหนักดีว่า ด้วยข้อจำกัดหลายๆอย่าง (เช่น เวลา และ ทรัพยากร) สังคมมนุษย์ ยังไม่สามารถหาวิธีการคัดเลือกใดได้ดีและมีประสิทธิผล+ประสิทธิภาพ ไปกว่า “การสอบ”

ถ้าจะซื้อของใน shopee อยู่แล้ว เข้าทางนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯ ถือว่าช่วยผมจ่ายค่าเช่า host server ไม่ใช่คลิ๊กดูดเงินแน่นอนครับ ไม่ต้องกังวล

ดังนั้น เพื่อ(อยากจะมี)สุขภาพจิตที่ดีกับเขาบ้างก็เลยปลงๆเลยตามเลยไปกับการรับว่า การสอบเป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่มีในปัจจุบัน ด้วยข้อจำกัดของเวลาและทรัพยากร

3. ผมก็มีประสบการณ์อยู่แต่กับงานสนามในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต้นน้ำ สิ่งที่ผมเล่าสู่กันฟังก็จะวนเวียนอยู่ในบริบทนี้ ซึ่งอาจจะไม่จริงกับงานอื่นๆอีกหลายงาน ก็อย่าเพิ่งชูจั๊กแร้ประท้วงก็แล้วกันครับ

4. ผมจะเล่าแบบลูกทุ่งๆนะครับ ใช้ศัพท์แสงทางวิชาการเท่าที่จำเป็น ท่านที่จบทางด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ผ่านมาอ่านแล้วอย่าเพิ่งคันไม้คันมือกระทุ้งพุงกะทิผมนะครับ

เอาว่าเกริ่นมาพอแล้ว เข้าเรื่องของเราดีกว่า …วิศวกรสนาม Field Engineer

-------------------------------------------------------

ไม่พลาด ข่าวสาร บทความ ความรู้ ประกาศตำแหน่งงานว่าง และ อื่นๆ

กรอก ชื่อ และ อีเมล์ ในแบบฟอร์มข้างล่าง จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ ... อ้อ ... อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น

จะมีอีเมล์กลับมาให้ "ยืนยัน" นะครับ การสมัครจึงจะสมบูรณ์ … อ้อ … อย่าลืมดูใน junk, trash, spam box นะครับ บางทีระบบมันเอาอีเมล์ตอบกลับไปไว้ที่นั่น แล้วอย่าลืม mark as not junk or spam ด้วยนะครับ เวลาส่งเตือนคราวหน้า จะได้ไปอยู่ใน in box :)

วิศวกรสนาม Field Engineer

เรามองหาอะไรบ้างในความเป็นวิศวกรที่จะมาทำงานสนาม เราก็จะเขียนออกมาเป็นข้อๆ ให้น้ำหนักแต่ล่ะข้อแตกต่างกันไปในรายละเอียดของแต่ล่ะงาน เสร็จแล้วในแต่ล่ะหัวข้อเราก็มาหาตัวชี้วัดที่เป็นมาตราฐาน

ถ้ามีเราก็ใช้ตัวชี้วัดนั้น ถ้าไม่มีเราถึงจะใช้วิธีสัมภาษณ์หรือถามกันดื้อๆ แต่ถ้าถามกันตรงๆดื้อๆคนโดนถามก็ตอบเอาใจได้นี่หว่า … จริงป่ะ มันก็ต้องถามอ้อมๆ … พอดีพอร้ายอ่านมาถึงตรงนี้ก็งงเต็กพอดี งั้นมาดูตัวอย่างดีกว่า

เรากำลังมองหาอะไร

1. ภาษาอังกฤษ – สำหรับ วิศวกรสนาม Field Engineer ในวงการเรา อันนี้ใช้แน่ชัวร์ๆแต่ล่ะลักษณะงานแต่ล่ะงานก็ใช้มากน้อยแตกต่างกันไป น้ำหนักที่ให้ก็แล้วแต่ลักษณะงาน เช่น 10% 20% 30% อะไรก็ว่าไป ตัวชี้วัดที่เป็นมาตราฐานใช้กันก็ TOEIC (กูเกิลเอาเองว่าคืออะไร) แต่ส่วนมากก็ใช้ดูกันในขั้นตอน CV คือก่อนเรียกมาสัมภาษณ์

ขั้นสัมภาษณ์เราก็มักจะยืนยันกันอีกทีโดยการให้แนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษสัก 5-10 นาที ซึ่งตรงนี้ไม่ได้ดูว่าภาษาอังกฤษคุณดีแค่ไหน แค่ดูว่าคุณเตรียมตัวมาหรือเปล่า เพราะผู้มาสัมภาษณ์ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าต้องมีซ็อตนี้ สำหรับคนที่จะพูดไม่คล่อง ส่วนมากก็ท่องกันมาเลย ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร อย่างน้อยก็แปลว่าฉันเตรียมตัวมาอย่างดี ก็ได้คะแนนเตรียมตัวไป

ถ้าครบ 5-10 นาทีที่ปล่อยให้คุณเจื้อยแจ้วแล้ว เราดูออกทันทีว่าคุณท่องมา ก็ได้คะแนนความตั้งใจไป 3 (เต็ม 5) แต่ถ้าดูออกว่าเตรียมมาและพูดได้บ้างก็เอาไป 2 แต่ถ้าฟังแล้วรู้เลยว่าพูดไม่ได้แล้วยัง(ทะลึ่ง)ไม่ได้เตรียมท่องมา เอาไปเลย 1 เพราะโดน 2 เด้ง คือ รู้ทั้งรู้ว่าไม่คล่อง โดนให้พูดแน่ๆ แต่ยังไม่เตรียมมา

ส่วนมากเราก็จะจบภาคเจื้อยแจ้วภาษาฯกันแค่นั้น ยกเว้น ในช่วง 5-10 นาทีนั้น คุณทำให้เรารู้สึกว่า เอ๊ะ มันพูดได้จริงๆนี่หว่า คือพูดได้แบบไม่ได้ท่อง เราก็จะสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษต่ออีกสัก 10 นาที เพื่อที่จะดูว่าคุณน่าจะได้ 4 หรือ 5 เต็มไปเลย

จะเห็นว่าเนื้อหาที่จะพูดไม่ได้สำคัญอะไรเลย แต่ถึงงั้นก็ตามก็อย่าท่องให้มันหน่อมแน้มแบบ My house is big. It is green. I have a dog. I have a cat ไปจนถึง I am เอ๊ย I have a buffolo ก็แล้วกัน

ตรงนี้คนมักกลัวกันเยอะ ผมอยากจะบอกว่าเราไม่ได้คาดหวังคนที่พูดเป็นพูดเก่ง เราคาดหวังว่าคุณเตรียมตัวมาอย่างดีและกล้าพูดก็พอแล้ว ที่เหลือเราก็ไปฝึกฝนกันเอาได้ทีหลังวิศวกรสนาม Field Engineer

2. ผลการศึกษา (academic result) วิศวกรสนาม Field Engineer เนื่องจากเด็กใหม่ หรือ ผู้ที่ทำงานมาไม่นาน (1 – 3 ปี) ก็ไม่รู้จะดูผลงานยังไงส่วนหนึ่งก็เอา GPA มาดู แต่ขั้นตอนนี้อยู่ก่อนขั้นตอนเรียกมาสัมภาษณ์ ถ้า GPA คุณไม่ถึงตามที่บ.นั้นๆกำหนดคุณก็ไม่ได้มานั่งให้สัมภาษณ์อยู่แล้ว ดังนั้น ขั้นตอนสัมภาษณ์ในส่วนนี้ก็จะเป็นเพียงยืนยันอีกที นัยว่าไม่ได้ซื้อปริญญาหรือลอกข้อสอบจบมา

อันนี้ง่ายครับ พวกเราก็ถามตรงๆถึงวิชาหลักที่คุณได้เกรดสูงๆ สัก 2-3 คำถาม ก็พอเห็นกึ๋นแล้วว่าคุณมีมาโชว์ไหม ถ้าคุณเรียนจริง จบจริง ได้เกรดสูงๆตัวนั้นมาจริง ก็ไม่ต้องห่วงอะไร ชิวๆ

3. สุขภาพ – คงไม่ต้องบอกว่าสำคัญอย่างไรกับงานสนาม พวก 3 วันดี 4 วันเกาไข่ เอ๊ย 4 วันไข้ ออกไปทะเล เข้าไปในป่า มันก็หาหยูหายากลับมาหาหมอได้ไม่สะดวกทันใจเหมือนไปหาหมอหน้าปากซอย เราไม่ได้ต้องการหุ่นล่ำบึ๊กอะไรหนักหนา ว่ากันเฉลี่ยๆทั่วๆไปไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอุปสรรคก็พอ อันนี้ว่ากันตามโหง้วเฮ้งเลยครับ ดูด้วยตาก่อนเลย ถ้าถามตรงๆคุณก็ตอบว่าสุขภาพแข็งแรงดี ถามอ้อมบ้างตรงบ้างตามสไตล์แต่ล่ะคน

หาบ้านให้น้องหน่อยครับ :)

ขาวจั๊วะ กอดได้ อิงได้ วางประดับได้

ปาหัวคนข้างๆก็ได้ (เวลาใช้ให้ไปล้างจานแล้วไม่ยอมไป)

https://raka.is/r/XBBPp

อย่างตาบอดสีไหม HR มักจะตรวจสอบให้ก่อนแล้ว ไม่ได้แปลว่าบอดสีแล้วทำไม่ได้ บางงานสนามก็ได้ บางงานก็ไม่ได้ ต้องว่าเป็นงานๆไป เพราะบางทีมันเกี่ยวกับการอ่านกราฟ อ่านแผนภาพ ชุดคำสั่ง หรือ แม้กระทั่งความปลอดภัย ทั้งของตัวเองและเพื่อนร่วมงาน สรุปว่า พิจารณาเป็นงานๆไปครับ

มีประวัติเจ็บป่วยร้ายแรง ลมชัก ผ่าตัดกระดูก กล้ามเนื้อ อะไรใหญ่ๆอะไรไหม รอบ 5 ปีที่ผ่านมา เคยขึ้นเขียงให้หมอผ่าตัดอะไร ฯลฯ ผมแนะนำว่าอย่าโกหก บอกไปตามจริง เพราะอย่างไร ก็ต้องไปผ่านการตรวจละเอียดจากรพ.อีกทีอยู่ดี

น้ำหนักเกินมากๆไหม บางคนเดินมานี่รู้เลยว่าส่งขึ้นแท่นไม่ได้แน่ๆ พวก (BMI > 35 – เอานน.เป็นกก.ตั้งหารส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง เช่น สูง 176 ซม. หนัก 76 กก. BMI = 24.45, BMI = Body Mass Index) ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มนี้ แนะนำให้ไปลดมาก่อน หรือ พวกที่ผอมมากๆ BMI < 15 ก็ไปด๊วบไปขุนกันมาก่อน เอาให้พ่วงพี ค่อยมาสมัคร

หนังสือมือสองล๊อตใหม่มาแล้ว สนใจคลิ๊กลิงค์ข้างล่างเลยครับ

https://raka.is/r/PP61Q

แต่พวกโรคประจำตัวแบบภูมิแพ้ที่กินยาประจำแบบนี้ไม่เป็นไร เป็นกันเยอะ ผมก็เป็น แต่ถ้าลมชักนี่ ต้องขอไว้ก่อนนะ ส่วนพวก home sex เอ๊ย home sick ง่ายนี่ก็ม่ายเอา ไปนั่งซึมกระทือ บนแท่นเป็นซากศพเดินได้ นี่ขอนะครับ

มีน้องผู้หญิงคนนึงที่รู้จักกัน หน้าตาสะสวย เป็นวิศวกรสนามอยู่ บ.service หญ่ายบ.นึง ไถ่ถามว่าทำไมหลุดมาทำงานแบบนี้ เธอตอบว่าหนีแฟนค่ะพี่ หนูบอกเลิกมันแล้วมันไม่ยอมเลิก (แหม เป็นพี่พี่ก็ไม่ยอมเลิก ออกสวยหมวยเอ๊กซ์ซะ ฮ่าๆ) หนูเลยสมัครไปคองโกมันซะเลย แฟนเก่าหนูตามไปไม่ได้แน่ๆ (ฮ่า – ดูมัน)

ปล. คองโกเป็นประเทศยากจนและกันดารมากๆในแอฟริกาครับวิศวกรสนาม Field Engineer

 

4. สามารถทำงานแบบกะได้ไหม – ดูเหมือนทุกคนน่าจะรู้อยู่แล้วว่ามาทำงานสนามแบบนี้ต้องทำแบบกะ หมายถึงอยู่แท่นติดต่องกันช่วงเวลาหนึ่งแล้วพักช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 21/21 (ทำ 21 วัน พัก 21 วัน) แปลกแต่จริง บางคนมารู้ว่าตูต้องทำแบบนี้ตอนมาสัมภาษณ์

เราก็มักจะถามกันเหนียวไว้ก่อน โดยมากจะตอบว่าได้ แต่จะได้จริงหรือเปล่า เราก็ถามอ้อมๆกันต่อไป เช่น พ่อแม่มีลูกกี่คน อายุเท่าไร ทำอะไรบ้าง ใครส่งใครเรียน ใครมีภาระอะไร มีแฟนหรือยัง คบกันนานไหม ทะเลาะกันบ่อยไหม แต่งงานหรือยัง มีลูกกี่คน อายุเท่าไร อยู่กับใคร

คำถามเหล่านี้ มักจะโดนมองว่าละลาบละล้วง แต่เรามองข้ามช๊อตไปต่างหาก คือเราดูความน่าจะเป็นที่จะมีปัญญหาในอนาคต เพราะวันนี้อาจจะไม่มี แต่วันหน้าถ้ามีปัจจัยเสี่ยงเราก็จดๆเอาไว้ อาจจะไม่ถึงกับเป็นเรื่องชี้เป็นชี้ตาย แค่ตั้งข้อสังเกตุไว้เฉยๆ

5. เวลาเครียด ผ่อนคลายยังไง – เนื่องจากหน้างานมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากมาย ความเครียดย่อมมีมากเป็นธรรมดา เราต้องการคนที่มีสุขภาพจิตปกติ คนปกติจะมีวิธีผ่อนคลายความกดดันความเครียดที่แตกต่างกัน

แปลกแต่จริงอีกที่ผมเจอคนที่ตอบว่า ไม่มีงานอดิเรก ไม่มีวิธีคลายความเครียด (คนอย่างนี้ก็มีด้วย) คนที่ไม่มีงานอดิเรก ไม่มีวิธีระบายความเครียด ในความเห็นผม ไม่ควรไปทำงานที่ต้องรับความกดดัน และ ห่างไกล

วิธีคลายความเครียดก็มีหลากหลาย ที่ตอบกันบ่อยๆก็คือ เล่นดนตรี กีฬา ฟังเพลง อ่านหนังสือ ฟังธรรมะ นั่งสมาธิ ดูหนัง เล่นเกทส์คอมฯ ฯลฯ ก็อาจจะมีถามต่อนิดหน่อยว่า ทำกิจกรรมนั้นๆจริงไหม เช่นเล่นเกมส์อะไร เวอร์ชั่นไหน อ่านธรรมของพระครูอะไร ฯลฯ ถ้าทำอย่างที่ตอบจริง มันก็ไม่มีปัญหาอะไรช๊อตนี้

วิศวกรสนาม Field Engineer

 

6. สิ่งที่ผมเรียกว่า “สามัญสำนึกทางวิศวกรรม” – คำนี้ผมบัญญัติขึ้นเอง อันนี้ไม่เกี่ยวกับเกรด คนเก่งๆเกรดสูงๆม.ดังๆตกม้าตายเรื่องนี้มานักต่อนักแล้ว ผมแปลของผมเองมาจากคำว่า engineering common sense ครับ สำหรับ วิศวกรสนาม Field Engineer แล้ว มันคืออะไร

สามัญสำนึกทางวิศวกรรม

ยกตัวอย่างง่ายๆสัก 2-3 คำถามนะครับ หิ้วถังปริมาตรของเหลวเท่ากัน ถังนึงเป็นน้ำ ถังนึงเป็นน้ำมัน อีกถังนึงเป็นน้ำเชื่อม หิ้วถังไหนขึ้นกระไดเหนื่อยมากกว่ากัน เพระาอะไร หรือ น้ำแข็งลอยน้ำอยู่ในแก้ว พอละลายหมดแล้ว ระดับน้ำในแก้วเพิ่มหรือลดลงหรือคงที่ เพราะอะไร อะ อีกคำถามนึง ทำไมเข็นรถเข็นผักในตลาดใช้แรงมากกว่าลาก(รถเข็นผักคันเดียวกันนั่นแหละ) แล้วทำไมในตลาดที่ซอกแซกจอแจเขามักเข็นมากกว่าลาก แต่พอที่โล่งๆจะลากมากกว่าเข็น

มีอีกสารพัดคำถาม ผมมีเป็นสิบๆคำถาม คำตอบนั้นง่ายๆแต่อาศัยหลักวิศวกรรม ทั้งกลศาสตร์ของแข็ง ของเหลว เคมี เทอร์โม ไฟฟ้า ฯลฯ ไม่ต้องเก่งมากมายก็ตอบคำถามพวกนี้ได้ครับ ขอแค่รู้จักมองอะไรๆรอบๆตัวแล้วหัดตั้งคำถามแล้วพยายามหาคำตอบตามหลักวิศวกรรม ผมก็มักเลือกคำถามที่ตรงกับสาขาที่จบหรือเกรดตัวที่ได้สูงๆของผู้สมัคร

คุณอาจจะเกี่ยงว่าไม่แฟร์ เพราะแต่ล่ะคนจบมาต่างสาขา แต่ผมมองว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องพื้นฐานวิศวกรรมปีหนึ่ง หรือแม้แต่ฟิสิกส์ ม. 4-5-6 ซึ่งคนจบสายวิทย์ทุกคนรู้หลักการพวกนี้อยู่แล้ว เช่น มีใครที่เรียนวิศวกรรมศาสตร์แล้วไม่รู้จัก กฏ 3 ข้อของนิวตันบ้าง (เด็กม 4 ยังรู้เลย)

ถามว่าจำเป็นอย่างไรกับการเป็นวิศวกรสนาม วิศวกรสนามต้องประยุกต์ใช้วิศวกรรมศาสตร์ได้ทุกสาขา อย่างน้อยในด้านพื้นฐาน ในการแก้ปัญหาสารพัดที่ประเดประดังเข้ามาทุกวัน บางทีผมก็ด้นคำถามสดๆดูจากประวัติการทำงาน วิทยานิพนธ์ วิชาที่ได้เกรดเอ ของคุณนั่นแหละ

เช่น มีตัวอย่างนึง ผู้สัมภาษณ์เป็นวิศวกรเครื่องกล เกรดสูงทีเดียว จากม.ชื่อดังเสียด้วย ที่บ้านเป็นร้านวัสดุก่อสร้างทุกอย่าง ถามว่าเคยช่วยที่บ้านขายของหยิบของไหม ตอบว่าบ่อยครับ ตั้งแต่เล็กๆเลยครับ

ผมอมยิ้มเลย เพราะมีอะไรให้ถามเพียบ ผมถามต่อว่า เคยหยิบดอกสว่านขายไหม ตอบว่าเคยครับ มีกี่ประเภท อันนี้ผู้สมัครตอบได้ พอถามว่า ให้หลับตาหยิบดอกสว่านประเภทใดประเภทหนึ่ง หยิบได้ไหม อันนี้เริ่มอึกอัก

ถามต่อว่า งั้นเอางี้ บอกได้ไหมว่าดอกสว่านทั้ง 3 ประเภท ต่างกันอย่างไรโดยดูจากภายนอก หรือ หลับตาคลำ คราวนี้เดี้ยงเลย ผมก็เฉลยว่าต่างกันอย่างไร หลับตาคลำก็รู้ ผมถามต่อว่า ทำไมมันต่างกันแบบนั้น มันมีเหตุผลทางกลศาสตร์ หรือวัสดุศาสตร์ อย่างไร เด็กปีหนึ่งก็รู้ (ถ้ามันตั้งใจเรียนและทำแล็ป) คราวนี้จอดสนิท

แถมอีกตัวอย่างนึง จบวิศวกรรมเคมี เกรดธรรมดาๆ ม.ไม่ได้มีชื่ออะไร ฐานะไม่ค่อยดีต้องช่วยแม่ขายข้ามมันไก่ ข้าวหมูแดง แต่เล็ก แต่เธอ(ผู้หญิง)เฉียบมาก ถามเรื่องเคมีอะไรในครัว เธอตอบได้หมดตามหลักเคมีได้ถูกต้องและเหตุผลดีมาก

เช่น ผมชวนคุยเรื่องขั้นตอนการต้มไก่ทำข้าวมันไก่ แล้วถามว่า ทำไมต้องใส่เกลือตอนนั้น ใส่ก่อนได้ไหม ใส่หลังได้ไหม เพราะอะไรถึงไม่ได้ แยกไข่ดิบจากไข่ต้มอย่างไร แยกไข้ดีกับไข่เน่า เพราะอะไร (ต้องถามว่าเพราะอะไรเสมอ เพราะหลายคนสักแต่รู้ว่าทำยังไงแต่ไม่รู้ว่าเพราะอะไร) ทำไงหั่นหอมแดงถึงไม่แสบตา เพราะอะไร ทำไมไฟสีนึงร้อนกว่าอีกสีนึง แล้วไฟสีไหนร้อนที่สุด เกิดอะไรขึ้นถ้าบีบมะนาวใส่ไข่ขาว ฯลฯ

เธอตอบได้เกือบหมด ซึ่งคำถามผมไม่มีในหนังสือ หรือ text book (แบบตรงๆ) ผมมีคำถามวิทยาศาสตร์ก้นครัวแบบนี้เพียบ 70% ที่ผมถาม เธอตอบได้ ผมถือว่าเยี่ยมแล้ว ดูแล้วไม่เข้ากับเกรดทางวิชาการเธอเลย แต่ไหวพริบดีมาก

มีบางคนอาจจะแถว่า ก็ผมเข้าใจ ทำได้ นี่ครับ แต่ไม่ถนัดอธิบาย อธิบายไม่เก่ง พูดไม่เป็น งั้นคุณก็เป็นวิศวกรสนามไม่ได้อีก เพราะคุณต้องมีลูกน้อง คุณต้องอธิบายลูกน้องได้ สอนลูกน้องได้ (coaching) คุณต้องสื่อสาร อธิบาย กับลูกค้า หรือ ผู้รับเหมาได้ (communication) ถ้าเป็นแต่ทำก็จบ รับมาทำคุณก็ไม่ก้าวหน้าไปไหน คือมันต้องประกอบๆกันไปน่ะครับ

โดยเฉพาะลูกน้องหรือผู้รับเหมาที่บางที่ก็ไม่ได้จบวิศวกรรมเหมือนเรา ก็ต้องมีวิธีอธิบาย สื่อสาร ของยากให้เป็นของง่าย ให้เขารับคำสั่งไปทำได้ทันที ไม่ต้องแปลไทยเป็นไทยอีก อันนี้สำคัญมาก ไม่ใช่ว่าทำตรงกันข้าม (ผมเจอมาแล้ว) คือ สั่งงานเรื่องง่ายๆให้เป็นเรื่องยากๆ เด็กมันก็ไปทำมาผิด แล้วก็โวยวายว่าเด็กมันไม่รู้เรื่อง ผมนี่เกาหัวเลย

วิศวกรสนาม Field Engineer

 

7. ความเป็นผู้นำ – ค้นคว้าได้จากใบสมัครงานที่คุณกรอกนั่นแหละครับ ว่าคุณเคยทำ เคยเป็นผู้นำอะไรบ้าง ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร ถามๆไปเรื่อยๆก็พอเดาได้ว่าคุณเคยทำเคยเป็นผู้นำจริงๆไหม โดยเฉพาะกีฬากลางแจ้ง หรือ งานกลางแจ้ง เช่น บาสฯ ฟุตบอล งานออกค่ายอาสา ฯลฯ

8. ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า – เหมือนความเป็นผู้นำครับ ถามเอาจากที่คุณกรอกในใบสมัครงานนั่นแหละ หรือบางทีผมก็อาจจะถามคำถามยากๆ หรือออกอาการ(เล่นละคร) ดูถูกหรือ ทำให้คุณรู้สึกแย่ หรือโกรธ แล้วดูว่าคุณจะจัดการกับสถานการณ์อย่างไร นิ่งแค่ไหน มีสติแค่ไหน หรือ สะกิดหน่อยหน้าแดงเป็นกวนอู ว้ากเพ๋ยเป็นเตียวหุย

9. คิดจะเรียนต่อไหม เมื่อไร อย่างไร – คิออย่างไรก็ตอบไปอย่างนั้นก็แล้วกันครับ ไม่มีถูกไม่มีผิด แต่ที่ปลอดภัยที่สุด (ในสายตาผม) คือ ตอบแบบแทงกั๊ก เพราะตอบว่าไม่ก็เหมือนกับไม่รู้จักพัฒนาตัวเอง ตอบว่าใช่ก็เหมือนกับว่าเดี๋ยวอยู่ไม่นานบ.ก็ต้องเสียเวลาหาคนใหม่

10. คิดอย่างไรกับการเป็นลูกจ้างบ.ต่างชาติ (กรณีบ.ต่างชาติ) หรือ ทำใจได้ไหมกับการทำงานในบ.แบบไทยๆ (กรณี บ. ไทยๆ) – ข้อนี้ผมแนะนำให้ตอบเป็นกลางๆไว้ดีครับ เราไม่ต้องการคนที่สุดขั้วสุดโต่ง คนแบบนี้อันตรายต่อการทำงานในที่ห่างไกล มักจะทำอะไรแผลงๆโดยขาดความยั้งคิด

ทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง วิธีตอบที่ปลอดภัยที่สุดคือ ตอบว่า ข้อดีคือ 1-2-3… ข้อที่น่าห่วงคือ 1-2-3… (อย่าพูดว่าข้อเสีย หัดเป็นนักการทูตหน่อย) แต่โดยรวมๆแล้วผมคิดว่าผมน่าจะเหมาะสมกับบ.นี้ ฯลฯ (อะไรก็ว่าไป)

11. ทำการบ้านเกี่ยวกับบ.ที่มาสมัครไหม – อันนี้สำคัญครับ เพราะแสดงถึงความใส่ใจ เตรียมพร้อม หลายคนทำให้ผมประทับใจในส่วนนี้ เพราะแหล่งข้อมูลมากมายสมัยนี้ ตลาดหลักทรัพย์ (ถ้าบ.จดทะเบียน) กูเกิล เว็บบอร์ดต่างๆ เพื่อนฝูง ฯลฯ บางคนทำการบ้านมาดีมาก

แต่บางคนก็แหม มันจะไม่รู้อะไรขนาดนั้น เผลอคิดไปว่า เคยอ่านหนังสือพิมพ์ หรือ ฟังข่าวบ้างไหม อย่างตอนนี้ข่าวในวงการเรื่องประมูลสัมปะทาน บงกช เอราวัณ ทราบบ้างไหม อาจจะไม่ต้องรู้ลึก แต่ควรรู้บ้าง

คนเราน่ะ พรสวรรค์มันแข่งกันยาก แต่พรแสวงมันหัดกันได้นะครับ

12. ทำงานแบบมื้อเปื้อนขี้โคลน ลุยขี้ดินคลุกฝุ่น ได้ไหม – ที่ภาษาเราๆเรียกว่าทำงาน hand on ได้ไหม ไม่ใช่ว่าอธิบายเป็นตุเป็นตะว่าเลื่อยนี้ใช้ยังไง เลื่อยอะไรยังไงเพราะอะไร แต่พอให้ลงมือทำ ชักขึ้นสองทีกดลง 3 ที ใบหักป๊อก อย่างนี้ไม่เท่าไร เพราะไม่มีใครเป็นอะไรมาแต่เกิด สำคัญคือคุณเคยทำอะไรทำนองนี้มาก่อนไหม

เราก็มักถามๆตรงๆแล้วค่อยถามลงลึกไปอีกทีว่าที่ว่าเคยทำนะจริงไหม ซึ่งก็ไม่ยากอะไร เช่นมีคนนึงบอกว่าที่บ้านเป็นอู่ซ่อมรถ ช่วยคุณพ่อถอดประกอบรถประจำ แต่พอถามไปถามมา ปรากฏว่า ได้แต่ยืนดู เพราะดันตอบไม่ได้ว่าเอาแม่แรงอะไรยังไงยกรถยังไง ขั้นตอนเป็นไง ประแจอะไรใช้กับงานแบบไหน หน้าตาเป็นอย่างไร และอีกหลายๆคำถามที่ลูกมือช่างอู่รถควรรู้

อย่าลืมว่า การสัมภาษณ์นี้เป็นแบบรุมสกรัม และเกทับปลั๊ฟแหลก พูดง่ายๆคือไม่แฟร์นั่นแหละครับ คุณโดนรุมอยู่คนเดียว เขารู้อะไรหรือไม่รู้อะไรเราก็ไม่รู้ แต่เรารู้อะไรหรือไม่รู้อะไรเขารู้หมด (ฮ่าๆ) คือรู้เราไม่รู้เขานั่นแหละครับ ทำไงได้เนอะ ชีวิตมันก็งี้แหละครับ

บางทีบางเรื่องผมก็ไม่รู้ แต่แกล้งบลั๊ฟว่ารู้ ดูซิว่าคุณจะหมอบไหม ก็มีนะที่มีผู้สมัครจับได้ว่าผมหรือคณะกรรมการบางท่านเล่นเกมบลั๊ฟแบบนี้ เพราะอะไร ก็เพราะ 1. เขารู้จริง 2. เขามีกึ๋นกล้าเรียกไพ่เปิดดู และ 3. เขาเรียกไพ่ดูแบบถนอมหน้าตา ไม่ให้เสียหน้า (แต่ก็ไม่หมอบ) – ภาษาไพ่น่ะครับ

วิศวกรสนาม Field Engineer

 

ถ้าคุณเจอคนสัมภาษณ์แบบเดี่ยวๆ ก็ถือว่าโชคดีไป โดยมากคนๆนั้นก็จะเป็น end user หมายถึงคนที่จะเอาคุณไปใช้งาน แบบเดี่ยวๆนี่ก็ดีไปอย่างคือคุณรับมือคนๆเดียว ไม่เสียสมาธิกับหลายคนหลายประสบการณ์ แต่ข้อเสียคือชะตาคุณอยู่ในมือคนๆเดียว แนวทางการสัมภาษณ์ไม่หลากหลาย ไม่มีโอกาสโดนยิงคำถามที่ทำให้คุณดูดี (ถ้าบังเอิญไปเจอคนประสบการณ์แคบ)

แต่ถ้าโดนรุมสกรัมยำหมู

เอ๊ย ยำหมู่ คือนั่งกันเป็นแผง 3-4 คน แบบนี้คุณแย่หน่อยตรงที่ ระหว่างที่คนนึงถาม และ ฟังคุณ อีก 4 – 6 ตาก็จะคอยจับพิรุธสังเกตุ และเตรียมคำถามต่อเนื่อง

นอกจากนั้น คุณจะเสียสมาธิอย่างแรง มิหน่ำซ้ำอาจจะเจอบท good cop – bad cop คืออีกคนเล่นบทใจดี อีกคนเล่นบทโหด แล้วดูปฏิกริยาคุณ แต่เอาเถอะ มันก็ไม่ใช่ตัวเลือกของคุณว่าจะขอเซ็กซ์เดี่ยว หรือ จะเล่นเซ็กซ์หมู่ (ฮ่าๆ) ถ้าโดนรุม ผมแนะนำอย่างงี้ครับ

1. หาให้เจอว่าใครเป็น end user – คืองี้ คนที่นั่งเป็นแผงต่อหน้าคุณนะ จะประกอบไปด้วยอย่างน้อย 3 ฝ่าย คือ HR – end user และ แผนกขอแรงมาให้กำลังใจ มาเสริม หรือมาสังเกตุการณ์

จะรู้ได้ไงว่าใครเป็น HR ดูง่ายๆ คนที่เปิดฉากเจื้อยแจ้วก่อนคนแรก โดยมากเป็น HR ครับ ทำนอง “สวัสดีค่ะ/ครับ คุณ … วันนี้เราจะ … เราจะเริ่มด้วยการให้คุณช่วยแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษสัก 5-10 นาทีนะครับ/ค่ะ … (อะไรก็ว่าไป)” หรือ อีกทีก็จะดูจากแนวคำถามว่าคนไหนถามพื้นๆ คนไหนถามเทคนิคเยอะ คนนั้น end user แน่ คนไหนนั่งจดอย่างเดียวนานๆถามที คนนั้นขอแรงมาช่วยลุย ยิ่งคุณระบุกาหัวได้เร็วเท่าไรว่าไผเป็นไผ ยิ่งมีประโยชน์มากเท่านั้น

2. พอรู้ว่าไผเป็นไผ ให้คุณจัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับประเภทของคำถามและพื้นฐานคนถาม ถ้าคนถามเป็น end user ซึ่งมักเป็นคำถามเทคนิคก็ใช้เวลาตอบละเอียดนานหน่อย ถามเป็นคำถามกว้างๆจาก HR ก็ไม่ต้องฝอยมาก เป็นการบริหารจัดการเวลาไปในตัว

นอกจากนั้นแล้วคุณต้องพยายามโยงประเด็นที่ HR ถามให้เข้ามาทางงานสนามที่คุณสัมภาษณ์ให้ได้มากที่สุด แล้วพยายามสบตากับคนที่คุณคิดว่าเป็น end user(s) เพราะคนนี้จะมีน้ำหนักในการจะรับหรือไม่รับคุณ (ยกเว้น ถ้า HR สวยหมวยเอ๊กซ์ และนุ่งสั้นๆ อนุญาติให้สบตา และ ขอบกระโปรงได้เป็นพักๆ ฮ่าๆ)

ทำเป็นเล่นไปครับ บางทีพวกผมก็แกล้งให้พวกคุณเสียสมาธิเล่นๆงั้นแหละ แกล้งชวนน้องๆแผนก PR (ส่วนมากสวยๆ) ที่ว่างๆมานั่งเป็นแผนกให้กำลังใจให้ผู้สมัครเสียสมาธิเล่นซะงั้นก็มี

เออ … อีกประเด็นนึงคือ เราจะดูความช่างสังเกตุของคุณด้วย เพราะความช่างสังเกตุเนี่ยเป็นคุณสมบัติเบอร์ต้นๆของวิศวกรสนามเลยนะขอบอก

ทักษะการสังเกตุ

ขณะที่คุณนั่งรอสัมภาษณ์นะ อย่าปล่อยเวลาผ่านไปเปล่าๆ ดูรอบๆตัวว่า มีอะไรอยู่ตรงไหน สีอะไร ใครแต่งตัวอย่างไร มีกี่คน ฯลฯ เชื่อไหม ผมเคยสัมภาษณ์คนนึง ผมถามว่านั่งรอในห้องรับรองนานแค่ไหน เขาตอบว่า ชม.ครึ่ง (เพราะมาก่อนเวลาหน่อย) ผมถามว่า มีคนนั่งอยู่กี่คนในห้อง ช.กี่คน ญ.กี่คน แต่งชุดนศ.หรือชุดธรรมดา แม่บ้านของบ.ที่มาเสริฟน้ำใส่ชุดสีอะไร ทีวีในห้องรับรองเปิดรายการอะไร รีเซฟชั่นผมยาวหรือผมสั้น อะไรพวกนี้ เชื่อไหมครับว่า ตอบไม่ได้สักคำถาม

อย่างนี้ผมบอกได้เลยว่าเกรดสูงแค่ไหน ผมก็ไม่ส่งไปหน้างาน เพราะ 1.คืออันตรายมากๆทั้งต่อตัวเองและงาน 2.กว่าผมจะได้ข้อมูลอะไรจากคนแบบนี้ ผมคงต้องส่งรายการคำถามละเอียดยิบยาวยืด

ส่วนมากก็จะตอบได้พอสมควร นั่นเป็นเรื่องปกติ แต่ที่ผมประทับใจมาก มีคนนึง นอกจากจะสังเกตุได้ครบละเอียดมากแล้ว พี่แกยัง ชวนคุยหนิดหนม ได้เบอร์ได้อีเมล์ เพื่อนๆในห้องอีกด้วย ทั้งๆที่พี่แกมาคนเดียว เพื่อนคณะก็ไม่ได้มาด้วย

ตอนหลังแกมาเฉลยว่าที่แกตอบได้หมดเพราะแกถามคนที่ออกมาแล้วว่าผมถามอะไรบ้าง แกเลยจำทุกอย่างในห้องระหว่างนั่งรอมาหมดเลย (ผมเลยถือโอกาสขอเบอร์มือถือรีเซฟชั่นสาวสวยจากผู้สมัครรายนี้เสียเลย อิอิ) แบบนี้ผมให้เต็มสิบเลยในหัวข้อเรื่องความช่างสังเกตุ และ มนุษยสัมพันธ์

อ้อ ขอบอก ขอบอก เชื่อหรือไม่ ผู้หญิงจะตอบได้มากกว่าผู้ชายว่าในห้องมีอะไร อยู่ตรงไหน แสดงว่าโดยธรรมชาติแล้ว ผู้หญิงจะช่างสังเกตุมากกว่า แต่ผู้ชายจะตอบได้ทุกคนว่า รีเซฟชั่น ผมยาวหรือผมสั้น (ฮ่า) แล้วจะพลาดเรื่อง สีชุดแม่บ้านเสริฟน้ำ (ดูมัน ฮ่าๆ)
วิศวกรสนาม Field Engineer
อาจจะมีคนแย้งว่า ไม่ยุติธรรมกับผู้ถูกถามเท่าไร เพราะที่รู้ไม่ถาม ดันมาถามที่ถามไม่รู้ ทำไมมาตัดสินกันแค่ไม่กี่คำถาม …

อืม … ก็จริง ผมก็เคยคิดแบบนี้ และ ตอนนี้ก็ยังคิดแบบนั้นอยู่ งั้นก็ให้ไปอ่านหมายเหตุที่ 2 ตอนต้น ทำไงได้ครับ เกิดมาในระบบแบบนี้ คุณมี 2 ทางเลือก คือยอมรับ และ ปรับตัวให้เข้ากับมันอย่างมีความสุข หรือ 2 ไม่ยอมรับ และ ตั้งกฏหรือหาวิธีของตัวเอง

ผมเชื่อว่ามีสิ่งที่เรียกว่า พรสวรรค์ – talent – gift – born to be หรืออะไรก็แล้วแต่ทำนองนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ผมให้น้ำหนักกับ “พรแสวง” มากกว่า

The “Self” is not somthing ready-made, but something in continuous formation through choice of action

John Dewey (Educator – Philosopher – Psychologist)

ผมแปลเองง่ายๆว่า ความเป็น “ตัวของเรา” ไม่ใช่อะไรที่เป็นมาแต่เกิด แต่เป็นสิ่งที่สร้างสมมาได้ด้วยสิ่งที่เราเลือกทำ – นั่นแปลง่ายๆว่า you are what you eat นั่นแหละครับ จะแถๆแปลว่า สวยด้วยมีดหมอ ก็พอถูไถ ถึงจะไม่ตรงความหมายทีเดียวแต่ก็พออนุโลม

ถูกต้องครับว่าในบางสายงานอาชีพ เราต้องมองหาคนที่มีพรสวรรค์ เช่น งานสายที่ต้องใช้พรสวรรค์เฉพาะตัว งานศิลป์ โฆษณา งานแสดง ฯลฯ แต่ในทางกลับกัน ในสายงานวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (วิศวกรรม) โดยเฉพาะงานสนาม ไหวพริบและการเป็นคนช่างสังเกตุเป็นคุณลักษณะพื้นฐานที่สำคัญ และ เป็นเรื่องที่ฝึกหัดกันได้ ไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์

การสัมภาษณ์นั่นเหมือนตะแกรงร่อนเบอร์นึงในหลายๆเบอร์ของขบวนการคัดสรร สิ่งที่ผู้ถามมอง และ ฟังนั้นมากไปกว่าภาษาพูดที่ได้ยินทางหูนะครับ เราดูหมดตั้งแต่ก้าวแรกที่คุณเดินเข้ามา หรือ แม้แต่บังเอิญเจอในห้องรอสัมภาษณ์ ในลิฟท์ หรือ โถงทางเดิน

The most important thing in communication is to hear what isn’t being said

Peter Drucker (Austrian born American management guru)

แปลง่ายๆว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในกระบวนการสื่อสารนั้นคือการได้ยินในสิ่งที่ไม่ได้พูด (หรือเขียน – ผมเติมเอง)

ทำให้นึกถึงหนังเรื่องเชอร์ล็อกโฮม ที่ผมเป็นแฟนหนังสือของแกตัวยงตั้งแต่สมัยยังใส่ขาสั้นไปรร.(หมดค่าขนมไปซื้อแว่นขยาย ซื้อแม่เหล็กไปเยอะ)

ในหนังถึงมันจะเวอร์ไปในบางเรื่อง แต่มันก็มีส่วนจริงอยู่ 70-80% เลยทีเดียว และมันสอนให้เรารู้จักฟังเสียงของความเงียบ (การสังเกตุนั่นแหละครับ พูดให้เท่ห์ๆไปงั้นแหละ) ตรงข้ามกับ Slumdog millionaire ที่ทุกอย่างได้โดยการลิขิตไว้ แต่ก็ไม่ว่ากัน เพราะทั้งสองเรื่องเขาก็ทำไว้ขาย จึงต้องมีความเป็น drama อยู่บ้าง ไม่งั้นขายไม่ออก

แล้วมันเกี่ยวกับการสัมภาษณ์อย่างไร เกี่ยงตรงที่การฟังเสียงของความเงียบ(ความช่างสังเกตุ)นั้นฝึกหัดได้ เริ่มต้นง่ายๆ เมื่อคุณเงยหน้าจากจอคอมฯ เห็นคนๆแรก ลองสังเกตุดูซิครับ เอาง่ายๆก่อน เสื้อผ้า-หน้า-ผม อ้วนผมสูงต่ำดำขาว แล้วก็เริ่มพัฒนาไปเรื่อยๆ

คำถามที่ผมชอบถามคนที่ขึ้นรถเมล์ประจำทางไปกลับมหาวิทยาลัย คือ ที่ป้ายรถเมล์ที่ขึ้นประจำมีอะไรบ้าง นอกจากสายที่ตัวเองขึ้นประจำแล้วสายอื่นมีมาจากไหน ไปไหน

คุณอาจจะหัวเราะ แต่ถ้าคุณถามคนๆหนึ่งที่ขึ้นรถเมล์ป้ายเดียวกัน 4 ปี ไปกลับม.ทุกวันที่มีเรียน (คูณเลขเอาว่า 4 ปีเป็นกี่วันที่เที่ยว) แล้วรู้แต่ว่าสายที่ตัวเองขึ้นไปไหน แต่สายอื่นที่จอดป้ายเดียวกันตูไม่รู้ ผมเชื่อว่าคุณไม่กล้าส่งคนนี้ไปคุมหน้างานก่อสร้างทางวิศวกรรมแน่นอน ถึงเขาจะเก่งวิชาการแค่ไหนก็ตาม เขาอาจจะเหมาะกับงานอื่น เช่นงานวิจัย งานในห้องทดลอง งานสอนหนังสือ แต่ไม่ใช่งานวิศวกรสนามแน่ๆครับ แล้วคุณจะขำกลิ้งถ้าผมบอกว่าผมเจอแบบนี้ไม่น้อยทีเดียวครับ

อีกอย่างที่ผมชอบถามในหัวข้อการสังเกตุนี้ คือให้มองออกไปนอกหน้าต่างห้องที่สัมภาษณ์ (ซึ่งผมดูก่อนแล้วว่ามีอะไรน่ามองไหม) ให้เวลา 3-5 นาที แล้วผมแกล้งถือโอกาสออกไปเข้าห้องน้ำหรือเดินไปชงกาแฟ แล้วให้หันกลับมาตอบผมว่าเห็นอะไร

คำถามสุดท้ายผมจะถามว่า กรอบหน้าต่างสีอะไร ขนาดกว้างยาวเท่าไรโดยประมาณ ทำด้วยวัสดุอะไร ไม้ หรือ อลูมิเนียม ฯลฯ หรือ ถ้าห้องไม่มีหน้าต่าง ผมจะเตรียมรูปหน้างานก่อสร้างบ้านที่พวกเราเห็นกันดาดดื่นตามข้างถนนนั่นแหละ พิมพ์บนกระดาษ ยื่นให้จับให้ดู ให้เวลา 3-5 นาที แล้วผมเอาคืน

ผมไม่ถามอะไรมากมายหรอก เพราะ 2 คำถามสุดท้ายของผม คือ กระดาษที่ถือตะกี้เป็นขนาด A4 หรือ letter size แล้วก็ กระดาษที่พิมพ์รูปนี่เป็นกระดาษใช้แล้ว(เอามาพิมพ์ด้านหลัง – reused) หรือเปล่า

อาจจะบอกว่าไม่แฟร์นี่หว่า เพราะผมให้ดูไปนอกหน้าต่าง แล้วเจือกถามกรอบหน้าต่าง หรือ ผมให้ดูรูปแล้วทะลึ่งถามขนาดกระดาษที่พิมพ์รูป หรือมาถามว่าอีกด้านของกระดาษใช้พิมพ์อะไรไปหรือยัง (สังเกตุว่าผมไม่ได้ถามว่าพิมพ์อะไร ผมถามแค่ว่ามีอะไรพิมพ์ไว้หรือเปล่า) …

ถ้าคิดว่าผมไม่แฟร์ …. ลองคิดใหม่ให้ดีๆ วิศวกรที่ถือกระดาษแผ่นนึงในมืออยู่ 3-5 นาที แล้วไม่รู้ว่ากระดาษแผ่นนั้นเป็นขนาด A4 หรือ letter size แล้วไม่ผลิกดูอีกด้าน(หรือมองทะลุไปก็เห็น)ว่าด้านหลังมีอะไร หรือวิศวกรที่มองออกไปนอกหน้าต่างแล้วกะไม่ถูกว่าขนาดหน้าต่างกว้างยาวเท่าไร สีอะไร ไม้ เหล็ก ปูน หรืออลูมิเนียม … ไม่เหมาะกับงานสนามแน่ๆครับ เพราะเราต้องคุมงาน คุมคน ต้องเห็นหรือได้ยินในสิ่งที่ลูกน้องหรือผู้รับเหมาไม่ได้พูดไม่ได้เขียน(ในรายงาน)

พูดง่ายๆว่า ไม่ให้ลูกน้องหรือผู้รับเหมาแหกตานั่นแหละครับ … ปล. คุณจะงงและแปลกใจที่รู้ว่ามีวิศวกรเก่งๆบางคนตอบคำถามพวกนี้ไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าไม่เก่งไม่ดีนะครับ เขาอาจจะเหมาะกับงานอื่น เช่น งานในออฟฟิต งานในห้องแล็ป มากกว่างานสนามน่ะครับ

บางทีผมยังแกล้งทำเนียน ไปนั่งในห้องรอสัมภาษณ์ สังเกตุโน้นนี่ ดูว่าระหว่างพวกคุณนั่งรอกัน ใครทำอะไร บางทีก็ชวนคุย ถามโน้นถามนี้ ฟอร์มไปว่ามารอคนโน้นคนนี้ (เพราะหน้าและตีนกาผมไม่อำนวย ถ้าจะมาอำกันว่ามารอสอบสัมภาษณ์) แล้วน้องมาทำอะไร ว่าไปเรื่อยเปื่อย

ดังนั้น ถ้ามีใครไม่ว่าหน้าเด็กหน้าแก่มาชวนคุยต้องนึกว่ามาสัมภาษณ์ไว้ก่อน จริงๆ คุณต้องคิดว่าการสัมภาษณ์เริ่มต้นตั้งแต่คุณเดินเข้าตึกของบ.เขาแล้วด้วยซ้ำ เพราะบางทีถ้าวิศวกรเด็กๆของผมว่าง ผมก็จะวานให้ทำเนียนฝากคำถามไปกลมกลืนกับพวกคุณ

คุณอาจจะคิดว่าอะไรจะขนาดนั้น ผมก็ไม่ได้ว่าทุกบ.ทำแบบนี้ แต่แค่เป็นแบบเฉพาะตัวของผม ถ้า HR ไหว้วานขอแรงผมไปช่วย ผมก็จะทำของผมอย่างนี้ เพราะคุณมีเวลาเป็นวันๆเดือนๆในการแต่ง CV เตรียมตัวมา ผมมีเวลาไม่ถึงครึ่งชม. ทำไงที่ผมจะรู้จักคุณให้ดีที่สุด ซึ่งผมคิดว่าไม่เกินไปหรอกครับ ที่ถ้าผู้สมัครควรจะเตรียมตัวให้พร้อมไว้ตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามาในตึกบ.ที่มาสัมภาษณ์
วิศวกรสนาม field engineer

 

ถ้ามีเวลาเหลือ ผมก็มักจะให้สเก๊ตรูปตามคำบอกคือสมมุติว่า ผมบอกทางโทรฯไปที่แท่นว่า ใช้เชื่อมหรือขึ้นรูปทรงอะไรสักอย่างอะไรประมาณนี้ แล้วดูว่าสเก็ตรูปออกมาได้เหมือนหรือคล้ายกับที่ผมต้องการไหม และ กลับกัน ผมจะให้ดูรูปทรงอะไรสักรูปหนึ่ง สมมุติว่าเป็นอุปกรณ์ ชิ้นที่ชำรุดหรือไม่ชำรุดก็แล้วแต่ แล้วสมมุติให้บอกผมทางโทรฯ ให้ผมวาดภาพตามไป แล้วก็มาดูกันว่าผมวาดได้เหมือนโจทย์ภาพที่ให้ไว้ไหม

อาจจะชูจั๊กแร้เถียงว่า สมัยนี้เขาถ่ายรูป หรือ สแกน ส่งอีเมล์ ส่ง MMS กันแล้วลุงนก ไปงมอยู่ที่ไหนมา

มันก็จริงครับ … แต่อย่าลืม บนแท่น ไม่มีสัญญาณมือถือ อยู่บนนั้น คนล่ะมุมคนล่ะชั้นของแท่น ก็ต้องใช้โทรฯภายใน หรือ walky talky คุยกัน หรือ รายงานการทำงานประจำวันตอนเช้ากับหน.บนฝั่งในกทม. บางที่ก็ยังไม่ไฮเทคขนาดวีดีโอคอนฯ ขึ้นทั้งภาพทั้งเสียง โดยมากก็เสียงอย่างเดียว

วิศวกรสนามต้องใช้ทักษะนี้ครับ คล้ายๆกับอ่านแผนที่บอกทางกันทางโทรศัพท์น่ะครับ แต่ซับซ้อนกว่า คือ วิศวกรสนามต้องทำได้ทั้ง ส่ง และ รับ คำบรรยายภาพ โดยใช้จิตนาการวาดภาพในหัวแล้วสามารถเข้าใจได้ว่าคนบอก ต้องการบอกอออกมาเป็นภาพอะไร และในทางกลับกัน ก็ต้องสามารถบรรยายให้คนอื่นรู้ได้ด้วยว่าเราต้องการบอกอะไร

อ้อ “เอกสารประเภท portfolio พวกใบประกาศนียบัตรต่างๆ หรือพวกใบทรานสคริป” มันหนักมากไหม ถ้าไม่ขนาดต้องเช่ารถปิกอัพขนไปต่างหากคันนึง ผมว่าเอาไปด้วยก็ดี

มีลูกเล่นนิดนึง ให้เอาใส่ซองใส เอาใบที่เป็นประกาศนียบัตร พวก ใบ cert อะไรเท่ห์ๆไว้ข้างหน้า หรือ เอาทรานสคลิปก็ได้ ที่มีโลโก้สถาบันฯ เอาวางไว้ในที่ๆกรรมการเห็น เพราะจะได้คะแนนเตรียมพร้อม (ถ้าคณะกรรมการสายตาละเอียดแบบผม) ว่าไอ้นี้เตรียมมาดี

อย่าลืมเอาปากกา เครื่องคิดเลขเล็กๆ กระดาษโน้ต A4 พับใส่กระเป๋าเสื้อ ไปด้วย อาจจะได้ใช้ ถ้าไม่ได้ใช้ ก็อุ่นใจ ได้คะแนนความพร้อม ถ้าจำเป็นต้องใช้ ก่อนใช้ขออนุญาติกรรมการฯก่อน

อ้อ อย่าลืมจำพวก conversion factor แปลงหน่วย ง่ายๆไปด้วย พวกนิ้วนึงกี่เซ็นต์ psi นึงกี่บาร์ psig = กี่ psia ลิตรนึงกี่แกลลอน เมตรนึงกี่ฟุต ฯลฯ พื้นๆ เผื่อกรรมการฯมีลูกบ้าแบบผม เพราะผมถือว่าเรื่องพวกนี้จบวิศว หรือ ช่างปวส “ต้อง” รู้ ถ้าวิศวกร ผมจะถามว่า ค่าประมาณ pi รูท2 รูท3 ค่า e (e-exponential) ฯลฯ

โดยเฉพาะการแปลงหน่วยในชีวิตประจำวัน(ของประเทศไทย)ง่ายๆ พวก เมตรนึงกี่ฟุต นิ้วนึงกี่เซ็นต์ ถ้าเป็นช่างแล้วไม่รู้นี่ผมให้ตกสถานเดียวเลย ความผิดสาหัสพอๆกับจบวิศวฯคอมฯแล้วไม่รู้ว่า 1 byte มีกี่ bit หรือ จบวิศวฯเครื่องกลแล้วไม่รู้ว่าน้ำหนักกับมวลต่างกันอย่างไร

เคยสงสัยไหมว่าเวลาไปโดนสัมภาษณ์ มักจะโดนถามโน้นถามนี่ที่หลายครั้งเราก็เดาไม่ถูกเลยว่าถามไปทำไม ไม่เห็นเกี่ยวกับงานที่จะทำเลย คำตอบคือ เกี่ยวซิครับ เขาถามเราอ้อมๆ เพื่อจะมองหาอะไรบางอย่างที่เป็นคุณสมบติที่เกี่ยวข้องกับงานที่เขาจะรับเราเข้ามาทำ

ไม่ต้องอารัมภบทยืดยาว มาว่ากันเลยว่ามีอะไรบ้างและจะโดนถามแนวๆไหน

Plan B

นี่ครับอย่างแรกเลยของคุณสมบัติของ วิศวกรสนาม field engineer พวกเราต้องมี plan B เสมอ

พูดง่ายๆคือ แผนสำรอง ถ้าแผนหลักเราไปไม่ถึงดวงดาว เนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะของงานเราคือทำงานในที่ห่างไกล ห่างฐานสนับสนุนทั้งเครื่องไม้เครื่อง และ คำปรึกษา เราจะต้องมี plan B ไว้เป็นนิสัย (บางทีเรียก contingency plan, แผนสำรองฉุกเฉิน, back up plan, แผนกันเหนียว และอีกหลายชื่อ) เครื่องมือสำรองอีกชุดเราต้องเตรียมไป (redundancy tools/ equipment) ก็จัดอยู่ในหมวด plan B ด้วย

แล้วเขาจะถามอะไรเราล่ะที่จะให้เห็นว่าเราเป็นคนมี plan B …

ง่ายนิดเดียวครับ ก็ถามถึงเหตุการณ์ในอดีตของเรา ง่ายๆเลยเช่นว่า เรามาสัมภาษณ์ยังไง ขับรถมา หรือ รถเมล์ มาสายอะไร ถ้าสายนี้ไม่มา เรามีสายอื่นไหม ถ้าบังเอิญตื่นสายมากๆ จะทำไง ถ้าขับรถมา รู้ไหมจะจอดตรงไหน ถ้าที่จอดที่ตึกสัมภาษณ์เต็ม จะไปจอดไหน ตอนนั้นถ้าสอบเข้าที่นั่นไม่ได้ คิดว่าจะไปไหน ฯลฯ

ผมตั้งคำถามได้ 108 ขึ้นกับบทสนทนาจะพาไป ตั้งคำถามได้เนียนด้วย ออกแนวๆแซวๆหรือชวนเม้าส์มอยไป อาจจะออกไปแนวๆชีวิตส่วนตัวเล่นๆ เช่น นัดกิ๊กชวนดูหนังเรื่องนึง ไปถึงหน้าโรงแล้ว จู่ๆ กิ๊กบอกว่า ดูไปแล้วเรื่องนี้ ตั๋วก็ซื้อไว้ล่วงหน้าแล้ว จะทำไงดีเนี้ย เห็นป่ะ ไม่เกี่ยวกับงานสนามเล้ย (มีคนนึงเคยตอบว่า ผมก็หากิ๊กคนใหม่หน้าโรง ฮ่า … )

question word จะออกแนว “จะทำอย่างไร” ถ้าถามในอนาคตเหตุการณ์สมมุติ หรือ “เคยทำอย่างไร” ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว

ถ้าชะงักหรือออกๆแนวไม่รู้หรือไม่มี plan B ปล่อยไปตามยถากรรม ผมก็จะโน้ตเล็กๆไว้ที่ CV

Fall back position

อันนี้คล้ายๆกับ Plan B แต่เป็น plan Z มีหลายชื่อเรียกกัน เช่น worst case scenario, last resource เป็นต้น คือในกรณีแย่ที่สุดแล้วจะทำไง เช่น สอบที่ไหนไม่ติดเลยก็เรียนม.เปิด คือ ไม่มีอะไรจะแย่ไปกว่านี้อีกแล้วคุณจะทำอย่างไร

ทำไมคนทำงานสนาม  วิศวกรสนาม field engineer จึงต้องมีคุณสมบัติข้อนี้ครับ ก็เพราะงานของเรา คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล งานเราจะเกิดอะไรขึ้นก็ได้ ปัจจัยนอกการควบคุมมากมายไปหมด เราต้องพร้อมที่จะรับเหตุการณ์ที่แย่ที่สุดได้

ผมเคยเข้าหลักสูตร defensive driving course มีตอนหนึ่งที่ผู้ฝึกสอนสอนว่า ให้มองหาไว้ทุกวินาทีว่า ถ้าจะเกิดชนแบบ head on คือ ประสานงา เราจะหักพวงมาลัยจิ้มหลบไปจุดไหนของถนน ถึงจะเกิดความเสียหายน้อยที่สุด ซึ่งก็คือ fall back position นี่เอง

ลักษณะคำถามอาจจะดู drama และเร้าอารมณ์ (กวนตีนนั่นแหละครับ) สักหน่อย เช่น ถ้าเย็นนี้กลับไป ไฟไหม้บ้าน จะทำไง หรือ hard disk เจ๊ง แฟนทิ้ง ฯลฯ คำถามอะไรที่ดูตลกๆสุดขั้วๆเว่อร์ มักจะเข้าข่ายนี้ครับ

question word จะออกแนว “จะทำอย่างไร” ถ้าถามในอนาคตเหตุการณ์สมมุติ หรือ “เคยทำอย่างไร” ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว

Decision making

สำคัญอย่างไรครับ เพราะงานวิศวกรสนาม field engineer อย่างพวกเราเกี่ยวข้องกับมูลค่าเครื่องไม้เครื่องมือราคาแพง และ แหล่งน้ำมันมูลค่ามหาศาล เราไม่ต้องการคนที่คิดอะไร ทำอะไร ไม่อยู่กับร่องกับรอย ทำอะไรตามอารมณ์ ไม่คงเส้นคงวาในการตัดสินใจ อารมณ์ศิลปินจัด ติสท์เยอะ วันนี้ใช้ตรรกะอย่างหนึ่ง พรุ่งนี้เหตุการณ์สถานการณ์แวดล้อมเดียวกันเดียวกัน(เจือก)ใช้ตรรกะอีกแบบหนึ่ง

question word จะออกแนว “ทำไมถึงทำไปอย่างนั้น” คำตอบคลาสิกที่หลายคนเอ็นทรานซ์เข้าคณะโน้นคณะนี้สมัยผมคือ “หนู/ผม ตามเพื่อน ค่ะ/ครับ” หรือ “ครูแนะแนวแนะนำ” ใครตอบแบบนี้ ผมวงแดงใน CV เลยว่าไม่เอา

ที่สำคัญอย่าลืมความคงเส้นคงวาของตรรกะที่ใช้ด้วย เช่น คุณเคยทำ A ในอดีต เพราะเหตุผล B ถ้าเกิดเหตุการณ์ C ในอนาคตที่คล้ายกับ A คุณจะทำแบบ B ไหม ถ้าไม่ คุณต้องอธิบายให้ได้ว่า A กับ C ต่างกันอย่างไร

ที่ยากคือ A กับ C เป็นเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นแล้วมีลักษณะคล้ายกัน แต่คุณดันตัดสินใจโดยใช้ตรรกะต่างกัน อันนี้ยาก เพราะคุณต้องอธิบายให้ได้ว่า สภาพแวดล้อมหรือเงื่อนไขรอบด้านมันต่างกัน เช่น ตอนนั้นไม่เรียนต่อเพราะต้องให้น้องเรียนให้จบก่อน แต่อีก 1 ปีถัดมาน้องก็ยังเรียนไม่จบ แต่ทำไมไปเรียนต่อ อะไรแบบนี้น่ะครับ

ปล. ข้อนี้ห้ามไปใช้กับแฟนนะครับ อย่าลืมว่าความรักต้องใช้หัวใจตอบ อย่าไปใช้สมองตอบเด็ดขาดว่า รักเธอชอบเธอเพราะอะไร ถ้าตอบแบบมีตรรกะแบบนั้น คุณจะโดนศอกกลับรับไม่ทัน เช่น รักเธอเพราะเธอมีลักษณะ A (A อาจจะ = น่ารัก มีเสน่ห์ พ่อรวย เอ๊กซ์ อึ่ม สบึ่มปั๊บๆ ฯลฯ อะไรก็ว่าไป) อีก 1/10000 วินาทีถัดมา เธอจะถามคุณทันทีด้วยความเร็วแสงว่า แล้วถ้าชั้นไม่มีลักษณะ A แล้ว ยังจะรักฉันไหม นี่แหละ ตอบไม่ถูกไปต่อไม่เป็นเลย เพราะคุณดันไปให้ตรรกะไว้แล้วว่า ถ้า A=B ดังนั้น C=D เธอก็จะย้อนว่า อ้าว ถ้า A ไม่ = B งั้น C ก็ไม่ = D ด้วยซิ คราวนี้ละซวย
วิศวกรสนาม field engineer

 

ผมไม่ใช่ปราชญ์เรื่องพวกนี้หรอกนะครับ แต่ที่ใช้ได้ผลเสมอมาตั้งแต่หนุ่มจนแก่(ปูนนี้)เวลาถูกสาวๆที่คั่วอยู่(ศัพท์สมัยผมแปลว่าจีบ)ถามว่า รัก/ชอบเธอเพราะอะไร ผมจะตอบว่า ไม่มีเหตุผล รักก็คือรัก ชอบก็คือชอบ เหมือนคนเราชอบสีที่ไม่เหมือนกัน ชอบอาหารรสชาติไม่เหมือนกัน ไม่มีตรรกะ ไม่มีผิดไม่มีถูก พูดง่ายๆคือ ไม่ไปสร้าง model ทางคณิตศาสตร์เอาไว้ว่า ถ้า A=B ดังนั้น C=D หรือพูดอีกแบบคือ ตูไม่มีเหตุผล 555 😉

ดังนั้นตอนจะเลิกจึงง่ายขึ้น เพราะตอนรักมันไม่มีเหตุผล ตอนเลิกก็ไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลจริงป่ะ ในเมื่อตอนเริ่มมันไม่มีตรรกะเสียแล้ว ตอนจบมันก็ไม่ต้องมี

แต่ถ้าคุณไปบอกในตอนเริ่มว่า ถ้า A=B ดังนั้น C=D คราวนี้คุณเกิดไม่อยากให้ C = D ล่ะ แต่ A มันยัง = B อยู่ ทีนี้จะเลิกยังไง … ฮ่าๆ (อุ้ย ขอโทษที ออกทะเล อิอิ)

Objective

แปลว่าจุดประสงค์ ข้อนี้แยกได้เป็น 2 ส่วนคือ จุดประสงค์ในหน้าที่การงาน (career objective) และ จุดประสงค์ในชีวิตส่วนตัว (personal life objective) และทั้งคู่ก็แบ่งย่อยออกเป็น 3 ระยะ เป็นระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว

ทำไมงาน วิศวกรสนาม field engineer เราต้องการคนที่มีจุดประสงค์ในชีวิตที่ชัดเจนในงานสนามประเภทนี้ อย่างที่บอกไว้แล้วว่า งานเรามันเกี่ยวข้อกับอุปกรณ์ราคารแพง แหล่งน้ำมันมูลค่ามหาศาล และ ความปลอดภัยของทรัพย์และชีวิตที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ ถ้าคุณไม่รู้จุดประสงค์ในชีวิตคุณแล้ว คุณจะรู้หรือใส่ใจไหมล่ะว่า แต่ล่ะงานที่คุณกำลังจะขึ้น ฮ. หรือ ลงเรือไปทำนั้นมันเพื่ออะไร เกี่ยวข้องอะไรยังไงกับคนอื่น ถ้าผิดพลาดมา ผลพวงที่ได้จะเป็นอย่างไร

… เรื่องของตัวเองยังไม่สนใจ ยังไม่รู้แล้วจะไปใส่ใจรู้เรื่องอื่นได้ไง

question word จะออกแนวตรงๆเลย เช่น ชีวิตนี้คุณคิดว่าจะเกษียณกี่ขวบ เอ๊ย กี่ปี ถ้าอยู่บ.นี้ไป อีก 3 – 5 ปีจะทำอะไร มีตำแหน่งอะไร 10 – 15ปีล่ะ วาดภาพในอนาคตว่าไง ต้องมีฮาเร็มไหม เรือยอร์จสัก 3 ลำ อะไรก็ว่าไป หรือ อาจจะถามในอดีตก็ได้ว่า ตอนจบตรีใหม่ๆ คิดว่าจะไปทำอะไร

ถามเรื่องอาชีพในฝัน ข้อนี้ไม่ยาก แต่คุณต้องเตรียมเอาไว้ 6 คำตอบ งาน+ส่วนตัว และ แต่ล่ะข้อก็มี สั้น-กลาง -ยาว สั้นเราพูดถง 1 – 2 ปี กลาง 5 – 7 ปี ยาว 10+ ปี

วิศวกรสนาม field engineer

ทัศนคติต่อความปลอดภัย

ข้อนี้ไม่ต้องอธิบายมากนะครับ ว่าทำไมในงาน วิศวกรสนาม Field Engineer เราต้องการคนที่มีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องความปลอดภัย

มาดูลักษณะคำถามกันเลย มีทั้งถามตรงๆ และ อ้อมๆ

ถามตรงๆก็ เช่น ในรถหรือในบ้านคุณมีอุปกรณ์ความปลอดภัยอะไรบ้าง คุณก็จะตอบว่า มีโน้นมีนั้น ก็จะโดนต่อว่ารู้สเปกไหม ใช้มาติดตั้งมานานแค่ไหนแล้ว ตรวจสภาพครั้งสุดท้ายเมื่อไร ซ้อมใช้ หรือ ทดสอบบ่อยแค่ไหน ครั้งสุดท้ายเมื่อไร น่าจะมีอะไรเพิ่มอีกไหม แล้วทำไมถึงยังไม่มี จะมีเมื่อไร ฯลฯ

ผมไล่ไปได้จนเห็นว่าคุณรู้จริงหรือมีจริงหรือเปล่า (ที่ว่ามีๆนั่น) แต่ถ้าผมไล่ไปจนเห็นว่าคุณไม่มีจริงนี่นา ทำเท่ห์ ก็โดนข้อหาให้การอันเป็นเท็จอีก ถ้าไม่มีก็ตอบว่าไม่มี คิดว่าน่าจะมี แต่ไม่พร้อมที่จะมี เพราะอะไรก็ว่าไป ยังดูดีกว่าแถให้คนสัมภาษณ์เขาจับได้

ถามตรงๆ อีกแบบคือถามสถานการณ์จำลอง คำถามประเภทกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ตอบยังไงก็สูญเสีย ซึ่งก็ได้แนะแนวคำตอบไปแล้ว ไปตามหาอ่านเอาในบล๊อก รู้สึกว่าจะอยู่ในซี่รี่คำสัมภาษณ์จริงที่เพื่อนๆเอามาแบ่งปันหรือไงเนี่ย ไปคุ้ยๆดู เจอแน่ๆครับคำถามยอดนิยมแบบนี้

ถามอ้อมๆก็แนวๆยกเรื่องราวที่เกี่ยวกับกรณีความปลอดภัยที่เป็นข่าวในหนังสือพิพม์หรือเป็นที่สนใจในขณะนั้น แล้วถามว่า ใครผิด ใครถูก จะแก้ไขยังไง ถ้าจะป้องกันควรทำอย่างไร ฯลฯ ดังนั้น กรุณาอ่านหนังสือพิมพ์ หรือ ฟังข่าวคราวทั่วๆไปด้วย

วันนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับ หวังว่าคงได้ข้อคิดอะไรดีๆในการเตรียมพร้อมไปบ้างไม่มากก็น้อย ย้ำอีกหน ทั้งหมดนี่ความเห็นผม(ผู้ซึ่งไม่ใช่ HR)ล้วนๆ ไม่มีหลักการ วิชาการอะไรทั้งนั้น ไม่ได้ร่ำเรียนมา ว่ากันตามประสบการณ์(ที่เคยสัมภาษณ์งานวิศวกรมาเป็นหลายคน อ่าน CV มาเป็นร้อย) อย่างเดียวเลยครับ

สุดท้ายที่อยากฝากไว้คือ ไม่แต่สำหรับ วิศวกรสนาม Field Engineer แต่ การเตรียมพร้อม นั้นสำคัญมาก อย่ารอให้มีโอกาสมาแล้วค่อยมาทำให้พร้อม พร้อมไว้ก่อนดีกว่า โอกาสวิ่งมาหาคนที่พร้อมกว่าเสมอนะครับ

รวมบทความ เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ และ การเขียน CV

 

ถ้าจะซื้อของออนไลน์จาก 2 เจ้านี้อยู่แล้ว คลิ๊กลิงค์ หรือ โลโก้ ข้างล่างนี้เลยครับ ผมจะได้ค่าคอมฯเล็กๆน้อยๆสมทบทุนจ่ายค่าเช่า host server ขอบคุณครับ

(ไม่ต้องกังวลนะครับ ไม่ใช่ลิงค์ดูดเงินแน่ๆ)

https://raka.is/r/qlzXR https://raka.is/r/gP7GV

--- มีคำถามเพิ่มเติม พูดคุย เม้าส์มอย ไปต่อกันได้ที่กระดานสนทนา (webboard) นะครับ

คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Sweet Girl

ของมือสองของเฟิร์นค่ะ มีหลายชิ้นเลย ราคาดีสุดๆ (คลิ๊กที่รูปนะคะ ลิงค์จะพาไปที่ร้านค่ะ)

Fern shop

--------- คลิ๊ก - The Sweet Girl ----------